เอ็มลิงค์ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร 4 กลุ่มธุรกิจ หวังเข้าร่วมประมูลโครงการใหญ่โดยอาศัยศักยภาพของพันธมิตร และความน่าเชื่อถือ ของบริษัท เบิกทางได้ 2 โครงการใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและสนามบินสุวรรณภูมิรวมมูลค่าร่วม 4,000 ล้านบาทนำร่อง พร้อมต่อ ยอดธุรกิจด้วยการเพิ่มทุน 540 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้รวมธุรกิจปี 47 กว่าหมื่นล้านบาท
นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล รองประธานกรรมการ บริษัท เอ็มลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (MLINK) กล่าวว่า เอ็ม ลิงค์มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการแบ่งแยกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่ม Handset หรือโทรศัพท์มือถือ ดูแลการขายส่งไปยัง แฟรนไชส์ร้านเอ็ม ช็อป ซึ่งมีทั้งหมด 99 ชอป โดยมี เทเลแม็กซ์ ดูแลด้านการขายปลีก 2. กลุ่มธุรกิจ คือ Digital Truked Radio วิทยุสื่อสารระบบดิจิตอล กลุ่มที่ 3 Mobile Application ในนามบริษัท เอ็ม โซลูชัน จะเป็นผู้พัฒนา เนื้อหาและโมบายล์โซลูชั่นสำหรับลูกค้าองค์กรและสนับสนุนธุรกิจจัดจำหน่ายและบริการโทรศัพท์มือถือของเอ็มลิงค์ และกลุ่มที่ 4 คือ System Intergration จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำความเชี่ยวชาญของเอ็มลิงค์ร่วมมือกับผู้นำในวงการไอที-เทเลคอมเพื่อรับงานประมูลในโครงการต่างๆ ในนามบริษัท พอร์ทัลเน็ต ทั้งนี้โดยมีเอ็ม ลิงค์ซึ่งเป็นบริษัท แม่ดำเนินธุรกิจด้านการขายส่งให้กับดีลเลอร์กว่า 600 ราย
ฐานธุรกิจเดิมของเอ็มลิงค์คือการเป็นผู้นำเข้าโทรศัพท์มือถือ ทำรายได้ในปีที่ผ่านมาประมาณ 83.14% ของรายได้รวมทั้งหมด รายได้จากการ จำหน่ายซิมการ์ดและบัตรเติมเงิน 16.26% และอุปกรณ์เสริม 0.06% โดยในไตรมาสแรกรายได้จากการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็น 86.46% ซิมการ์ดและบัตรเติมเงิน 12.78% และอุปกรณ์เสริม 0.76%
"รายได้ของเอ็มลิงค์เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสแรกของปีนี้เพราะการปรับ แผนการตลาดใหม่จากเดิมมุ่งกลุ่มโลว์เอนด์มาเป็นไฮเอนด์และมิดเดิร์น เอนด์ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการเป็นเอ็กซ์คลูซีฟ โมเดล จากเดิม ที่เคยจำหน่ายโทรศัพท์มือถือประมาณตัวละ 4,000 บาท ปรับมาเป็นเฉลี่ยที่ตัวละ 7,000 บาท"
นาย อนุสรณ์ อมรฉัตร กรรมการผู้อำนวยการ กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจ System Intergration หรือเอส-ไอเป็นกลุ่มใหม่ที่เอ็มลิงค์คาดว่าจะมีอนาคตอย่าง มาก โดยได้โครงการแรกประเดิมคือ การไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค มอบหมายให้ดูแลเช่าระบบซอฟต์แวร์สำเร็จ รูป มีมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 8 ปี และอีกตลาดที่มีแนวโน้มที่ดีคือวิทยุสื่อสารเฉพาะกลุ่ม Trunked Radio ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก โมโตโรล่า เป็นผู้แทนจำหน่าย โดยได้บริษัท วิทยุการ บินแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้ดูแลในโครงการ สนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่าเกือบ 300 ล้านบาท
เป้าหมายของตลาดวิทยุสื่อสารเฉพาะกลุ่มจะเป็นทั้งตลาดราชการและเอกชน ธุรกิจก่อสร้าง แท็กซี่ ขนส่ง ตำรวจ ที่ต้องการการสื่อสารเป็นกลุ่ม โดยคาด ว่าในสิ้นปีนี้จะทำตลาดได้ประมาณ 500 ล้านบาท
เพื่อเป็นการสร้างฐานทางการเงินให้เข้มแข็ง เอ็มลิงค์เพิ่มทุนในช่วงครึ่งปีโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่จำนวน 270 ล้านหุ้น ที่ราคา 2 บาท คิดเป็น 540 ล้านบาท ในราวเดือนสิงหาคม ส่วนที่ 2 เป็นการขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 150 ล้านหุ้น โดยมีเป้าหมายในการนำเงินที่ได้จากการเพิ่ม ทุนมาใช้หมุนเวียนและเพื่อรองรับการขยายธุรกิจใหม่ ทั้ง System Intergration และ Trunked Radio
ในปีที่ผ่านมาเอ็มลิงค์มีรายได้รวมประมาณ 4,900 ล้านบาท ไตรมาสแรกของปี 2547 มีรายได้รวม 1,367.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 99.24% จากงวดเดียว กันของปี 2546 ในปี 2547 คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทโดยคาดว่าจะมาจากเอ็มลิงค์ประมาณ 5,000 ล้านบาท พอร์ทัลเน็ตประมาณ 5,000 ล้านบาท เอ็ม โซลูชัน ประมาณ 10 ล้านบาท และ เอ็ม ชอปประมาณ 10 ล้านบาท ความมั่นใจของเอ็มลิงค์ว่าจะทำรายได้ได้ถึงหลักหมื่นล้านเป็นเพราะการรับรู้ราย ได้ของโครงการทั้ง2ที่ได้เกิดขึ้นในปี 2547 บวกกับความมั่นใจของผู้บริหารที่ได้จาก 2 โครงการที่ผ่านมา ว่าจะทำให้เอ็มลิงค์ได้รับความเชื่อถือในวงการประมูล ในโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ ของบริษัท กสท โทรคมนาคม นางมณฑาทิพย์ กล่าวว่ายังไม่มั่นใจว่าจะเข้าประมูลในโครงการนี้หรือไม่ โดยมองว่าโครงการซีดีเอ็มเอรอบใหม่นี้ยังไม่มีความ ชัดเจนเมื่อเทียบกับการประมูลในครั้งก่อนที่มุ่งไปมัลติมีเดียอีกทั้งการบริหารโครงการอาจมีความเสี่ยง เมื่อมีการแบ่งย่อยออกเป็น 5-6 พื้นที่และค่าเงินไม่คงที่
เป็นที่รู้กันว่าเอ็มลิงค์เป็นบริษัทของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีและมีนายอนุสรณ์ อมรฉัตร ผู้บริหารระดับสูงเป็นน้องเขย ซึ่งการประกาศรุกธุรกิจประมูลโดยเฉพาะงานราชการ ถึงแม้จะชนะได้งานมาด้วยความโปร่งใส แต่อาจถูกตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องสายสัมพันธ์หรือการเลือกปฏิบัติ จนทำให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจได้
ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติโครง การโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA2000-1xในส่วน ภูมิภาค วงเงินลงทุน 13,430 ล้านบาท โดยมีเป้าหมาย ที่จะขยายระบบ CDMA ของบริษัท กสท โทรคม-นาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถให้ บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ เป้าหมายของโครง การจะมีการจัดซื้อชุมสายวิทยุเซลลูลาร์ขนาดไม่ต่ำกว่า 2.3 ล้านเลขหมาย และ สถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMAพร้อมอุปกรณ์ประกอบที่จำเป็นโดยมีแผนจัดซื้อชุมสายวิทยุเซลลูลาร์ 5 ชุดสาย และสถานีวิทยุเครือข่าย 1,600 สถานี มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี คาดว่าเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2548 ใช้เงินลงทุน จากรายได้ของบริษัท กสทฯ เองแบ่งเป็นการจัดซื้อชุมสาย และสถานีวิทยุเครือข่ายพร้อมอุปกรณ์ ที่จำเป็นวงเงิน 12,210 ล้านบาท และเงินสำรองโครงการอีก 10% วงเงิน 1,220 ล้านบาท
|