Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2541
กฎเหล็กไอเอ็มเอฟ สัญญาแปรรูปที่ต้องเร่งทำ             
 

   
related stories

แปรรูปจำปีสนอง IMF เรื่องมันยาก?




มีการระบุว่ารัฐบาลไทยได้เขียนหนังสือแจ้งความจำนง ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งเป็นข้อผูกมัดที่รัฐบาลไทยต้องปฏิบัติตามฉบับที่ 1 ลงวันที่ 15 กันยายน 2540

ข้อ 7. ระบุว่าเป้าหมายในระยะปานกลางด้านอื่น ได้แก่

- การปฏิรูประบบราชการ
- เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในโครงการที่เกี่ยวกับการขนส่งและพลังงานในลักษณะ BOT (Build-Operate-Transfer Arrangements)
- โครงการร่วมทุนและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในสาขาพลังงาน การขนส่ง และโทรคมนาคม

นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2541 ประเทศไทยมีแผนจะดำเนินการแปรรูปสายการบินแห่งชาติ และเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในสาขาไฟฟ้า โทรคมนาคมและก๊าซ โดยจะมีการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ รวมไปถึงกฎหมายร่วมทุน (corporatization law) การดำเนินการในส่วนนี้จะต้องมีการแยกบัญชี และไม่นำไปรวมกับการบริหารงบประมาณปกติ และการดำเนินการในส่วนนี้จะดำเนินการภายใต้การปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ IMF อย่างใกล้ชิด

ข้อ 18 ทางการยังคงยืนยันที่จะดำเนินนโยบาย ในการปรับปรุงฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกัน กับเป้าหมายเกินดุลภาครัฐบาลร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศในปีงบประมาณ 2541 และรักษาระดับการเกินดุลดังกล่าวให้คงอยู่ในระยะปานกลาง โดยจะมีการควบคุมการใช้จ่ายเงินทุนและมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ตลอดจนเน้นการลงทุนในโครงการพื้นฐานที่สำคัญ รวมทั้งโครงการอื่นๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญอาจพึ่งพาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ แต่ฐานะรวมทั้งหมดของภาครัฐวิสาหกิจจะต้องสมดุล โดยการตัดลดการลงทุนที่มีความสำคัญน้อย เน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางอย่าง ซึ่งรวมถึงโครงการทางด่วน โครงการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้การพิจารณาทบทวนโครงการการลงทุนของภาครัฐ จะมีการร่วมหารือกับธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ฐานะรวมของรัฐวิสาหกิจสมดุล จะต้องมีการปรับค่าบริการของรัฐวิสาหกิจและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้สะท้อนถึงต้นทุนของการให้บริการอย่างที่จริง รวมถึงต้นทุนที่ลงทุนใหม่และลงทุนทดแทน ในขณะที่ราคาน้ำมันและต้นทุนด้านพลังงานได้มีการปรับไปแล้ว เพื่อชดเชยผลกระทบจากการปรับค่าเงินบาท อย่างไรก็ตามอัตราค่าบริการของรถประจำทางที่ไม่ปรับอากาศและค่าโดยสารรถไฟธรรมดา ยังอาจจะอยู่ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเป็นการชั่วคราว โดยได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล


ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540

ข้อ 17 ระบุว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเป้าหมายหลัก เป้าหมายหนึ่งในระยะปานกลางของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทางการได้ดำเนินการร่างแผนงานเบื้องต้นในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในสาขาพลังงาน สาธารณูปโภค การสื่อสารและการขนส่ง คาดว่าจะมีการประกาศแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในสาขาเหล่านี้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2541 รัฐวิสาหกิจที่ได้ดำเนินการแปรรูปเป็นบริษัทจำกัดแล้ว แต่รัฐบาลยังถือหุ้นใหญ่อยู่ จะถูกแปรรูปก่อนรัฐวิสาหกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางการจะลดสัดส่วนการถือหุ้นในสายการบินแห่งชาติ (ปัจจุบันร้อยละ 90) และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (ปัจจุบันร้อยละ 80) ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในกลางปี 2541 ถ้าภาวะตลาดเอื้ออำนวย ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเสนอให้รัฐสภา พิจารณากฎหมายที่จำเป็นในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่มีการแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด ภายในเดือนมิถุนายน 2541


ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541

ข้อที่ 10 ระบุว่า สำหรับกองทุนฟื้นฟูฯ ทางการตระหนักดีว่า จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ให้อยู่ในรูปพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาว ที่รัฐบาลค้ำประกันและอัตราดอกเบี้ยต่ำ และจะต้องรวมภาระดอกเบี้ยจากการปฏิรูปสถาบันการเงิน (รวมทั้งเงินให้กู้ยืมและการถือหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้รับภาระ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งธนาคารรัตนสิน และ บบส.) ไว้ในงบประมาณของรัฐบาล เพื่อให้เกิดความโปร่งใส โดยจะเริ่มรวมภาระดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ ไว้ในงบประมาณปี 2541/42 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถชำระค่าดอกเบี้ยทั้งหมด (สุทธิจากการชำระคืน) โดยใช้เงินจากงบประมาณได้ภายในปี 2543 ส่วนการชำระคืนต้นเงินกู้นั้น คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us