Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กรกฎาคม 2547
BBLนำร่องแปลงทรัพย์สินดันเกณฑ์ประเมินฯเข้าครม.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
สำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา




แปลงสินทรัพย์เป็นทุนเปิดโอกาสแบงก์พาณิชย์เอกชน ปล่อยสินเชื่อผู้ประกอบการฯ ดัน "แบงก์กรุงเทพ" นำร่อง "ปีติพงษ์" เผย แบงก์กสิกรไทยเตรียมพร้อมให้โอกาสประชาชนรากหญ้า ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นสินเชื่อ 6 หมื่นรายต่อสถาบันการเงินรัฐสูงถึง 7 พันล้านบาทเศษ สปท.เตรียมชงเกณฑ์ประเมินทรัพย์สินของหน่วยงานราชการเข้าครม. เดือนสิงหาคม พร้อมกำหนดพันธมิตรร่วมบริหารความเสี่ยงหนี้เสีย

วานนี้ (15 ก.ค.) ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตามนโยบาย การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ระหว่างสำนักบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.) (องค์การมหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กรมธนารักษ์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีสิทธิการเช่าในที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินทางปัญญา สินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทเครื่องจักร และสิทธิ ในการนำสินค้ามาจำหน่ายในบริเวณแผงค้าของกรุงเทพมหานคร สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อ ใช้ในการประกอบการมาเป็น หลักประกันในการขอสินเชื่อจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ และธนาคารกรุงเทพ ยังได้พิจารณาถึงความเป็นได้ที่จะเพิ่มประเภทสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐด้วย

นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ผอ.สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.) กล่าวว่า ตอนนี้ทางสมาคมธนาคารไทยได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา ว่าจะมีธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นให้ความสนใจเข้ามาร่วมให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการที่มีสิทธิ โดยธนาคาร กรุงเทพเข้ามานำร่องแล้ว เชื่อว่าก็จะมีธนาคารอื่นๆเข้ามาร่วมด้วยอย่างน้อยอีก 1-2 แห่ง ล่าสุดธนาคาร กสิกรไทย มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ

โดยในตลาดประเภทที่เป็นลูกค้าใหม่ สำนักงานแปลงสินทรัพย์ฯ ต้องการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินในภาคเอกชนมาร่วมมากขึ้น และเมื่อมีการแข่งขัน ทางเลือกก็จะมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์อาจจะมีความแตกต่างและมีทางเลือกที่ดี ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้กำหนดรายชื่อลูกค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่กำหนดกว่า 3 พันราย ทั้งภาคเกษตรกรรม การค้าปลีกส่ง การผลิต การบริการ การขนส่ง รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าโอทอปด้วย

สำหรับตัวเลขประเภทที่มีการขอกู้ ซึ่งแบ่งออก เป็น 2 ส่วน คือ 1. ที่มาจากนโยบายโดยตรงหรือจาก การผลักดันของหน่วยงาน เป็นราคาทรัพย์สินอย่างเดียว มีการขอกู้เพิ่มเป็น 1,778 ล้านบาท และ 2. นโยบายที่ธ.ก.ส. หรือธนาคารที่ดูแลเกี่ยวกับเครื่อง จักร โดยเหตุที่ไม่สามารถแยกโดยตรงหรือไม่ โดยได้นำทรัพย์สินไปให้สินเชื่อรวม 6,337.5 ล้านบาท ซึ่ง รวม ทั้งสิ้นจากทางตรงและทางอ้อม 7,605 ล้านบาท เศษ โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 6 หมื่นรายเศษ

ทั้งนี้ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม เอสเอ็มอีแบงก์ และไอเอฟซีที ให้สินเชื่อไปแล้ว 627 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ได้พิจารณาว่าผู้ที่เข้ามาร่วมโครงการ 1 คนอาจจะกู้เงินประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งหมายความ ว่าเงินดังกล่าวจะยังไม่ถึงรากหญ้าโดยตรง ซึ่งกำลัง พยายามแก้ไขอยู่

ส่วนการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ในกรณีของโฉนดที่ดินนั้นจากเป้าหมาย 1 ล้านรายได้ดำเนินการไปแล้ว 7 แสนราย ส่วนกรณีที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จากเป้าหมาย 2 แสนราย ได้ดำเนินการไปแล้วเพียง 4 หมื่นรายเท่านั้น ทั้งนี้ในส่วนของกรมที่ดินมีการดำเนินการไป ประมาณ 70%

ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินการของการแปลงสินทรัพย์ในทุน กรมธนารักษ์ได้จัดกลุ่มผู้เช่าที่ราชพัสดุ จำนวน 48,077 ราย มีผู้เช่าที่ยื่นกู้ 4,398 ราย เป็นผู้เช่าที่ได้รับอนุมัติแล้ว 275 ราย ซึ่งคิดเป็นเงินที่ธนาคารของรัฐอนุมัติไปแล้วประมาณ 334 ล้านบาทเศษ ขณะที่ผลการดำเนินการของกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีผู้ยื่นขอกู้แล้วกว่า 100 ราย กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีเป้าหมายที่จะจดทะเบียน เครื่องจักรให้ได้ 2,500 ราย ในปี 2547

ในส่วนของกรุงเทพมหานครนั้นมีเป้าหมาย ที่ตลาดนัด และตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 160 ราย แยกเป็น ผู้ค้าในตลาดนัด 109 ราย รายละประมาณ 3 แสนบาท ผู้ค้าในตาด 51 ราย รายละประมาณ 5 หมื่นบาท

นายปีติพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่า แม้ขณะนี้ สปท.จะยังไม่มีหนี้เสียเกิดขึ้น แต่ยอมรับว่าได้มีการดำเนินการ กำหนดแผนรองรับหนี้เสียไว้แล้ว ซึ่งได้มีการประเมิน มูลค่าทรัพย์สินของแต่ละหน่วยงาน และจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับหลักการในเดือนสิงหาคม โดยการประเมินมูลค่าทรัพย์สินจะเน้นทรัพย์สินทางปัญญาที่ถือว่าเป็นของใหม่ที่ไม่มีตัวตน โดย สปท. จะร่วมกับองค์กรพันธมิตรบริหารความเสี่ยงในการลดหนี้ทางทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us