Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กรกฎาคม 2547
"ระย้า" ตัดสัมพันธ์ "อากู๋" ลุยตั้งบ.เก็บลิขสิทธิ์เอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Musics
ประเสริฐ พงษ์ธนานิกร
รถไฟดนตรี (1955)
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล




"รถไฟดนตรี" ตัดสัมพันธ์กับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ประกาศไม่ต่อสัญญาค่าจัดเก็บลิขสิทธิ์ ระบุปมสัญญาใหม่ลดค่าตอบแทนอาจทำรายได้หด รอคลอดกฎกระทรวงบังคับบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ได้ต้องมีจำนวน 10,000 เพลง ลั่นไม่ง้อบริษัทจีเอ็มเอ็ม มิวสิคฯเล็งหาพันธมิตรร่วมจัดตั้งบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เองในอีก 2 เดือน

นายประเสริฐ พงษ์ธนานิกร ประธานกรรมการ บริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด ค่ายผลิตเพลง เพื่อชีวิต เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้มอบอำนาจการจัดเก็บลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัท แกรมมี่ (มหาชน) จำกัด ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยได้ทำสัญญาไว้ 2 ปี ขณะนี้ได้หมดสัญญาลงแล้วเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 และคงจะไม่ต่อสัญญาแต่ประการใด

เนื่องจากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทจีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่งฯได้ออกหนังสือเวียนเพื่อ แจ้งให้ผู้ประกอบการได้ทราบโดยมีข้อความว่า การอนุญาตให้จัดเก็บ ค่าเผยแพร่ต่อสาธารณชนในลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวได้สิ้นสุดลงในวันที่ 4 ก.ค.นี้ ดังนั้นหากผู้ประกอบ การรายใดมีความประสงค์ที่จะใช้เพลงดังกล่าวในการเผยแพร่จะต้องได้รับอนุญาตจากบริษัท รถไฟ ดนตรี (1995) จำกัด โดยตรง ซึ่งหากไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ์จะต้องงดใช้เพลงดังกล่าวเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรณีดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการเกิดความสับสน และได้มีผู้ประกอบการโทรศัพท์มาถามถึงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่แท้จริง

นายประเสริฐ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการเจรจาเพื่อต่อสัญญาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ใหม่ แต่เนื่องจากติดเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ การที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มิวสิคฯลดอัตราค่าจัดเก็บลิขลิทธิ์แก่ผู้ประกอบการน้อยลง โดยอ้างว่าข้อมูลผู้ประกอบการคลาดเคลื่อน และไม่ได้มีมากเท่าที่ควร ส่งผลให้บริษัทจะมีรายได้จากการจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์น้อยลงตามไปด้วย จากที่ผ่านมาสัดส่วนรายได้จากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ไม่ถึง 10% ของรายได้รวม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวมีผลต่อการพิจารณาต่อสัญญาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ใหม่มีความล่าช้าไป

ประการที่สอง ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการเกิดความสับสนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เพราะมีค่ายเพลงเล็กๆ เป็นจำนวน มากเรียกจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์แก่ผู้ประกอบการ ส่งผลให้มีการร้องเรียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา จนกระทั่งได้มีการตั้งเงื่อนไขของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ไว้ว่าบริษัท ที่จะสามารถจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้จะต้องมีผลงานเพลงประมาณ 10,000 เพลง โดยเงื่อนไขดังกล่าวกำลังจะออกเป็นกฎกระทรวงและมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้ ทำให้บริษัทเองซึ่งปัจจุบันมีผลงานเพลงไม่ถึง 6,000 เพลง นั้นจะไม่สามารถจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้

"ทั้งสองเหตุผลให้เราต้องใช้เวลาในการพิจารณา เพื่อต่อสัญญานาน ขณะที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มิวสิคเองอาจคิดว่าบริษัทจะไม่ต่อแล้ว นอกจากนี้ยังมองว่าที่ผ่านมาธุรกิจเพลงแข่งขันรุนแรงระหว่างค่ายแกรมมี่กับอาร์.เอส.ทำให้ แกรมมี่ดึงรถไฟดนตรีเข้าไปเพื่อเติมเต็มขาธุรกิจเพลงเพื่อชีวิตที่แกรมมี่ยังไม่มี แต่ปัจจุบันการแข่งขันน้อยลงทำให้ไม่ต้องการค่ายเพลง เล็กๆ ก็เป็นได้"

นายประเสริฐ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทกำลังหาพันธมิตรค่ายเพลง เพื่อรวมขั้วจัดตั้งบริษัทขึ้นมาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยตรงเอง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ไม่เกิน 2 เดือนนี้ โดยขณะนี้กำลังรอขั้นตอนให้มีกฎกระทรวงขึ้นมาก่อน จากนั้นจะนำบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ไปจด ทะเบียน โดยจะเป็นบริษัทที่ 4 ที่มีสิทธิ์ในการจัด เก็บค่าลิขสิทธิ์จากเดิมที่มีบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิคฯ ทีซีซีของบริษัทอาร์.เอส. และซองค์ กอปปี้ ไลน์ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ 4 บริษัท ได้แก่ ท็อปไลน์ กรุงไทย ชัวร์ออดิโอ นพพร โปรโมชัน

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่บริษัทกำลังดำเนินเรื่องจัดตั้งบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ บริษัทจะให้ผู้ประกอบการสามารถใช้งานดนตรีกรรม และสิ่งบันทึกเสียงไปก่อน โดยไม่มีการจัดเก็บค่า ใช้จ่ายใดๆ จนกว่าการจัดเก็บของบริษัทจะพร้อม โดยจะไม่มีการส่งคนไปตรวจจับ

นายประเสริฐ กล่าวต่อถึงการดำเนินธุรกิจเพลงว่า บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก หลังจากแนวโน้มตลาดเพลงทั่วโลกตกลง เพราะที่ผ่านมาลักษณะการทำตลาดของรถไฟดนตรีจะมีการนำผลงานเก่าของศิลปินมาทำตลาดอย่าง ต่อเนื่องเทียบกับค่ายอื่นจะไม่มีการทำตลาดอย่าง ต่อเนื่อง โดยทำเฉพาะช่วงโปรโมตเท่านั้น โดยที่ผ่านมาผลประกอบการของบริษัทจะมีรายได้จาก ธุรกิจงานเพลงเป็นหลักเกือบ 100% รายได้หลักมาจากงานเพลงเพื่อชีวิต 80% ขณะที่รายได้จากธุรกิจวิทยุมี 1 คลื่นเอฟเอ็ม 98.5 และธุรกิจ โทรทัศน์ 3 รายการยังเป็นส่วนน้อย อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทได้วางแผนที่จะขยายธุรกิจเพลงในรูปแบบริงโทน ซึ่งภายใน 2 สัปดาห์จะมีการเซ็น สัญญากับพันธมิตร ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นรายได้ให้เพิ่มขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us