Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กรกฎาคม 2547
KTBเล็งถือธอท.80%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
กระทรวงการคลัง
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารชารีอะฮ์
วิโรจน์ นวลแข
Banking




"วิโรจน์ นวลแข" เสนอแผนแบงก์กรุงไทยชาริอะฮ์ ควบรวมกิจการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต่อกระทรวงการคลัง ย้ำต้องถือหุ้นเกิน 80% ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3 พันล้านบาท เพื่อคุมอำนาจการบริหารงานเบ็ดเสร็จ พร้อมเดินหน้า "ชาริอะฮ์" ต่อ หากคลังไม่สนแผนควบรวม ระบุสถานการณ์ธนาคารอิสลามฯ ปัจจุบันรอดยาก เนื่องจากเครือข่ายยังไม่เสร็จสมบูรณ์ บวกกับพนักงานไม่มีความชำนาญ

นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยถึงความคืบหน้าการควบรวมระหว่างธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) กับธนาคารชาริอะฮ์ ซึ่งอยู่ในแผนกพิเศษของธนาคารกรุงไทย ว่า ขณะนี้ธนาคารได้ยื่นแผนการควบรวมของ สถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งให้แก่กระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว โดยธนาคารกรุงไทยจะเข้าไป เพิ่มทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อให้กลายเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ มากกว่าร้อยละ 80

สำหรับวัตถุประสงค์ของการเข้าไป ถือหุ้นใหญ่กว่าร้อยละ 80 จากปัจจุบันที่ธนาคารถือหุ้นอยู่ประมาณร้อยละ 7 นั้น สืบเนื่องจากธนาคารต้องการมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นผู้กำหนดทิศทางและแผนการดำเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามได้เอง

ปัจจุบันที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 690 ล้านบาท หากกระทรวงการคลังตอบรับข้อเสนอ ธนาคารจะโอนแผนกพิเศษธนาคารชาริอะฮ์ไปรวม พร้อมทั้งใช้ใบอนุญาตของธนาคารอิสลามฯ ทำธุรกิจเป็นนิติบุคคลอีกแห่งอย่างชัดเจน โดยจะแยกผล ประกอบการ ทุนจดทะเบียน สินเชื่อ ออกจากธนาคารกรุงไทยอย่างสิ้นเชิง

"หากกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของธนาคารในการควบรวมกับธนาคาร ชาริอะฮ์ ธนาคารกรุงไทย ยังยืนยันดำเนินธุรกิจ ธนาคารชาริอะฮ์ต่อไป ในรูปแบบธนาคารเดียว 2 ระบบเหมือนเดิม"

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ขณะนี้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยธนาคาร แต่ละแห่งต่างพลิกกลยุทธ์ต่างๆ ออกมาเพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า และรักษาอัตราการขยายตัวของธนาคารเอง ขณะที่ธนาคาร อิสลามฯ ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันทำได้ลำบาก ดังนั้นธนาคารจำเป็นต้อง เข้าไปสนับสนุนธุรกิจทุกด้าน อาทิ ระบบการจัดการเครือข่ายสาขา การนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับธนาคารอิสลามฯ

"นอกจากการเข้าเสริมศักยภาพการแข่งขัน ของธนาคารอิสลามฯ แล้ว การควบรวมกิจการจะช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานด้วย"

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการควบรวมกิจการ ของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง คงจะไม่เกิด ขึ้นเร็วๆ นี้ แม้ว่านโยบายของรัฐบาลต้องการให้ชาริอะฮ์เข้าไปควบรวมก็ตาม เพราะขณะนี้ชาริอะฮ์ยังไม่มีประธานบริหาร ขณะเดียวกันการดำเนินการยังติดปัญหากฎหมาย หรือกฎกระทรวง เรื่องขอเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารอิสลามฯ

ด้านแหล่งข่าวจากธนาคารชาริอะฮ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ไทยต้องการเป็นแกนนำในการควบรวม กิจการกับธนาคารชาริอะฮ์จะต้องมีทุนจดทะเบียนมากกว่า 3,690 ล้านบาท เพื่อใช้ทุนรองรับธุรกรรมของธนาคารชาริอะฮ์ที่มีขนาดธุรกรรมใหญ่กว่ามีมูลค่าสินทรัพย์รวมสูงกว่า 4,500 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารอิสลามฯ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนแค่ 690 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ไม่เพียงพอต่อการควบรวมกิจการสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง

ขณะเดียวกัน ผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคารอิสลามฯ ทั้งกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นใหญ่กว่าร้อยละ 49 รวมถึงธนาคารออมสิน และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไม่มีนโยบายเพิ่มทุน เนื่องจากไม่มั่นใจในแผนธุรกิจของธนาคารอิสลามฯ ดังนั้น ทำให้โอกาสที่ธนาคารอิสลามฯจะเป็นในการควบรวมแทบเป็นไปไม่ได้เลย ขณะนี้ กระทรวงการคลังได้เรียกนายอุตม สาวยานนท์ กรรมการ ธนาคารกรุงไทยไปเป็นตัวแทนเพื่อหารือในเรื่องนี้แล้ว

ปัจจุบันธนาคารชาริอะฮ์ มีทุนจดทะเบียนประมาณ 1,000 ล้านบาท มีสาขามากกว่า 40 สาขาและมีแผนจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้าน ระบบเทคโนโลยีได้พึ่งเครือข่าย จากธนาคารกรุงไทย ขณะที่ธนาคารอิสลามฯ มีสาขาเพียงแค่ 7 สาขาเท่านั้น อีกทั้งระบบเครือข่ายจัดการภายในยังไม่เสร็จสมบูรณ์ บวกกับความพร้อมของพนักงานมีไม่มากนัก เนื่องจากไม่มีความชำนาญทำธุรกรรมแบบอิสลาม เพราะส่วนใหญ่ที่สมัครล้วนเป็นเด็กฝากเด็กเส้นจำนวนมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us