|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เยื่อกระดาษสยาม เมินทำเทนเดอร์ฯไทยเคนเปเปอร์อีก หลังสิ้นสุดเมื่อ 30 มิ.ย.นี้ มีผู้เสนอขายหุ้นเพียง 0.65% เนื่องจากติดข้อบังคับก.ล.ต.และราคาหุ้นสูงเกิน เผยกลุ่มเยื่อและกระดาษ ในเครือปูนใหญ่ศึกษาการขยายการลงทุนไปประเทศแถบอาเซียน เน้นการควบรวมกิจการและร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่น ขณะเดียวกันทุ่มเงิน 2 พันล้านบาท ขยายกำลังการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน-คราฟท์ใน 1-2 ปีนี้
นายเชาวลิต เอกบุตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลที่จะยื่นทำคำเสนอซื้อ(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์)หลักทรัพย์บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)(TCP)อีกครั้ง หลังจากสิ้นสุดการทำเทนเดอร์ฯเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 โดยมีผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอขายหุ้น TCP เพียง 1.63 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.649% ทำให้ SPP ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากเดิม 50.006% เป็น 50.65% เนื่องจากราคาเสนอซื้อ 13.50 บาทต่อหุ้นต่ำกว่ากระดานซื้อขาย
การตัดสินใจทำเทนเดอร์ฯหลักทรัพย์ TCP นี้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หลังจากได้ทยอยซื้อหุ้น TCP ในกระดานจนถึงเกณฑ์ที่ก.ล.ต.กำหนด โดยไม่มีจุดประสงค์ที่จะเพิกถอน TCP ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่เพราะหุ้น TCP ราคาต่ำ และเป็นช่วง ราคาที่เหมาะสมซื้อลงทุน ณ ระดับ 13.50 บาท
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต.กำหนดเงื่อนไขการทำเทน-เดอร์ฯว่า หากต้องเพิกถอนบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯสามารถทำ เทนเดอร์ฯได้ 2ครั้งใน1ปี ส่วนกรณี TCP นั้น SPP ไม่สามารถยื่นทำเทนเดอร์ฯได้ใหม่ภายใน 1 ปี เพราะวัตถุประสงค์ที่แจ้งในการทำเทนเดอร์ฯไม่ต้องการเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
วานนี้(8 ก.ค.) นักลงทุนได้สนใจเข้ามาซื้อขายหุ้น TCP อย่างหนาแน่น จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปปิดตลาดที่ 16 บาท เพิ่มขึ้น 0.80 บาท เปลี่ยนแปลง 5.26% มูลค่าการซื้อขาย 137.18 ล้านบาท
นายเชาวลิต กล่าวถึงทิศทางการลงทุนของธุรกิจกระดาษในเครือ ปูนซิเมนต์ไทยว่าในไตรมาส 4 นี้จะมีกำลังการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนเพิ่ม ขึ้นอีก 2 หมื่นตัน เป็น 3.6 แสนตัน หลังจากลงทุนไป 1 พันล้านบาท และปีถัดไปจะปรับปรุงเครื่องจักรผลิตกระดาษคราฟท์ใหม่ ใช้เงินลงทุนอีก 1 พันล้านบาท ทำให้ปริมาณกระดาษคราฟท์เพิ่มสูงขึ้นในปี 2548
นอกจากนี้ ได้ศึกษาหาลู่ทางการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน หาก พบว่ามีบริษัทผลิตกระดาษที่มีสิน ทรัพย์ดีแต่ประสบปัญหาทาง การเงิน ก็จะเข้าไปซื้อกิจการ เหมือนที่ดำเนิน การอยู่ในไทย ไม่ใช่เป็นการเพิ่มกำลัง การผลิตในประเทศ หรือจะร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น คาดว่า จะเห็นความชัดเจนยิ่งขึ้นภายใน 3 ปีข้างหน้า
ธุรกิจเยื่อและกระดาษในเครือปูนใหญ่ได้เข้าไปลงทุนทำธุรกิจผลิตกระดาษคราฟท์ ในฟิลิปปินส์ ล่าสุดผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัท ยูไนเต็ด พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด ได้ตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ให้ SPP ทำให้ถือหุ้นใหญ่ 98%
"การขยายงานของกลุ่มกระดาษฯยังเน้นควบรวมกิจการ และการขยายกำลังการผลิต ซึ่งการควบรวมกิจการในประเทศคงทำได้ยากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะและพูดคุยกันรู้เรื่อง โดยเราก็เปิดตัวเอง อย่างไรก็ตามคาดว่า ในครึ่งปีหลังนี้คงไม่มีข่าวการควบรวมกิจการเกิดขึ้น" นายเชาวลิตกล่าว
|
|
|
|
|