|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
5 ผู้บริหารแผนฟื้นทีพีไอดึงประชาชนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท เสนอแนวคิดตั้ง "กองทุนหุ้นทีพีไอ" เพื่อให้รายย่อยและบริษัทเอกชนที่สนใจซื้อหุ้นทีพีไอ เผยกันไว้ไม่ต่ำกว่า 40% ไม่ปิดกั้นเจ้าหนี้และประชัย เพราะเป็นกองทุนที่ผู้ลงทุนไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร ส่วนหุ้นเฉพาะเจาะจงรายใหญ่ 60% กำลังรอคำตอบจากปูนใหญ่ก่อนสรุปสัดส่วนของปตท. กับกบข. คณะผู้บริหารแผนมั่นใจขุนคลังเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการภายใน 2 สัปดาห์
พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)(TPI) เปิดเผยว่า คณะผู้บริหาร แผนมีแนวคิดที่จะเสนอต่อกระทรวงการคลัง ในการจัดตั้งกองทุนหุ้นทีพีไอเป็นกองทุนที่จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้นักลงทุนเอกชนทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคลประมาณ 40% ของหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 650 ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท
"ทีพีไอเป็นกิจการที่มีอนาคตน่าลงทุน โดยเฉพาะหลังการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูที่เรา ส่งให้กระทรวงการคลัง เป็นผลดีต่อบริษัทและเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้และผู้ร่วมทุนรายใหม่ การเพิ่มทุนทีพีไอหลังลดทุนจึงควรเปิดโอกาสให้ประ- ชาชนได้รับโอกาสในการลงทุน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ ลูกหนี้หากสนใจก็เข้ามาซื้อหุ้นในส่วนดังกล่าวได้" นายทนง พิทยะ หนึ่งในคณะผู้บริหารแผนกล่าวเสริม
พล.อ.มงคล กล่าวว่า แม้กองทุนหุ้นทีพีไอสำหรับประชาชนทั่วไปจะเปิดกว้างไม่จำกัดเจ้าหนี้และลูกหนี้ แต่หากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เข้ามาซื้อหุ้นอาจมีคำถามว่า นายประชัยนำเงินมาจากไหน อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกองทุนหุ้นทีพีไอจะไม่มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการจึงไม่มีปัญหา
ส่วนขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนหุ้นทีพีไอหากกระทรวงการคลังเห็นชอบก็จะต้องขออนุญาตสำนัก งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตามปกติ
พล.อ.มงคลกล่าวว่า ได้เตรียมโครงสร้างการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน 5 ส่วน ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) พนักงานและประชาชนทั่วไป
"เบื้องต้นปตท.กบข.ไม่มีปัญหา แต่กับปูนใหญ่ ยังต้องเจรจาอีกหลายครั้งทั้งสัดส่วนและราคา หากปูนใหญ่ชัดเจนสัดส่วนของปตท.และกบข.จะได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รายรวมกันจะมีสัดส่วนมาก กว่า 50% ขอยืนยันว่าไม่มีการขายหุ้นเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ให้เอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกอย่างตอนนี้คุณบุญคลี ปลั่งศิริ ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปฯที่เคยมาเป็นที่ปรึกษาก็ออกไปแล้ว"
พล.อ.มงคลยังกล่าวถึงแผนฟื้นฟูกิจการว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง น่าจะเห็นชอบภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อรัฐมนตรีเห็นชอบคณะผู้บริหารแผนจะส่งให้คณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อส่งให้เจ้าหนี้ทุกราย คาดว่าใช้เวลา 1 เดือน ขั้นตอนต่อไปคณะผู้บริหารแผนจะเสนอเจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) เพื่อลงมติเจ้าหนี้ก่อน เสนอศาลล้มละลายกลางพิจารณา หากนายประชัยไม่เห็นด้วยก็สามารถคัดค้านในขั้นตอนของศาล
"คงใช้เวลาประมาณ 4 เดือน เราติดตามดูพบ ว่าตอนนี้มติเจ้าหนี้ในการโหวตเกิน 51% เชื่อว่าในที่สุดการฟื้นฟูกิจการทีพีไอจะเป็นไปตามแผนที่เราส่งให้กระทรวงการคลัง" นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา หนึ่งในคณะผู้บริหารแผนกล่าว
นายปกรณ์กล่าวว่า ราคาหนี้ทีพีไอเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยเดือนก.ค.2546 ซึ่งเป็นช่วงคณะผู้บริหาร แผนชุดปัจจุบันเข้ามา ราคาหนี้อยู่ที่ 40% แต่ปัจจุบัน เพิ่มขึ้นเป็น 65% ถือว่ามาตรฐานเพิ่มขึ้นสูงมาก
"เรตหนี้บริษัทฟื้นฟูกิจการแถบเอเชียอยู่ที่ 20% ยุโรป 20-40% ส่วนอเมริกา 40-50% เราจึงได้รับการ ยอมรับจากคณะกรรมการเจ้าหนี้แล้ว 61%"
ส่วนข้อเรียกร้อง 7 ข้อในแผนที่นายประชัยยื่นให้รัฐมนตรีคลัง นายปกรณ์กล่าวว่า ไม่สามารถต่อรองหรือเปลี่ยนแปลงแผนของคณะผู้บริหารแผนเนื่องจากส่งผลเสียต่อบริษัท
"ผมดูแล้วรับไม่ได้ เช่นเรื่องยกเลิกการลดทุน เพราะการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อนดึงพันธ-มิตรเข้ามาเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้เจ้าหนี้โดยไม่มีหุ้นให้เจ้าหนี้ นอกจากนี้เป็นเพียงการลดทุนทางบัญชี ไม่เกี่ยวกับกำไร ที่สำคัญไม่เสียสิทธิทางภาษีเหมือนที่คุณประชัยอ้าง เนื่องจากทีพีไอเป็นบริษัทฟื้นฟูกิจการ ได้เครดิตทางภาษี 5 ปี"
ส่วนที่ขอยกเลิกการขายหุ้นบริษัท ทีพีไอพีแอล จำกัด (มหาชน) (TPIPL) นายปกรณ์มองว่า นายประชัยกลัวเสียสิทธิส่วนตัวมากกว่ามองประโยชน์องค์กร ขณะที่ 5 ข้อที่เหลือนายปกรณ์กล่าวว่า ไม่มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
ทั้งนี้ นายประชัยเสนอข้อต่อรองและขอแก้ไข 7 ข้อประกอบด้วย ข้อ 1.ห้ามลดทุน 2.ห้ามขายหุ้นTPIPL 3. ให้ผู้บริหารของลูกหนี้เดิมมีสิทธิซื้อหุ้นที่แปลงหนี้เป็นทุนคืนทั้งหมด (85%) ในราคาเท่ากับที่แปลงหนี้เป็นทุน บวกด้วยดอกเบี้ย 5% ต่อปีภาย ในกำหนดระยะเวลา 4 ปีนับตั้งแต่แผนฟื้นฟูฯได้รับการแก้ไขมีผลบังคับใช้และมีการแปลงหนี้เป็นทุน 4. ให้ลูกหนี้สามารถออกหุ้นใหม่หรือกู้เงินมาเพื่อทำการ รีไฟแนนซ์หนี้เดิมทั้งหมดได้ 5. ให้ผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผนตลอดระยะเวลาการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ เว้นแต่มีพฤติกรรมทุจริตหรือ ไม่ปฏิบัตตามแผนฟื้นฟูกิจการ 6. ให้เจ้าหนี้ส่งเจ้าหน้า ที่มาตรวจสอบควบคุมการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนการดำเนินการของลูกหนี้ตลอดระยะตามแผนฟื้นฟูกิจการ และ 7.ดำเนินการยกเลิกคดีที่มีอยู่ระหว่างกันทั้งหมด
|
|
|
|
|