|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"สุริยะ" ไม่สนท่าที "คีรี" อ้างปรับโครงสร้างหนี้ล่าช้า เผยเดินหน้าเจรจาซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสกับผู้ถือหุ้นรายอื่นต่อ หลังเจ้าหนี้ยอมลดหนี้ให้ 45% คาดใช้เงินซื้อทั้งโครงการประมาณ 34,000 ล้านบาท มั่นใจภายในสิ้นปีซื้อคืนเรียบร้อย เผยตัวเลขบัญชี บีทีเอส ขาดทุนแถมไออาร์อาร์ต่ำ ส่งผลราคาหุ้นซื้อคืนหุ้นละ 5 บาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเจรจาเพื่อซื้อโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสมีความคืบหน้าไปมาก เพราะกลุ่มเจ้าหนี้ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีเคเอฟดับบลิวเป็นแกนนำยืนยันชัดเจนเรื่องการลดหนี้ประมาณ 45% ให้รัฐ ส่วนการที่นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บีทีเอส ออกมาระบุว่า จะไม่มีการขายคืนสัมปทานให้รัฐนั้นเป็นเรื่องของเอกชน ส่วนตนยืนยันว่าจะเดินหน้าเรื่องการซื้อคืนต่อไป ซึ่งหลังจากนี้จะเจรจากับกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่นๆ ของบีทีเอสต่อไป
"ก่อนหน้านี้ บีทีเอสเคยบอกว่า ขอเวลาในการปรับโครงสร้างหนี้ และจะเร่งเจรจากับเจ้าหนี้ให้จบ ผมก็รอมาเป็นปีก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ซึ่งหากบีทีเอสทำได้อย่างที่พูดก็ไม่มีปัญหา แม้ว่าคุณคีรีจะออกมาพูดก็จะไม่ส่งผลต่อการเจรจาต่อไป เพราะผู้ถือหุ้นของบีทีเอสมีหลายราย และคาดว่าจะไม่มีปัญหาในการเจรจาเพราะราคาที่ซื้อจากผู้ถือหุ้น จะเป็นธรรมคือตามที่ลงบัญชีไว้ จะไม่มีการ รังแกเอกชนอย่างแน่นอน ภายในปี 2547 นี้เชื่อว่าจะสามารถซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เรียบร้อย"
นายสุริยะกล่าวว่า การที่เจ้าหนี้บีทีเอสทั้ง เคเอฟดับบลิว ธนาคารไทยพาณิชย์ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และไอเอฟซี ยอมลดหนี้ ให้ 45% จะทำให้รัฐใช้เงินในส่วนของการซื้อหนี้และดอกเบี้ยประมาณ 21,000 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นคาดว่าจะซื้อประมาณ 50% ของทุนจดทะเบียน (18,000 ล้านบาท) หรือไม่เกิน 9,000 ล้านบาท ส่วนหนี้การค้านั้นใช้เงินอีกไม่เกิน 3,800 ล้านบาท รวมแล้วคาดว่าจะใช้เงินในการซื้อคืนรถไฟฟ้าบีทีเอส ประมาณ 33,800 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รมว.คมนาคมได้ตำหนินายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) กรณีที่เชิญผู้แทนของทั้งบีทีเอสและบีเอ็มซีแอล เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการเจรจาซื้อคืนสัมปทานเดินรถไฟฟ้าที่มีนายอุทิศ ธรรมวาทิน รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่า คณะกรรมการฯ เพิ่งประชุมครั้งแรกควรจะหารือเพื่อวางกรอบในส่วนของภาครัฐให้เรียบร้อยก่อนที่จะเรียกเอกชนมาร่วมประชุม ซึ่งเป็นผลทำให้นายคีรี ออกมาพูดว่าถูกรัฐบาลบีบให้ขายคืนสัมปทาน
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบตัวเลขทางบัญชีของทางบริษัทพบว่า มีผลประกอบการที่ขาดทุน ในขณะเดียวกันมีตัวเลขผลตอบแทนการลงทุน (ไออาร์อาร์) อยู่ที่ 4% ซึ่งถือว่าน้อยมากในด้านความคุ้มค่าในการลงทุน ดังนั้น หากนำตัวเลข ดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณการซื้อคืน เชื่อว่าราคาที่จะซื้อคืนนั้นจะต่ำมาก ราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 5 บาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมยังยืนยันที่จะซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ เนื่องจากเร็วๆ นี้ จะมีการลงทุนก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอีกกว่า 4 แสนล้านบาท และจะต้องมีการเชื่อมโครงข่ายหากไม่เร่งซื้อมาเป็นของรัฐอาจจะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้เอกชน เมื่อมีโครงข่ายเพิ่มแล้วเอกชนยังเป็นเจ้าของโครงข่ายส่วนที่อยู่ในเมืองอยู่
เร่งแก้ขาดทุน ขสมก.
นายสุริยะกล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง เรื่องการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจวานนี้ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคมมีหลายรัฐวิสาหกิจที่ยังประสบปัญหาขาดทุนอยู่ เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นต้น ซึ่งในวันที่ 23 ก.ค.นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) จะพิจารณาแผนแก้ปัญหาขสมก. ซึ่งขณะนี้มีหลายแนวทางที่จะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาขาดทุน การแยกบริการสังคม (PSO) ที่ต้อง ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณให้ชัดเจนรวมทั้งการปรับปรุงการให้บริการ เช่น การปรับเส้นทางเดินรถการลดจำนวนรถธรรมดามาเป็นรถปรับอากาศ เป็นต้น
|
|
|
|
|