Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
ว่าด้วยเรื่องกำลังการผลิตของสยามยิปซัมแห่งเครือซิเมนต์ไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ สยามอุตสาหกรรมยิปซัม

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ขจรเดช แสงสุพรรณ
Cement
สยามอุตสาหกรรมยิปซัม, บจก.




ในยามที่รุ่งเรืองบริษัทอุตสาหกรรมขนาดยักษ์อย่างเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งมีบริษัทลูก หลาน เหลน มากมายอันจะเกื้อหนุนกันได้แบบครบวงจรแห่งนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วราวติดปีก มีการลงทุนขนาดใหญ่ครั้งละหลายพันหลายหมื่นล้านมาให้ตื่นเต้นกันอยู่เสมอ ทั้งการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ แต่ในยามที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเช่นทุกวันนี้ เครือซิเมนต์ไทยก็ได้รับบทเรียนราคาแพงไม่แพ้ค่ายอื่นๆ

การขาดทุนทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ หากเครือซิเมนต์ไทยสามารถต่อรองขอยืดอายุการชำระหนี้ออกไป เพื่อรอให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยลำดับ ที่ขาดทุนนับหมื่นล้านบาท ก็อาจจะเพียงแค่หลักพันล้านหรือร้อยล้านเท่านั้น

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องยากยิ่งนักที่จะแก้ไข หยุดยั้ง หรือบรรเทา ก็คือการขยายการลงทุนมากเกินไป ซึ่งมิใช่แต่ลำพังบริษัทแม่อย่างปูนซิเมนต์ไทยเท่านั้น บริษัทลูกในไส้ ลูกนอกไส้ หลานนอก หลานใน แม้กระทั่งเหลนก็ดูเหมือนจะไม่แตกต่างกันนัก

บริษัทสยามอุตสาหกรรมยิปซัม ดูจะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องของกำลังการผลิตที่ขยายกันจนเหลือเฟือ ถึง 80 ล้านตารางเมตรต่อปี สำหรับ 3 โรงงาน คือที่นวนคร 20 ล้านตารางเมตร สระบุรี 40 ล้านตารางเมตร และโรงงานใหม่ล่าสุดเพิ่งเปิดดำเนินการที่หาดใหญ่ จ.สงขลา อีก 20 ล้านตารางเมตร

แต่เชื่อหรือไม่ว่าสยามยิปซัมใช้กำลังการผลิตจริงเพียง 26 ล้านตารางเมตรต่อปีเท่านั้น!!! ต่อให้ไม่นับรวมที่สงขลาเพราะเพิ่งอยู่ในระยะทดลองเดินเครื่องจักร การใช้กำลังการผลิตจริงก็ยังต่ำกว่าที่สามารถผลิตได้กว่าเท่าตัว อย่างนี้ใครจะไปทนไหว

ขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการผู้จัดการสยามยิปซัม ขวัญใจสื่อมวลชน กล่าวยอมรับอย่างตรงไปตรงมาตามสไตล์ ว่า "กำลังการผลิตที่เหมาะสม ควรจะเดินเครื่องประมาณ 65% ขึ้นไป" แต่ ณ วันนี้ โรงงานที่สระบุรีใช้กำลังการผลิต 65% โดยผลิตเพื่อขายภายในประเทศ โรงงานที่นวนครเดินเครื่อง 40% เน้นการผลิตเพื่อส่งออก เพราะสะดวกในการขนส่งไปท่าเรือทั้งที่คลองเตยและมาบตาพุด ส่วนโรงงานเปิดใหม่ที่สงขลาเพิ่งใช้กำลังการผลิตเพียง 5-6% เท่านั้น คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถเดินเครื่องได้ประมาณ 50% ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตเพื่อส่งออก 70% และขายภายในประเทศอีก 30%

เหตุผลที่การใช้กำลังการผลิตต่ำมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทำให้คาดกันว่า ยอดขายแผ่นยิปซัมภายในประเทศจะตกลงไปประมาณ 30% จากปีก่อนปริมาณขายรวมทั้งตลาดอยู่ที่ 40 ล้านตารางเมตร ปีนี้จะเหลือเพียง 28 ล้านตารางเมตร โดยสยามยิปซัมมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ 60% หรือคิดเป็น 18 ล้านตารางเมตร

ประกอบกับบริษัทมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายทางด้านสินค้าคงคลังลง โดยจะพยายามผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าเท่านั้น ไม่ให้มีสินค้าคลังเหลือมากมายอย่างในอดีต เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองในเรื่องของการดูแลรักษาสินค้าและพื้นที่เก็บรักษา ดังนั้นกำลังการผลิตจึงต้องลดลงไปด้วย

ส่วนในเรื่องการขยายกำลังการผลิตมากเกินไปนั้น คงไม่พ้นเรื่องของการคาดการณ์เศรษฐกิจผิดพลาดเหมือนกับบริษัทอื่นๆ ดังเช่นโรงงานที่สงขลานั้น กว่าบริษัทจะไหวตัวทันว่าเศรษฐกิจแย่แน่แล้วก็ประมาณปลายปี 2539 มีคำถามว่าทำไมถึงไม่ชะลอการลงทุน

"ตอบตรงๆ เลยนะ มันชะลอไม่ทัน" ขจรเดชกล่าวอย่างมองตากันก็เข้าใจ เพราะบรรดาสื่อมวลชนทั้งค่ายเล็กค่ายใหญ่ต่างก็ซึ้งใจดีกับคำว่าลงทุนเกินตัว คาดการณ์เศรษฐกิจผิดพลาดเนื่องจากเจอมากับบริษัท ตัวเองเหมือนกัน

"ตอนนั้นโรงงานก็สร้างเสร็จไปครึ่งโรงแล้ว เครื่องจักร เครื่องมือ อะไรทุกอย่างก็ซื้อมาแล้ว มันก็ต้องเดินหน้า อีกอย่างเราก็ยังเห็นโอกาสที่จะทำตลาดอยู่บ้าง เพราะโรงงานที่นั่นจะใช้เป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออกไปมาเลเซียและสิงคโปร์ได้"

ในยามนี้การส่งออกของไทยจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา แย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งขันได้ ในปีนี้สยามยิปซัมคาดว่า ยอดขายรวมของบริษัทจะเพิ่มขึ้นจาก 1,300 ล้านบาทในปี 2540 เป็น 1,400 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการส่งออกจาก 300 ล้านบาทในปีก่อน เป็น 400 ล้านบาทในปีนี้ ส่วนยอดขายภายในประเทศนั้น แม้ว่าปริมาณขายคาดว่าจะลดลงประมาณ 30% แต่บริษัทได้ปรับราคาขายเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเดือนมกราคม ทำให้ตัวเลขยอดขายในประเทศยังคงอยู่ในระดับ 1,000 ล้านบาทเท่ากับปีที่ผ่านมา

ขจรเดช ให้เหตุผลถึงการปรับราคาครั้งแรกในรอบ 8 ปีว่า "ต้นทุนของเราสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในเรื่องของเยื่อกระดาษ ซึ่งเป็นต้นทุนถึง 65% ส่วนหนึ่งเราซื้อจากบริษัทในเครือและอีกส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ในเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมาราคาเยื่อกระดาษเพิ่มขึ้นประมาณ 35%"

อย่างไรก็ตามบริษัทยังไม่มีนโยบายจะปรับราคาอีก เนื่องจากปัจจุบันซัปพลายล้นตลาดอยู่มาก และการแข่งขันค่อนข้างสูง สิ่งที่ขจรเดชย้ำอยู่ทุกลมหายใจในขณะนี้คือการมุ่งเน้นไปที่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งยังมีโอกาสอยู่มาก เนื่องจากมาเลเซียและสิงคโปร์ไม่มีแร่ยิปซัม ต้องซื้อแร่จากไทยทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ขณะที่สยามยิปซัมมีโรงงานอยู่ที่สงขลา ซึ่งสามารถผลิตและขนส่งไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ง่าย ดังนั้นใน 2 ประเทศนี้มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อีกมาก

ส่วนจีน สยามยิปซัมได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงงานที่เมืองเทียนจิน ซึ่งอยู่ติดชายทะเล เป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 35 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้ โรงงานดังกล่าวมีกำลังการผลิตปีละ 20 ล้านตารางเมตร โรงงานนี้จะใช้เป็นฐานในการเจาะตลาดที่เสฉวน เซี่ยงไฮ้ และมณฑลอื่นๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในส่วนของจีนตอนใต้อาจจะส่งออกจากโรงงานในไทยไป

ตลาดนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียนั้น สินค้าจากไทยจะได้เปรียบในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงตลาดฟิลิปปินส์ด้วย ขจรเดชตั้งเป้าว่า จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์จาก 15% เป็น 40% ในปีนี้

แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือตลาดอินโดนีเซีย สยามยิปซัมเข้าไปร่วมทุนกับวิงส์กรุ๊ปสร้างโรงงานขึ้นที่เมืองจาการ์ตาร์ โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 36.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิต 20 ล้านตารางเมตรต่อปี คาดว่าจะเสร็จในเร็วๆ นี้

"ที่นี่คงเหนื่อย เพราะมีคู่แข่งอีก 4 รายที่สร้างโรงงานใหม่ และกำลังจะเสร็จพร้อมๆ กับเราการแข่งขันจะรุนแรงมาก เราได้ทำการตลาดอย่างจริงจังมาก่อนหน้านี้แล้ว และมีการจับมือกับกลุ่มบริษัทชั้นนำของอินโดนีเซีย ทำให้ได้เปรียบในเรื่องของการกระจายสินค้า" ขจรเดชกล่าว

นอกจากนี้สยามยิปซัมยังมีการส่งออกไปยังตะวันออกกลาง พม่า และเวียดนามด้วย ตลาดเหล่านี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้

ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมายอดขายในส่วนของการส่งออกเข้าเป้าทุกเดือน คงต้องลุ้นกันต่อไปว่าอีก 8 เดือนที่เหลือจะเป็นเช่นไร เพราะเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ความได้เปรียบในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็ลดลง ขจรเดชมั่นใจว่าถ้าไม่แข็งเกิน 35 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐแล้วล่ะก็ ไม่น่าจะมีปัญหา

สำหรับตลาดในประเทศ ขจรเดชหวังรุกต่างจังหวัดมากขึ้น โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ระบบผนังภายใน ควิกวอลล์ (Quik wall) ซึ่งเป็นระบบแห้ง กันเสียง กันความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สยามยิปซัมได้ทำการอบรมช่างติดตั้งแผ่นยิปซัม ปีหนึ่งประมาณ 50 ครั้ง เพื่อรองรับการขยายตลาดด้านนี้

นอกจากนี้ยังได้ผลิตปูนฉาบตราพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นปูนสำหรับงานฉาบรอยต่อแผ่นยิปซัม มีคุณสมบัติ ฉาบลื่น ขัดง่าย ไม่แตกร้าว และสะดวกในการใช้งาน ปูนฉาบตราพระอาทิตย์นี้จะเน้นที่ราคาประหยัด เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่าง

นโยบายของสยามยิปซัมในวันฟ้าไม่ค่อยสวยเช่นนี้ ขจรเดชเน้นที่ปริมาณการขายเป็นหลัก ราคาถูกไม่เป็นไร ขอให้ขายได้มากเข้าไว้ เพราะตอนนี้กำลังการผลิตเหลือกินเหลือใช้จริงๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us