Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
ปริญญา ธรรมวัฒนะ แยกตัวโกลด์มาสเตอร์ ทำทองใหม่ชื่อ HANG ON             
 


   
search resources

ปริญญา ธรรมวัฒนะ




ตอนช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยจะซบเซาอย่างหนักตั้งแต่ปลายปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ปริญญา ธรรมวัฒนะ หนึ่งในผู้บริหารโกลด์มาสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้เปิดตลาดทองคำบริสุทธิ์ 99.99% หรือทอง 24 เค ได้แยกตัวออกมาเปิดบริษัทใหม่เมื่อต้นปี 2540

บริษัทเดอไลท์ (Delight) จำกัด ตั้งขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในรูปของโรงงาน โดยมีปริญญาเป็นเจ้าของเต็มตัว เพื่อพัฒนาเครื่องประดับทองด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า อิเล็กโทรฟอร์มมิ่ง ภายใต้ยี่ห้อ HANG ON ซึ่งเป็นแบรนด์เนมแรกจากโรงงานเดอไลท์

"อิเล็กโทรฟอร์มมิ่ง เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากอิตาลี สามารถผลิตทองคำบริสุทธิ์ที่มีเนื้อแข็งกว่าวิธีผลิตแบบเดิมๆ ทำให้น้ำหนักชิ้นงานเบาขึ้น ชิ้นใหญ่ขึ้น ในขณะที่ใช้เนื้อทองน้อยลง เช่นจากชิ้นงานหนึ่งที่เคยใช้ทองถึง 10 กรัม ก็สามารถใช้ทองลดเหลือเพียง 7 กรัมด้วยอิเล็กโทรฟอร์มมิ่ง" ปริญญา ธรรมวัฒนะ ผู้อำนวยการบริษัทเดอไลท์ กล่าว

จากคุณสมบัติของทองที่ได้จากเทคโนโลยีใหม่นี้ ปริญญา กล่าวว่า ทำให้การผลิตงานสามารถถ่ายทอด จินตนาการของนักออกแบบได้เต็ม 100% เพราะเป็นงานที่ลอยตัว คิดอย่างไรก็สามารถทำได้ ในขณะที่กระบวนการแบบเก่ามีข้อจำกัดในเรื่องของรูปทรงและสีที่ได้ดูไม่มีคุณค่า

"ทอง 96.5% หรือทอง 23 เค กว่าๆ ที่ขายในร้านทองพอทำเป็นทองรูปพรรณแล้วจะต้องเอาไปชุบสีทอง 24 เคก่อน แต่วิธีใหม่นี้จะให้งานออกมาเป็นสีทอง 24 เค ซึ่งจะเป็นสีที่ดูมีคุณค่า" ปริญญา กล่าว

ขั้นตอนการผลิตจะเริ่มจากการทำต้นแบบ หล่อเป็นพิมพ์เงิน จากต้นแบบคลือบด้วยทอง ก็คือวิธีการชุบที่ 0.22 มิลลิเมตร ถ้าเป็นงานหล่อทั่วไปจะต้องหนาถึง 0.70 มิลลิเมตร แล้วเผาข้างในออก ซึ่งปริญญากล่าวว่าแบบหนึ่งชิ้นจะต้องผลิตอย่างน้อย 100 ชิ้น จึงจะคุ้มทุนต่อต้นทุนแบบชิ้นละหมื่นกว่าบาท

"ปัจจุบันเดอไลท์มีกำลังการผลิต 100 ชิ้นต่อวันต่อเครื่องมือ 1 ชุด เฉลี่ยมูลค่าชิ้นละ 5,000 บาท วันหนึ่งก็สามารถผลิตงานมูลค่า 5 แสนบาท ปีหนึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายก็คาดว่าจะมีรายได้สักประมาณ 150 ล้านบาท แต่ไม่ใช่ตัวเลขสำหรับปีนี้ เพราะเราเพิ่งเริ่มเปิดขายเมื่อ 5-6 เดือนที่ผ่านมา และเป็นเพียงการทดลองตลาด ก่อนหน้านั้นก็อยู่ในเซ็ทอัพมาตลอด ตั้งใจว่าจะรอให้เศรษฐกิจดีขึ้นอาจจะเป็นปลายปีนี้สำหรับการเปิดตัวตลาดในไทย" ปริญญา กล่าว

ปริญญา ในฐานะผู้บริหารแบบเต็มร้อยของแฮงออน หลังจากวางมือจากการบริหาร ที่โกลด์มาสเตอร์เหลือไว้เพียงการเป็นผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียว หน้าที่ของปริญญาจึงมีตั้งแต่ออกแบบชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีดีไซเนอร์ทั้งบริษัทรวม 2 คน ออกแบบบูธวางสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และที่มาของแฮงออน ซึ่งปริญญาเล่าว่า

"แฮงออนเป็นแบรนด์เนมที่มีคอนเซ็ปต์ชัดเจน คือจี้ สิ่งที่เอามาห้อย ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยยุคล้านปีมาแล้ว คนป่าฆ่าสัตว์เอาเขี้ยวสัตว์มาห้อยคอ พอเจริญขึ้นมา สิ่งที่ห้อยก็เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และความชอบ จะเห็นได้ว่าไม่ว่ายุคสมัยใดคนก็ไม่เลิกที่จะหาอะไรมาห้อยคอ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แฮงออนเพื่อตอบสนองความต้องการนี้"

ผลิตภัณฑ์ของแฮงออน จึงเน้นจี้ที่จะตอบสนองทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยสินค้าแฮงออนจะดีไซน์ออกมาตอบสนอง กลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มเล่นพระ กลุ่มนักดนตรี กลุ่มที่มีงานอดิเรก แม้กระทั่งกลุ่มนักพนัน เรียกได้ว่าใครที่มองหาจี้ แฮงออนจะมีให้ครบ

"แฮงออนเราจะเน้นจี้เป็นหลัก เพราะยุคนี้ต้องเป็นสินค้าที่ขายง่าย จี้จะเป็นกลางห้อยได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ซื้อเป็นของขวัญได้ง่าย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของขนาดเหมือนพวกแหวน คนขายก็ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเครื่องประดับมากนัก เหมือนขายนาฬิกาคนที่เดินเข้ามาซื้อจะรู้ว่าเขาเดินเข้ามา ซื้อทองคำบริสุทธิ์" ปริญญา กล่าว

อย่างไรก็ดี ปริญญา กล่าวด้วยว่า สำหรับแฮงออน จะไม่ได้หยุดอยู่ที่จี้เท่านั้น แต่จะมีสินค้าเครื่องประดับครบ ทุกไลน์ รวมถึงจะพัฒนาเป็นเครื่องทองบริสุทธิ์ฝังเพชร

"จากเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดทองคำบริสุทธิ์ที่มีเนื้อแข็ง เราก็สามารถพัฒนาเอามาฝังเพชร ฝังพลอยได้ โดยไม่ต้องกลัวหลุด เพราะปกติถ้าเป็นทองบริสุทธิ์ฝังเพชรจะหลุดเพราะทองนิ่ม ทองคำที่นำมาฝังเพชรในปัจจุบันจะเป็นทอง 90% เท่านั้น จะเรียกได้ว่าแฮงออนเป็นเครื่องเพชรที่เป็นทอง 24 เค รายแรกเลยก็ได้" ปริญญา กล่าว

สำหรับตลาดของแฮงออน จะเป็นคนละตลาดกันกับโกลด์มาสเตอร์ แฮงออนจะเน้นตลาดวัยรุ่นจนถึงคนทำงาน เพราะสินค้าแต่ละชิ้นจะมีราคาตั้งแต่ 2,000 - 8,000 บาทเท่านั้น โดยเฉลี่ยจะอยู่ในเกณฑ์ 3-4 พันบาทต่อชิ้น ซึ่งราคาทองของแฮงออนจะแพงกว่าราคาทอง 96.5% 3 เท่าตัว

จากการทดลองตลาดในไทยไปเมื่อ 5-6 เดือนที่ผ่านมาที่อิเซตัน และดิเอ็มโพเรียม ปรากฏว่าคนไทยยังไม่เคยชินกับทองที่มีน้ำหนักเบาๆ ใช้เนื้อทองน้อยแต่มีรายละเอียด มากๆ ได้ครบ เช่น สามารถทำพระองค์หนึ่งหนักเพียง 3 กรัมครึ่ง ในขณะที่การหล่อด้วยวิธีเดิมต้องใช้ถึง 15-20 กรัม คนซื้อจึงเป็นชาวต่างชาติเสียส่วนใหญ่

รวมทั้งจากประสบการณ์ที่ได้จากโกลด์มาสเตอร์ ทำให้ปริญญารู้ว่าการทำค้าปลีกด้วยตัวเองเป็นเรื่องค่อนข้างเหนื่อย แฮงออนจึงมีแผนการขายปลีกด้วยการเข้าร้านค้า ซึ่งปริญญาได้ออกแบบตู้โชว์ที่ดีไซน์มาเพื่อวางเป็นส่วนหนึ่งของร้านทอง ร้านเครื่องประดับ และไดเร็กต์เซลล์ ในรูปแบบของการตลาดแบบชั้นเดียว ซื้อมาขายไป โดยจะให้กำไรกับผู้ขาย 20 เปอร์เซ็นต์

"สินค้าที่ซื้อจากบริษัทสามารถนำมาเปลี่ยนแบบได้ เอามาขายคืนได้เมื่อต้องการจะเลิก เป็นการประกันเงินทุนให้กับผู้ขาย โดยเราจะหนุนด้านการทำประชาสัมพันธ์ สำหรับเงินทุนเริ่มต้นของผู้ขายจะตกประมาณ 60,000 บาท สำหรับงาน 12 ชิ้น" ปริญญากล่าว

สรุปสำหรับค้าปลีกในไทย แฮงออนจะมีบูธเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือสองที่ที่มีอยู่เดิมและเพิ่มที่ดิวตี้ฟีดอนเมืองอีก 1 แห่ง ที่เหลือจะเน้นขายตามร้านค้าและไดเร็กต์เซลล์ เพื่อบริษัทจะได้มีเวลาทำตลาด ทำประชาสัมพันธ์ และราคาขายที่ชัดเจน เช่น สินค้าที่ขายคนไทยควรจะมีราคาที่ 2-3 พันบาท ซึ่งเป็นราคาที่ขายดีที่สุด

สำหรับปีนี้ แฮงออนจะเน้นตลาดต่างประเทศ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานบางกอกเจมส์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานที่มีผู้ค้าส่งอัญมณีจากต่างประเทศเข้ามาชมงานประมาณ 2,000 ราย โดยบริษัทหวังว่าจะได้จะได้ออร์เดอร์จากผู้ค้าส่งเหล่านี้มากเพียงพอกับการผลิต และคาดว่าตลาดหลักที่ส่งออกจะมีทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น และฮ่องกง

"ในต่างประเทศจะมีที่ฮ่องกงที่เริ่มใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้เริ่มผลิตเมื่อปีที่แล้ว แต่เน้นทำพวกวัตถุมงคล เช่น พระ ฮกลกซิ่ว แต่เป็นทอง 18 เค เราเป็นเจ้าแรกที่เอามาทำเป็นทอง 24 เค และทำเป็นเครื่องประดับ ซึ่งให้คุณสมบัติในเรื่องความแข็งเท่าเทียมทอง 18 เค สินค้าที่เราจะส่งออกต่างประเทศก็จะเป็น 24 เค เหมือนที่เราผลิตอยู่ตอนนี้"

ทั้งนี้แม้จะมีแนวโน้มและช่องทางการตลาดสำหรับทองแฮงออนที่เป็นไปได้ แต่ปริญญาก็ยอมรับว่าภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะครบ 2 ปีของบริษัทใหม่ที่ตั้งขึ้น ก็ยังไม่สามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ อย่างน้อยก็ต้องอีก 1-2 ปีข้างหน้า เพราะต้องยอมรับว่าสำหรับทองตอนนี้ก็คือของฟุ่มเฟือย มีแต่คนขายออกมากกว่าจะซื้อเข้า

อย่างไรก็ดีปริญญาก็เชื่อว่า เมื่อไรก็ตามที่เศรษฐกิจไทยดีขึ้น คนไทยก็จะกลับมาหิวทองเหมือนเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us