Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547
กระโดดขึ้นรถรางที่ San Francisco             
โดย มานิตา เข็มทอง
 





กระโดดขึ้นรถรางที่ San Francisco พร้อมฮัมเพลง The Trolley ที่ขับร้องโดย Judy Garland ในยุค 40's

"Clang, clang, clang went the trolley
Ding, ding, ding went the bell
Zing, zing, zing went my heartstrings as we started for Huntington Dell.
Chug, chug, chug went the motor
Bump, bump, bump went the brake
Thump, thump, thump went my heartstrings as we glided for Huntington Lake.
The day was bright, the air was sweet
The smell of honeysuckle charmed me off my feet
I tried to sing, but couldn't squeak
In fact I felt so good I couldn't even speak
Buzz, buzz, buzz went the buzzer
Time to all disembark,
Time to fall went my heartstrings as we got off at Huntington Park
As we got off at Huntington Park..."

หากมีโอกาสได้มาเที่ยว San Francisco แล้วไม่ได้ไปต่อแถวขึ้นรถรางเคเบิล ก็ถือว่ายังมาไม่ถึง San Francisco แม้ว่าจะต้องใช้ความอดทนในการรอ แต่เป็นการรอที่คุ้มค่า น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน ด้วยค่าโดยสารตลอดสายเพียง 3 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ก่อนกระโดดขึ้นใช้บริการรถรางแห่งเดียวในโลกนี้ ขอแนะนำให้วางแผนการเดินทางให้แน่นอนว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ใด โดยสามารถเข้าไปเช็กตารางการเดินทางได้ที่ www.transitinfo.org จากนั้นก็ถึงเวลาลุย...ขอบอกว่า ที่ที่ดีที่สุดเห็นวิวทิวทัศน์ชัดเจนก็คือที่นั่ง สองข้างด้านหน้าคนขับ...ต้องเรียกว่าคนโยกเบรกถึงจะถูก เพราะรถรางนี้ขับเคลื่อนด้วยแรงดึงของสายเคเบิล และใช้คนดึงคันเบรก ซึ่งต้องเป็นคนที่แข็งแรงและได้รับการฝึกมาอย่างดี เพราะต้องขับเคลื่อนขึ้นเนินลงเนิน ที่สูงชัน สำหรับคนที่ชอบความตื่นเต้นเร้าใจ อาจจะห้อยโหนเหมือนอยู่ท้ายรถสองแถวบ้านเราก็ได้ แต่ไม่แนะนำสาวๆ ที่มีสะโพกบาดใจ เพราะอาจถูกรถยนต์อื่นเฉี่ยวชนได้ เนื่องจากเส้นทางเดินรถเคเบิลนี้ ใช้ร่วม กับรถยนต์ประเภทอื่นทั้งสองฝั่ง...และอย่าลืมกระโดดลงที่หัวมุมถนน Mason กับ Washington St. เพื่อแวะ ชมพิพิธภัณฑ์ Cable Car Barn & Power House เริ่มสนุกแล้วซิ ถึงเวลาอาหารสมอง...Ding, ding, ding went the bell...

รถรางขับเคลื่อนด้วยสายเคเบิลแห่งเมือง San Francisco นี้ถือเป็นรถรางสายแรกในโลกที่ประดิษฐ์และคิดค้นโดย Andrew Smith Hallidie พ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามาตั้งรกรากขุดทองอยู่ใน California ตั้งแต่ปี ค.ศ.1852 Mr.Hallidie ล้มลุกคลุกคลานกับการขุดทองอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี ก็เริ่มมองหาช่องทางอื่น ด้วยความสามารถทางด้านวิศวกรรมเครื่องจักรเครื่องกล เขาก็เริ่มประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทุนแรง ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายหินออกจากเหมืองทองโดยใช้สายเคเบิล (Wire-Rope) ธุรกิจไปได้ดี เขาก็คิดปักหลักอยู่ใน San Francisco โดยก่อตั้ง บริษัท A.S. Hallidie & Co., ขึ้นในปี ค.ศ.1857 จากนั้นเขาก็เริ่มต้นธุรกิจสร้างสะพานเคเบิล "Suspension Bridge" ซึ่งการ สร้างสะพานเป็นงานหนัก ต้อง ออกไปใช้แรงงาน และต้องเดิน ทางห่างบ้านเป็นเวลานาน เขาจึงตัดสินใจเลิกธุรกิจสร้างสะพาน คงไว้แต่ธุรกิจผลิตและ จำหน่ายสายเคเบิลเท่านั้น แต่กระนั้นเขาก็ยังสร้างเงินจากการสร้างสะพานเคเบิล โดยในปี ค.ศ.1867 เขาได้จดสิทธิบัตรการคิดค้นสะพานเคเบิล "Suspension Bridge Invention" และสิทธิบัตร "The Hallidie Ropeway (Tramway)" เพื่อใช้ในการเคลื่อน ย้ายหินออกจากเหมือง ฉะนั้นใครก็ตามที่จะสร้างสะพาน ลักษณะนี้หรือจะใช้อุปกรณ์เคเบิลในเหมืองจะต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรก่อน... อย่างนี้เรียกว่า "คิดใหญ่ คิดไกล" ของจริง

ต่อมาในปี ค.ศ.1871 เขาได้คิดค้นสร้างรถรางที่ใช้สายเคเบิลใต้ดินในการขับเคลื่อนขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเขาได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะที่รถม้าบรรทุกคนและสิ่งของขึ้นลงตามถนนที่เป็นเนินสูงชันใน San Francisco จากนั้นเขาก็พยายามติดต่อเพื่อนฝูงที่พอมีเงินทุนให้หยิบยืม หรือมาร่วมลงทุนด้วยในโครงการใหญ่นี้ โดยสร้างสายแรกที่สี่แยกถนน Clay และถนน Keary ไปสู่จุดที่สูงที่สุดของถนน ซึ่งกินระยะทางประมาณ 2,800 ฟีต และบนความชันประมาณ 307 ฟีต ความคิดของเขาในโครงการถูกเยาะเย้ยถากถางจากบรรดาวิศวกรตามตำราว่า ไม่มีวันประสบความสำเร็จ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ หนาหูขึ้น กลุ่มผู้ร่วมลงทุนเริ่มขาดความมั่นใจ อยากจะถอนเงินคืน เขาได้พยายามขอร้อง และยอมรับสัญญา ว่า จะทำให้สำเร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1873... และแล้วหัวเราะทีหลังย่อมดังกว่า...

เขาและทีมงานทำสำเร็จในคืนวันที่ 31 กรกฎาคม เช้าตรู่ของวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1873 รถรางสายแรกของ San Francisco ก็เริ่มทดลองใช้และจากนั้นอีก 1 เดือนก็เริ่มให้บริการแก่สาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีอายุร่วม 131 ปี โดยระงับการบริการไปชั่วคราวหลังจากแผ่นดิน ไหวครั้งใหญ่ของ San Francisco ในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งเป็น 6 ปีหลังจาก Mr.Hallidie เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 65 ปี แผ่นดินไหวในครั้งนั้นสร้างความเสียหายแก่รางรถและสายเคเบิลใต้ดินเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1947 ทางการต้องการยกเลิกการบริการรถรางอย่างถาวร แต่เป็นความโชคดีของคนรุ่นหลังที่ได้ Mr.Friedel Klussman ช่วยรณรงค์รักษารถรางเคเบิลไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์แก่คนรุ่นใหม่ ที่นับวันจะไม่เห็นคุณค่าของโบราณ... Clang, clang, clang went the trolley...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us