|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กรุงไทยได้ฤกษ์เซ็นเอ็มโอยู 3 ฉบับรวด ผนึกกำลังกับยักษ์ใหญ่ เครือซีพี-ทรีนีตี้ วัฒนา-BDB เตรียมขยายธุรกิจเดินหน้ารุกสู่ประเทศจีนเต็มตัว พร้อมขยายช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเงินกับเซเว่นฯ แย้มอาจเปิดทาง ให้เซเว่นฯ เปิดสาขาที่แบงก์ได้
นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB เปิดเผย วานนี้(28 มิ.ย.)ว่าธนาคารได้มีพิธีลงนามบันทึกความ เข้าใจในโครงการความร่วมมือทางธุรกิจ จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกความเข้าใจการร่วมลงทุน ใน Business Development Bank (BDB) บันทึกความเข้าใจการร่วมลงทุนใน บริษัทหลักทรัพย์จัดการ กองทุนกรุงไทย (KTAM) และบันทึกความเข้าใจความ ร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
โดยในส่วนของ KTAM นั้น ธนาคารได้ลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงเหลือ 40% จากเดิมที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ด้วยการให้ KTAM ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 30 ล้านหุ้นขายให้กับบริษัทเครือเจริญ โภคภัณฑ์ จำกัด จำนวน 40% และบมจ.ทรีนิตี้ วัฒนา 20%
หลังจากที่กลุ่มซีพี และบมจ.ทรีนิตี้ฯ เข้ามาถือหุ้นใน KTAM แล้ว นโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของ KTAM คือ การขยายธุรกิจไปยังประเทศจีนมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นทั้งการตั้งกองทุนในจีนเอง หรืออาจทำธุรกิจด้วยการหาพันธมิตรเข้ามาทำธุรกิจด้วย แต่ธนาคารไม่มีนโยบายที่จะนำเข้า KTAM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แน่นอน
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ KTAM กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจที่จะไปลงทุน ในจีนขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด และต้องมีการหารือร่วมกับเครือซีพี และบมจ.ทรีนิตี้ ก่อนว่าจะไปลงทุนในลักษณะใด ซึ่งคาดว่าแผนดังกล่าวจะเห็นไปรูปธรรมชัดเจนได้ภายในเดือนกันยายนนี้
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า ธนาคารได้มีการบันทึก ความเข้าใจการร่วมลงทุนใน BDB ที่เป็นธนาคารในจีน ระหว่าง KTB บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ซึ่งธนาคารจะเข้าไปลงทุนในธนาคาร BDB ในจำนวนไม่เกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 12.55% ของทุนจดทะเบียน ส่วนเรื่องราคาซื้อขายจะมีการตกลงกันในภายหลัง โดยทาง BDB เองมีแผนที่จะเพิ่มทุนจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขอใบอนุญาตทำธุรกรรมเงินสกุลท้องถิ่นกับบริษัทท้องถิ่นที่จดทะเบียนในประเทศจีน ซึ่งคาดว่า BDB จะสามารถทำธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่นได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้
อย่างไรก็ตาม ธนาคาร BDB เป็นธนาคารที่ก่อตั้งโดยกลุ่มซีพี กับ M-THAI GROUP ปัจจุบันกลุ่มซีพี ถือหุ้นอยู่ในธนาคารนี้ประมาณ 58% ส่วน M-THAI GROUP ถือหุ้นประมาณ 20% DEG เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร KFW ของประเทศเยอรมนีถือหุ้นอยู่ประมาณ 15% และธนาคารกสิกรไทยถือหุ้นอยู่ประมาณ 7% ซึ่งหาก BDB มีการเพิ่มทุนอีกจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้สัดส่วน การถือหุ้นลดลง
"ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาที่ธนาคารกรุงไทยจะเข้าไปถือใน BDB จะเป็นหุ้นใหม่ทั้งจำนวน หรือส่วนหนึ่งจะเป็นหุ้นเดิมกับหุ้นเพิ่มทุนใหม่" นายวิโรจน์ กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มีการบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางธุรกิจกับ บมจ.ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อเป็นพันธมิตรและสร้างโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการใช้เครือข่ายสาขาของกันและกันเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ โดยในระยะแรกธนาคารจะติดตั้งเครื่องทำธุรกรรมอัตโนมัติ ทั้งเครื่องฝากเงิน เครื่องเอทีเอ็ม และเครื่องปรับสมุดเงินฝากอัตโนมัติ อีกทั้งอาจให้เซเว่นฯ สามารถเปิดสาขาภายในพื้นที่ของธนาคารด้วย
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภักณฑ์ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในยุคทศวรรษ ที่ 21 จะต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรง และผู้ประกอบการไม่สามารถจะอยู่ได้โดยลำพัง แต่จำเป็น ต้องมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งและเชี่ยวชาญในทุกด้าน โดยเครือซีพี มีความชำนาญในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายย่อย แต่ไม่ชำนาญด้านการเงิน ดังนั้นจึงร่วม เป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงไทยที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการเงิน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เครือซีพีขายหุ้น BDB ให้กับธนาคารกรุงไทยแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของซีพีใน BDB จะอยู่ที่ร้อยละ 58 และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารดังกล่าวต่อไป
|
|
|
|
|