Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
โอกิใช้ไทยเป็นฐาน บุกเอเชียอาคเนย์ (อีกรอบ)             
 


   
search resources

OKI




หลังจากห่างหายไปนานจนเกือบจะถูกลืม "โอกิ" (OKI) ก็กลับเข้ามาในไทยอีกครั้ง ด้วยหวังจะใช้ไทยเป็นฐานในการทำตลาดและการขายสำหรับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ผลิตภัณฑ์ "โอกิ" ได้เข้ามามีบทบาทในวงการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยเมื่อ 13 ปีที่ผ่านมา โดยบริษัท โอกิ อิเลคทริค อินดัสทรี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้มอบหมายให้บริษัท โอลิมเปียไทย เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องพรินเตอร์ (Printer) และต่อมาได้ให้บริษัท สหวิริยาโอเอ จำกัด ดูแลตลาดประเภทแฟกซ์ และระบบโทรศัพท์ตู้สาขา (Key Telephone System)

มาระยะหลังนี้เองที่ชื่อของ "โอกิ" ห่างไปจากความคุ้นเคยของคนไทย จนบริษัทแม่ต้องดำเนินกลยุทธ์ใหม่ เข้ามาตั้งบริษัทเองเพื่อดูแลการตลาดและการขายโดยตรงในชื่อ บริษัท โอกิ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท โดยให้บริษัท โอกิ อิเลคทรอนิค ประเทศสิงคโปร์ ถือหุ้น 49% บริษัทโอลิมเปียไทย 40% และบริษัท บางกอก ฟูจิ โฮลดิ้ง 11%

การเข้ามาตั้งฐานในไทยนี้ มองในแง่ประเทศไทยก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะมีคนมั่นใจว่าเราจะมีสิทธิ์และยังไปได้ไกล จึงกล้าเข้ามาลงทุนตั้งฐานการตลาด แต่ในแง่โอกิเขามองอย่างไรนั้น มร.ชิอิจิ นาคานิชิ ประธานบริษัท โอกิ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) มีคำตอบที่น่าฟังว่า "วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในไทยและภูมิภาคเอเชียในปัจจุบันส่งผลกระทบ ทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์สื่อสารโทรคมนาคมในแถบนี้ลดสัดส่วนลงไปมาก แต่คาดว่าความต้องการจะเพิ่มสูงขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ดังนั้นโอกิจึงไม่ได้คาดหวังการทำตลาดในช่วงนี้มากนัก"

แผนงานในช่วงนี้ โอกิจึงเน้นการวางรากฐานด้วยกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ชื่อของโอกิกลับมาเป็นที่รู้จักของคนไทยชนิดติดหูติดตากันอีกครั้ง ด้วยงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ตั้งไว้ถึง 50 ล้านบาท เพื่อให้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ของโอกิที่ตอนนี้มีอยู่ 5 สายการผลิต ได้แก่ คีย์ เทเลโฟน, ตู้โทรศัพท์ PBX, เครื่องพรินเตอร์แบบด็อต เมทริก, พรินเตอร์ระบบ LED, และแฟกซ์

ขณะเดียวกันงานที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ ทำความรู้จักกับดีลเลอร์อีกครั้งเพื่อให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น โดยปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 70 ราย แบ่งเป็นตัวแทนในกรุงเทพฯ 30 ราย และในเขตต่างจังหวัดอีก 40 ราย "ปีนี้เราจะเน้นประชาสัมพันธ์กับดีลเลอร์ก่อน เพราะคำว่า "โอกิ" ชื่อนี้ในเมืองไทยหายไปนานพอสมควรแล้ว"

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีบริษัทที่ดูแลการตลาดโดยตรงแล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งก็ยังดำเนินการจำหน่ายผ่านโอลิมเปียไทยอยู่ แต่ในส่วนของสหวิริยาโอเอก็ถือว่า "รู้กันโดยปริยายว่าเมื่อเราตั้งบริษัทของเราเองแล้วเขาก็หมดหน้าที่" ทั้งนี้ไม่ได้มีการพูดคุยกันอย่างเป็นทางการแต่ประการใด

ในส่วนยอดขายที่ไม่ได้เน้นเท่าไรนัก สุทธิชัย แพสาโรช ผู้จัดการทั่วไปได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ปีแรกประมาณยอดขายไว้ที่ 300 ล้านบาท โดยมาจากพรินเตอร์ กับแฟกซ์ 80% อีก 20% ที่เหลือเป็นส่วนของอุปกรณ์โทรศัพท์ส่วนโทรศัพท์มือถือ ขณะนี้มีเพียงระบบ CDMA ซึ่งเมืองไทย ยังไม่มีการพัฒนาโครงข่ายจึงยังไม่นำเข้ามา"

การเข้ามาในไทยถือเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ เพราะก่อนหน้านี้โอกิมีบริษัทสาขาอยู่แล้วในสิงคโปร์ ในขณะเดียวกัน ในช่วงเดือนที่ผ่านมาโอกิก็ไปเปิดสำนักงานสาขาแห่งใหม่อีกแห่งที่กัวลาลัมเปอร์ ในมาเลเซีย เมื่อนับรวมบริษัทในไทยก็ถือว่าโอกิมีเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ค่อนข้างสมบูรณ์ "ปัจจุบันเรามีสำนักงานตัวแทนทั้งสิ้น 8 แห่ง และบริษัทสาขา 19 แห่งครอบคลุมทั่วโลก อย่างในเอเชียเอง เรามีสำนักงานที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไต้หวัน กรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์"

โดยเฉพาะบริษัทในไทยเองนอกจากดูแลรับผิดชอบด้านการตลาด การขาย และการบริการในเมืองไทยแล้ว ยังรับหน้าที่ดูแลตลาดประเทศในแถบอินโดจีน ได้แก่ เวียดนาม พม่า เขมร และลาว ก่อนที่จะขยับขยายตั้งเป็นสำนักงานตัวแทนในประเทศเหล่านี้ต่อไป

นอกจากบริษัทที่เพิ่งเปิดไปนั้น โอกิยังมีโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทยทั้งหมด 4 แห่ง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท โอกิ (ประเทศไทย) ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี'33 ประกอบด้วยโรงงาน 3 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการผลิต IC, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Device), พรินเตอร์, แฟกซ์, และหัวพิมพ์เทคโนโลยี LED ส่วนโรงงานอีกหนึ่งแห่งอยู่ในจังหวัดลำพูน ดำเนินการผลิตหัวพิมพ์ 24 เข็มระบบ Dot Matrix (Print Head) และ Motor Oscillators สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์พรินเตอร์ โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะใช้เพื่อการส่งออกทั้งหมด

เครือข่ายทั้งหมดของโอกิในประเทศไทยก็นับว่าไม่น้อย เมื่อเขามั่นใจอย่างนี้ก็ทำให้เราใจชื้นขึ้นได้ว่า จะมีบริษัทอื่นๆ ทยอยกันเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นคนเอเชียด้วยกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันพอสมควร เขาเข้ามาทำประโยชน์เราก็ยินดีต้อนรับ อย่างน้อยก็เป็นการคานอำนาจทุนมหึมาของบริษัทฝรั่งตาน้ำข้าวทั้งหลาย ที่คอยแต่จะหาผลประโยชน์จากประเทศเอเชียมากกว่าจะสนับสนุนอย่างจริงจัง ในขณะที่ญี่ปุ่นเองแม้จะเป็นพี่เบึ้มของเอเชีย แต่ก็เข้ามาอย่างนอบน้อม น่าสนับสนุนและน่ายินดีที่เขาเข้ามา

ก่อนจบการแถลงข่าว กรรมการบริหารอาวุโสท่านหนึ่งของโอกิ อิเลคทริค อินดัสทรี ยังได้โปรยยาหอมจนเคลิ้มว่า "เรามุ่งเน้นการทำตลาดในภูมิภาคเอเชีย และคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าพิจารณาจากประชากร ความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงทางการเมือง และการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจปัจจุบันในประเทศไทยจะไม่ดีนัก แต่เราก็เชื่อมั่นว่าในอนาคตอันใกล้เศรษฐกิจจะกลับมาดีดังเดิม เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมั่นคงของประเทศ"

ถ้าทุกคนคิดได้อย่างนี้และรีบเข้ามาลงทุนในประเทศของเราเร็วๆ ก็ดีนะสิ!!    




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us