|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติ รอจังหวะการขายหุ้นธนาคารไทยธนาคาร เพื่อให้ได้ราคาสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เพราะไม่มีปัญหาด้านสัดส่วนการถือหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ 49% ระบุตั้งเป้าขายหุ้นธนาคารทั้ง 3 แห่ง ไทยธนาคาร-นครหลวงไทย-กรุงไทย หมดภายในปี 2550
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย นโยบายการขายหุ้นธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือ อยู่ว่า ขณะนี้ไทยธนาคารถือเป็นธนาคารเอกชน ไม่ใช่ธนาคารของรัฐแล้ว เพราะปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นในสัดส่วนเพียง 49% หากกองทุนฟื้นฟูฯจะขายหุ้นออกไปจะต้องพิจารณาจังหวะและความเหมาะสม เพื่อให้ราคาการเสนอขายหุ้น มีราคาดีที่สุด
"ช่วงเวลาขายหุ้น ต้องรอช่วงเวลาที่คาดว่าจะได้ราคาดีที่สุด เพื่อให้ได้กำไรดีๆ ถ้าราคาไม่ดี กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนขาย เพราะ สัดส่วนที่กองทุนฟื้นฟูฯถืออยู่ก็ไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้งการขายหุ้นก่อนหน้านี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ได้กำไรพอสมควรแล้ว"
ก่อนหน้านี้ ธปท. มีนโยบายที่จะขายหุ้นทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือ อยู่ ซึ่งได้มาจากการเข้าไปช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยตั้งเป้าจะขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในธนาคารพาณิชย์ให้แล้ว เสร็จภายในปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งเป้าหมายจะยก เลิกการดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการถาวร
โดยกองทุนฟื้นฟูฯ จะทยอยขายหุ้นธนาคาร นครหลวงไทย และธนาคารไทยธนาคาร ให้เสร็จ สิ้นภายในปี 2549 ส่วนหุ้นธนาคารกรุงไทยจะทยอยขายในปี 2549 และคาดว่าจะขายได้หมดภายในปี 2550 เนื่องจากหุ้นของธนาคารกรุงไทย มีจำนวนมากกว่าแห่งอื่น
นอกจากแผนการขายหุ้นธนาคารพาณิชย์แล้ว กองทุนฟื้นฟูฯ ยังจะต้องดำเนินการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่รับมาใน ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งได้ให้บริษัทสินทรัพย์สถาบันการเงินสุขุมวิท (SAM) และบริษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงินกรุงเทพพาณิชย์การ (BAM) บริหารอยู่ ซึ่งทุนฟื้นฟูกองทุนฟื้นฟูฯ มีภาระจะต้องเรียกเงินคืนจากการปรับโครงสร้าง หนี้จากหนี้เอ็นพีแอลส่วนนี้ถึง 400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่ประเมินจากหลักทรัพยค้ำประกันของ หนี้ที่มีอยู่ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการขายหลักประกัน
ขณะที่ในส่วนของบริษัทเงินทุนที่เข้าไปแทรกแซงนั้น ธปท. จะทยอยขายหุ้นออกไปเช่น กัน ซึ่งจะเริ่มทยอยขายตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2547 ไปจนถึงปี 2550 ในส่วนตัวบริษัทหลักทรัพย์ 56 ไฟแนนซ์นั้นขณะนี้กำลังทยอยขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ เพื่อที่จะนำเม็ดเงินกลับมาชดเชยความ เสียหายให้กับกองทุนฟื้นฟู โดยประมูลทั้งบริษัท ครั้งละกลุ่ม กลุ่มละหลายๆ บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้น 2548 นี้
ล่าสุด ธปท. ในเดือนมิถุนายน 2547 ที่ผ่าน มา กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เปิดประมูลขายสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการจำนวน 56 แห่ง โดยมี บริษัทเงินทุนจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ บงล. สยามซิตี้ซินดิเคท บง.ชาติ ไพบูลย์ บงล.เอกสิน บงล.คาเธ่ย์ไฟแนนซ์ บงล.กรุงไทย และบง.ไทยธำรง
สำหรับการประมูลขายบริษัทเงินทุนทั้ง 6 แห่ง มีมูลค่าสิทธิเรียกร้องประมาณ 7,887 ล้านบาท ประกอบด้วยสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้สัญญาเพื่อการพาณิชย์และที่อยู่อาศัย สิทธิเรียก ร้องตามมูลหนี้สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้สัญญาเช่าซื้อ
|
|
|
|
|