Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
มรสุมหนักยังรออยู่อีกหลายลูก             
 





ขณะที่สถานการณ์ด้านการเงินทรุดตัวหนักลงอีกในช่วงเดือนที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไหลรูดลงเรื่อยๆ อีก ผลประกอบการของบริษัทไฟแนนซ์ที่เหลืออยู่ ยิ่งสะท้อนความยากลำบากในการประคองตัวให้อยู่รอดได้ ในท่ามกลางมรสุมหนักที่กระหน่ำอยู่เช่นนี้

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานบทวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัทไฟแนนซ์ 16 แห่งที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า กำไรสุทธิของ 16 บริษัทดังกล่าวตกลงอย่างแรงถึงร้อยละ 450.40 (เทียบกับงวด 9 เดือนแรกของปีที่ลดลงร้อยละ 95.87)

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะพิจารณาผลประกอบการด้านใดก็ตาม ล้วนแต่ประสบปัญหาถดถอยอย่างรุนแรงทั้งสิ้น

- อัตราการขยายตัวของเงินกู้ยืมติดลบ 10.83% (ภาพรวมทั้งระบบ) สาเหตุเพราะประชาชนลดความนิยมในการฝากเงินกับบริษัทเงินทุนลงอย่างชัดเจน วิกฤตศรัทธาที่ประชาชนมีต่อบริษัทเงินทุน ได้ก่อให้เกิดกระแสการไหลออกอย่างหนักและต่อเนื่องของเม็ดเงินฝาก ไปสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงกว่า

- เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ธุรกิจเงินทุนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.62 เมื่อเทียบกับปี 2540 ซึ่งก็เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง และการปล่อยกู้ที่ต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวัง

- ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ลดลง ทั้งเหตุจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ วิกฤตในภาคสถาบันการเงิน ความไร้เสถียรภาพของค่าเงิน ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ของ 12 บงล.ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯลดลงร้อยละ 65.86 เทียบกับปีก่อนหน้า

- ดอกเบี้ยค้างรับ เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว จากยอด 6.48 พันล้านบาทในสิ้นปี 2539 มามีมูลค่าเท่ากับ 14.72 พันล้านบาทในสิ้นปี 2540

- ยอดกันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากสิ้นปี 2539 ที่มีมูลค่าเพียง 6.61 พันล้านบาท มาเป็น 36.32 พันล้านบาท ทั้งนี้เพราะเกิดสภาพลูกหนี้ที่มีปัญหาจำนวนมากในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ บวกกับการประกาศเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันสำรอง ซึ่งมีความเข้มงวดขึ้น

- รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล ยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ ร้อยละ 7.57 เทียบกับสิ้นปี 2539 ทั้งนี้เหตุมาจากการทรงตัวอยู่ในระดับสูงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ในช่วงปี 2540 ที่ผ่านมา

- รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในสิ้นปี 2540 ได้ทรุดตัวลงอย่างหนัก จากที่เคยมีรายได้ 6.45 พันล้านบาทในสิ้นปี 2539 มาเป็นรายได้ติดลบ 3.80 พันล้านบาทในสิ้นปี 2540

- ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงิน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.56 แม้ว่าอัตราการขยายตัวของเงินกู้ยืมในปี 2540 จะลดลงอย่างมาก โดยติดลบร้อยละ 10.83 แต่ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมกลับวิ่งสวนทาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสภาพคล่องในระบบการเงินมีปัญหามาก และภาวะเงินตึงก็ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมาในปีนี้ด้วย ต้นทุนในการกู้ยืมเงินยังสูงมากแม้ปริมาณเงินกู้ยืมจะลดน้อยลง

- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีอัตราลดลง แต่ไม่มากนัก คือเพียงร้อยละ 1.75 เท่านั้น แม้บริษัทจะควบคุมเรื่องต้นทุนด้วยการปรับลดพนักงาน แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจ่ายชดเชยอยู่

- กำไรสุทธิ มีการปรับตัวลดลงจากปี 2539 ถึงร้อยละ 450.40 โดยมีผลขาดทุนสุทธิรวม 33.06 พันล้านบาท จากที่เคยมีกำไรสุทธิรวมในปี 2539 จำนวน 9.44 พันล้านบาท ตัวเลขผลขาดทุนนี้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า สาเหตุมีหลายประการคือ ผลกระทบจากการสั่งปิดดำเนินการชั่วคราวของทางการ ที่ทำให้บริษัทล้วนต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนสภาพคล่องและต้นทุนของเงินที่แพงขึ้น ภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อและการถดถอยในคุณภาพหนี้ ความผันผวนของค่าเงินในประเทศซึ่งทำให้เกิดผลการขาดทุนจากการปริวรรตเงินตรา รวมทั้งภาวะซบเซาต่อเนื่องของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนโดยแสดงตัวเลขขาดทุนอย่างหนัก และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเร่งกันสำรองมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ (การปรับหลักเกณฑ์ดอกเบี้ยค้างรับจาก 12 เดือนเป็น 6 เดือน) และการกันสำรองใหม่ของทางการในส่วนของหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานในสัดส่วน 20%

นี่คือภาพของผลกระทบจากมรสุมทางเศรษฐกิจลูกแรกๆ ที่กระหน่ำสถาบันการเงินไทย กว่าที่บริษัทเหล่านี้จะฟื้นคืนฐานะขึ้นมาได้นั้น คงต้องใช้เวลาอีกนาน และในระหว่างนั้น ยังไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดสูญหายไปอีกบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us