|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นับตั้งแต่หุ้น N-PARK หรือ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ อีกครั้งเมื่อ 23 ก.ค.46 ภายใต้กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ คนสำคัญ "สว่าง มั่นคงเจริญ" อดีตเจ้าของและผู้บริหารไฟแนนซ์บงล.ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ ดูเหมือนทุกย่างก้าวความเคลื่อนไหวของ N-PARK ที่ปรากฏออกมาถูกจับตามองพิเศษ จากผู้คนวงการหุ้นโดยเฉพาะการลงทุนของ N-PARK ที่เป็นไปในลักษณะรวดเร็วและมีจำนวนและมูลค่ามากมาย กลายเป็นโครงสร้างกลุ่มที่ใหญ่และดูซับซ้อนในช่วงปี 46 ได้เข้าลงทุนในบริษัท สยามซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SYNTEC บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI และ บริษัท แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PA และรถไฟฟ้ากรุงเทพ
ขณะเดียวกันหุ้น N-PARK ก็ได้รับความสนใจ จนในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยร้อนแรงในปี 46 หุ้น N-PARK ก็ร้อนแรงไม่แพ้ใครเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ตลาดโดยรวมไม่สดใสหุ้น N-PARK ก็ไม่สดใสตามเช่นกัน ล่าสุดการลงทุนของ N-PARK ในบริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) และการ ร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอมันรีสอร์ทในยุโรป ไม่ เพียงแต่สร้างความฮือฮาเท่านั้น กระแสวิพากษณ์วิจารณ์ภาพลักษณ์ของ N-PARK ในอดีตที่มีว่ามีความเหมือนอาณาจักร เอกธนกิจหรือฟินวัน ของ "ปิ่น จักกะพาก" ถูกหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์ใหม่อีกครั้ง ว่าภาพที่คิดกันในวันนั้นวันนี้กำลังชัดขึ้นหรือเปล่า
"เสริมสิน" แจงไม่เหมือนฟินวัน
"จำได้ว่าลักษณะของฟินวันเขาถือหุ้นไขว้กัน แต่ N-PARK ไม่ใช่นะ ของเราไม่มีการถือหุ้นไขว้ จะมีก็แต่ในส่วนของคุณสว่าง ผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ในอดีต ถือหุ้นบริษัท ซินเทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท ริชชี่ แต่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ไม่ใช่การถือหุ้นไขว้กัน เป็น N-PARK ถือ 26.8% ส่วนที่มองว่าเหมือนฟินวันเขาอาจจะไปมองตรงที่กลุ่มผู้ถือ หุ้นใหญ่ของบริษัทแสนสิริ บริษัทที่เราถือหุ้นที่เป็น ญาติกับคุณปิ่น จักกะพาก ก็ได้" นายเสริมสิน สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) กล่าวตอบประเด็นที่มักถูกวิจารณ์
นายเสริมสิน ยืนยันและตอกย้ำทุกครั้งว่า กลยุทธ์การลงทุนของ N-PARK ที่ใช้ในขณะนี้เป็นเรื่องใหม่ของเมืองไทย แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของฝรั่ง รูปแบบการบริหารของ N-PARK มีลักษณะแนวนอนและแนวดิ่ง ซึ่งเป็นการวางกลยุทธ์ที่จะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลง
N-PARK เมาหมัดการลงทุน
ไม่เพียงแต่ถูกมองว่าโครงสร้างซับซ้อนและภาพเหมือนกับฟินวันในอดีตเท่านั้นหลังจากมีการเข้าลงทุนในบริษัท ฟินันซ่า และกลุ่มอมันรีสอร์ท
"มีคนถามผมว่า สภาพ N-PARK เมาหมัดการลงทุนหรือเปล่า" นายเสริมสิน กล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตของคนในวงการตลาดหุ้น ซึ่งนายเสริมสิน กล่าวแสดงความเห็นไว้ว่า"ตอนนี้เรามาถูกทางแล้ว และ N-PARK ก็จะมีการลงทุนอีกมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศ เป็นการกระจายการลงทุนออกไปข้างนอกประเทศ จังหวะนี้เป็นจังหวะที่จะต้องเร่งลงทุน และใน 2-3 ปีข้างหน้าเราจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุน ซึ่งเป็นช่วงที่โครงการที่ลงทุนไว้ได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา"
สำหรับผลตอบแทนในปีนี้ นายเสริมสิน บอกว่า จะมาจากการลงทุนใน SIRI และ PA และรถ ไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนปีหน้า มีโรงแรมที่เชียงใหม่ ที่เปิดบริการ และคาดว่าจะมีรายได้จากการจัดตั้งและขาย กองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก
ยันไม่ขาย N-PARK
ส่วนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น N-PARK นอกจากทรุดตัวลงไปตามภาวะตลาดโดยรวมแล้ว การทรุดตัวของหุ้น N-PARK ยังมีกระแสข่าวปรากฏ ออกมาว่า มีการขายของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งเกิดความ ขัดแย้งกันเทขายออกมาด้วย แม้ก่อนหน้านี้ นายเสริมสิน จะออกมายืนยันว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน และกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่หลักสำคัญ ๆ ที่กุมการบริหารยังไม่ได้ขายหุ้นออกมาก็ตามแต่ราคาหุ้น N-PARK ก็ยังคงทรุดตัวต่อเนื่อง
ข่าวการเพิ่มทุนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงและมีนักวิเคราะห์คาดการณ์กันออกมาจนทำให้ราคาหุ้นได้รับผลกระทบทรุดตัวต่อเนื่องจากทุกปัจจัยดังกล่าว ทำให้หุ้น N-PARK ซึ่งเคยเคลื่อน ไหวขึ้นไปเกือบถึง 10 บาท ได้กลับมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ ระดับ 2 บาทเศษ ๆ (1 ก.ค.)
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่เล่าลือกันไม่หยุดคือ เรื่องการเทขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เนื่องจากหุ้นที่เคยติดไซเลนต์ พีเรียดหรือ (ระยะห้ามขาย) ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีบางส่วนสามารถขายได้ แล้วในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขายหุ้นออก มา เรื่องนี้ได้รับการชี้แจงจากนายเสริมสินว่า ที่ผ่าน มามีหุ้นบางส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางส่วนหมดไซเลนต์ ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นพวกนี้เป็นฝรั่ง ได้ขายหุ้นออกมา เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุน แต่ในส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลัก ๆ เดิมยังถืออยู่ไม่ขายออกมา ของผมก็ไม่ได้ขาย และส่วนที่จะหมดไซเลนต์อีกรอบหนึ่งผมก็ไม่ขายออกมาแน่นอน
ลงทุนซีเอ็ดให้ผลตอบแทน 8%
ขณะที่ราคาหุ้น N-PARK ตกอยู่ในสภาพที่ซึมลึกยาวนาน กลับปรากฏชื่อนายเสริมสิน เข้าไปถือ หุ้นใน บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
นายเสริมสิน สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บริษัทแนเชอรัลพาร์ค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าลงทุนในบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็น การลงทุนส่วนตัว ก่อนหน้านี้มีการลงทุนซื้อขายในหุ้น ซีเอ็ด เป็นระยะๆ อยู่แล้ว แต่ไม่ต้องรายงานเนื่องจาก ไม่ได้เป็นกรรมการในซีเอ็ด แต่พอมาเป็นกรรมการจึง ต้องรายงานตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรม-การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
สำหรับเหตุผลที่สนใจเข้าลงทุนในซีเอ็ด เนื่อง จากทำธุรกิจหนังสือ ซึ่งโดยส่วนตัวชอบอ่านหนังสือ และ เมื่อพิจารณาผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ 8% แล้วถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ดี รวมใช้เงินลงทุนใน ซีเอ็ด ทั้งสิ้น 70 ล้านบาท
เป้าสุดท้าย N-PARK ดันบริษัทร่วมทุนจดทะเบียน ในยุโรป
นายเสริมสินกล่าวอีกว่าก่อนหน้านี้ก็เคยลงทุน ในหุ้นตัวอื่น และหุ้น N-PARK แต่พอนั่งบริหารใน N-PARK ก็ไม่ได้ลงทุนซื้อขายหุ้น N-PARK เพื่อความสบายใจ ทำให้ตอนนี้หุ้นที่ลงทุนหลักๆ มีเพียง ซีเอ็ด และ N-PARK เท่านั้น
นายเสริมสินยังได้กล่าวถึง N-PARK ขาดทุนเพราะลงทุนมาก ซึ่งได้ยืนยันว่าในช่วงนี้เป็นระยะเวลา ที่เหมาะสำหรับการลงทุน แต่ในกลางปีหน้าอัตราดอกเบี้ยก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาจึงเตรียมแผนโรดโชว์ที่สิงคโปร์เร็วๆ นี้เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าใจ เชื่อมั่นว่าหากเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไป เชื่อว่า N-PARK ก็จะก้าวไกลออกไปได้อีก
"นักธุรกิจไทยน้อยคนนักที่จะไปลงทุนในต่างประเทศและมีชื่อเสียง แต่เราต้องการให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นว่าคนไทยมีฝีมือ สามารถไปลงทุนในญี่ปุ่นและยุโรปเหมือนกับคนพวกนี้ที่มาลงทุนในไทยได้ และอยากเห็นบริษัทคนไทยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศบ้าง" นายเสริมสินกล่าว
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ N-PARK กล่าวต่อว่า ได้รับทราบแผนการลงทุนต่างประเทศของ N-PARK รวมไปถึงนโยบายการดึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯเข้ามาถือหุ้นของ N-PARK แต่ N-PARK จะไม่เข้าไปถือหุ้นในกองทุนดังกล่าว ซึ่งแผนการดึงกองทุนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันใกล้ ส่วนแผนการลงทุนระยะยาวอีกระดับหนึ่งก็คือ การนำบริษัทที่ N-PARK ร่วมทุนกับอมันรีสอร์ทซึ่งจะจัด
ตั้งขึ้นในยุโรปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยุโรป แต่ทั้งนี้คงต้องรอให้มีการจัดตั้งและการเตรียมการเข้าเกณฑ์กับกฎระเบียบที่นั่น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
|
|
|
|
|