|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บิ๊ก SIS เผยสาเหตุหุ้นร่วงต่ำจอง มือดีปล่อยข่าวเสี่ยปู่มีต้นทุนแค่ 1 บาท อย่างไรก็ตาม ยืนยันไม่เป็นความจริง ระบุนักลงทุนทุกรายมีต้นทุนเท่ากันที่ 4.15 บาท แถมหุ้นที่จัดสรรก่อนไอพีโอยังติดไซเรนต์ พีเรียด ด้านหุ้นผู้มีอุปการคุณและหุ้นพนักงาน 33% ที่บริษัทจัดสรรเองพบว่าเกือบครึ่งเป็นนักลงทุนระยะสั้น ขายหุ้นเกลี้ยงแล้วตั้งแต่เข้าตลาดวันแรก แต่ที่เหลือเป็นนักลงทุนระยะยาวที่ยังคงถือเหนียวแน่น ด้าน "กิตติรัตน์" คาดครึ่งหลังมีบจ.เข้าจดทะเบียนอีกประมาณ 20 บริษัท จากเคยตั้งเป้าทั้งปี 50 บริษัท
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวหุ้น บริษัท เอสไอเอส ดีสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SIS ปรากฏว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่าราคาจองที่ 4.15 บาทแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ราคาหุ้นปิดที่ระดับ 4.14 บาท ต่อมาวันที่ 30 มิ.ย. ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 4 บาท จากนั้นวันที่ 2 ก.ค. ปิดตลาดที่ระดับ 3.86 บาท และในการซื้อขายวานนี้ (5 ก.ค.) ราคาหุ้นยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปิดตลาดที่ระดับ 3.76 บาท ลดลง 0.10 บาท
นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดีสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SIS เปิดเผยว่า บริษัทได้ติดตามความเคลื่อนไหวราคาหุ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังอยู่ระหว่างหาสาเหตุว่าทำไมหุ้นจึงมีแรงขายออกมาค่อนข้างแรงจนราคาปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาจอง ซึ่งก็ยังไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด
อย่างไรก็ตามพบว่ามี 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในช่วงที่ผ่านมามีข่าวลือว่าหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทมีการจัดสรรให้กับนักลงทุนคือนายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล ก่อนที่จะขายไอพีโอนั้น มีราคาต้นทุนเพียง 1 บาท ซึ่งในกรณีดังกล่าวบริษัทขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความ จริง โดยยืนยันว่าหุ้นของ SIS ทั้งหมดมีต้นทุนที่ไม่ต่ำกว่า 4.15 บาท ซึ่งเป็นราคาขาย ไอพีโอ ซึ่งผู้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นไปก่อนหน้า นี้ยังต้องมีเงื่อนไขในการติดระยะเวลาห้ามขาย หุ้นหรือไซเรนต์ พีเรียดอีกด้วย
อีกประเด็นหนึ่งคือในส่วนของ P/E ของ หุ้น SIS ที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ โบรกเกอร์ต่างๆ พบว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 3.86 บาท มี P/E อยู่ที่ 13.97 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่าหากเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกันอย่างเช่น TKS มี P/E อยู่ที่ 13.50 เท่า อย่างไรก็ตาม P/E ที่คำนวณออกมาใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีต ในขณะที่การซื้อขายหุ้นของนักลงทุนปกติแล้วจะใช้ P/E ในอนาคต ซึ่งจากราคาจองที่ 4.15 บาท จะมี P/E ปี 2547 ที่ 12-15 เท่า แต่อาจมีนักลงทุนที่เห็นว่า SIS มี P/E สูงกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกันจึงขายหุ้นของบริษัทออกมา
นายสมชัย กล่าวต่อว่า เท่าที่มีการสอบถามกับลูกค้าในส่วนที่เป็นผู้มีอุปการคุณที่บริษัทเป็นผู้จัดสรรเองจำนวน 33% ของ หุ้นทั้งหมด 43 ล้านหุ้น พบว่าแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ นักลงทุนที่ต้องการถือระยะสั้นประมาณ 30-40% ของหุ้นที่จัดสรรให้กับผู้มีอุปการคุณ รวมทั้งที่จัดสรรให้กับพนักงานของบริษัทในราคาเดียวกับไอพีโอ ซึ่งพบว่าใน ส่วนนี้มีการขายหุ้นออกไปตั้งแต่วันแรกของการซื้อขาย เพราะเห็นว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างแรง
อย่างไรก็ตามส่วนที่เป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีประมาณ 60-70% ของหุ้นที่จัดสรรให้ กับผู้มีอุปการคุณ จากการสอบถามพบว่ายังคงถือหุ้นอยู่และไม่ได้สนใจราคาหุ้นในกระดานเลย
ทั้งนี้ในฐานะที่เป็นผู้บริหารบริษัทยังคงยืนยันว่าราคาไอพีโอที่ตั้งไว้ที่ 4.15 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม และมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถทำผลการดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้โดยที่ยังไม่มีปัจจัยอะไรที่จะทำให้แผน การดำเนินงานที่วางไว้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นนักลงทุนที่ตั้งใจจะถือหุ้น SIS ในระยะยาวก็ยังมั่นใจได้
"เท่าที่เราติดตามการซื้อขายหุ้น SIS พบ ว่าในวันแรกมีหุ้นที่ซื้อขายกันถึง 161 ล้านหุ้น จากหุ้นที่ไอพีโอแค่ 43 ล้านหุ้น แสดงให้เห็น ว่ามีการเปลี่ยนมือกันหลายครั้ง โดยในช่วงที่ ราคาอยู่ที่ระดับ 4.50 มีแรงซื้อเข้ามามาก จาก นั้นก็ไล่ขึ้นมาเรื่อยๆจนราคายืนเหนือ 5 บาท แสดงว่ามีนักลงทุนที่เห็นว่าราคาที่เหมาะสมของหุ้น SIS อยู่ที่ 4.50 บาท แต่ในช่วงหลังมานี้เราก็ยังติดตามอยู่ว่าทำไมจึงมีแรงขายออกมา จนกระทั่งราคาหุ้นต่ำกว่าจอง ทั้งๆที่ปัจจัยพื้นฐานยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง" นายสมชัยกล่าว
ตลท.คาดครึ่งหลังมี บจ.ใหม่ 20 บริษัท
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า คาดว่า ภายในครึ่งปีหลังจะมีบริษัทใหม่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 20 บริษัท และอาจจะมีบางส่วนที่เลื่อนไปเข้าจดทะเบียนในปีหน้า เนื่อง จากทางการได้ขยายระยะเวลาให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นหลายบริษัทที่มีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่จำเป็นต้องเร่งรีบและบริษัทดังกล่าวอยู่ในช่วงของการขยายกิจการเพิ่มขึ้นและมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้เมื่อมีการกระจายหุ้นจะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
"ในช่วงต้นปีพบว่ามีบริษัทที่สนใจจะเข้า มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกินกว่า 100 บริษัทเนื่องจากเป็นช่วงที่ใกล้หมดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแต่หลังจากที่ทางการได้ขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี จึงทำให้หลายบริษัทได้เลื่อนออกไป ซึ่งเท่าที่ผมมีโอกาสได้พบปะกับว่าที่บริษัทที่จะเข้ามา จดทะเบียนปรากฏว่าบริษัทเหล่านี้ยังไม่เร่งรีบ นำบริษัทเข้าจดทะเบียน เพราะกิจการ กำลังขยายตัวได้ดี จึงเร่งสร้างกำไรเพราะ เวลาขายหุ้น จะได้มีเงื่อนไขที่ดี" นายกิตติรัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ตามนายกิตติรัตน์ไม่ยอมรับว่า ตลาดหลักทรัพย์จะปรับเป้าหมายของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 50 บริษัทในปีนี้
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีบริษัทจดทะเบียนใหม่จำนวน 13 บริษัท
|
|
 |
|
|