|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
 |

Plus Minus Zero เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ใหม่ซิงๆ ที่ทำให้วงการสั่นสะเทือน หลังจากเพิ่งเปิดตัวและเปิดห้างจำหน่ายของตนเองขึ้นที่ Nihonbashi ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนเมษายน 2004 จับจุดเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่ผงาดขึ้นมาแทรกช่องว่างในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างสง่างาม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่เบื่อหน่ายงานออกแบบเดิมๆ
ทันทีที่ได้สัมผัสผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Plus Minus Zero ผู้บริโภคจะได้สัมผัสถึงความสนุกสนานรวมทั้งความแปลกใหม่ ที่ทำให้หลุดพ้นจากความจำเจเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เพราะผลงานที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์อย่างน่าทึ่งนี้เป็นของ Keita Satoh และ Naoto Fukasawa สองหุ้นส่วนหัวเห็ดของบริษัท Takara ผู้ผลิตเครื่องเล่นของญี่ปุ่นที่ทำให้โลกตาค้างมาแล้วครั้งหนึ่ง จากการวางตลาด Bowlingual อุปกรณ์ที่สามารถแปลงเสียงเห่าของสุนัขเป็นภาษาญี่ปุ่น
Fukasawa เป็นที่รู้จักและยอมรับกันในญี่ปุ่นว่า เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับกระบี่มือหนึ่งของวงการคนหนึ่งเหมือนกัน ผลงานของเขามีเอกลักษณ์โดดเด่นที่แสดงถึงความมีรสนิยมและพลังดึงดูดในตัวเอง ขณะที่ Satoh มีอารมณ์ขันอยู่เป็นนิตย์ นอกจากกิจการบริษัท Takara แล้ว ทั้งคู่ยังซื้อบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามาครอบครอง เพราะต้องการขยายฐานตลาดเครื่องเล่นไปสู่ผลิตภัณฑ์ ที่สร้างความบันเทิงและอยู่ในชีวิตประจำวันของคนมากขึ้นนั่นเอง
จากการวางแนวคิดที่กลายเป็นนโยบายหลักว่า เน้นผลิตภัณฑ์ที่มีความเรียบง่าย สนุกสนาน และใหม่ซิงๆ เพื่อจับตลาดผู้บริโภคที่เบื่อหน่ายความจำเจ ผสมผสาน กับความบังเอิญที่ Satoh ได้ไอเดียจากแค็ตตาล็อก Without Thought ที่ Fukasawa จัดพิมพ์เพื่อใช้ในงานเวิร์คชอปประจำปีสำหรับนักออกแบบหน้าใหม่วัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะเครื่องเล่นซีดีติดผนังที่ Fukasawa ออกแบบให้ Muji นั้นจัดอยู่ในประเภท instant classic ที่ทำให้ Satoh บอกกับตัวเองว่า เขาได้พบนักออกแบบในฝันแล้ว จึงวางมือให้ Fukasawa กุมบังเหียนกิจการด้วยความสบายใจ
Fukasawa ยอมรับว่ามันเป็นโครงการในฝัน และสะท้อนแนวคิดของตัวเองว่า "ผมไม่พยายามทำให้งานที่ออกแบบมาแลดูเป็น 'งานออกแบบ' ผมมีแนวคิดเบื้องหลังโครงการ Without Thought ว่า เพื่อสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยที่คุณไม่ต้องนึกถึงเรื่องของการออกแบบอะไรให้ยุ่งยาก เอาแค่เพียงว่าในระหว่างการใช้งาน คุณสามารถสื่อสารกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ก็พอ"
จึงช่วยไม่ได้ที่แบรนด์ Plus Minus Zero ซึ่งออกแบบและผลิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่อยู่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของระบบบริษัท แถมไม่ต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันด้านการตลาดใดๆ จะเด่นเตะตาและต้องใจผู้บริโภคเป็นพิเศษ เพราะนอกจากความเรียบง่ายปราศจากเครื่องเครารกรุงรังแล้ว ยังมีสีสันสะดุดตาเอามากๆ "สำหรับงานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว เมื่อพิจารณาในแง่ของการใช้งาน มี features หลายอย่างที่ถือว่าไม่จำเป็นเอาเสียเลย เช่น ทำไมทีวีถึงต้องมีตู้มีโครงหนาเทอะทะ? เหตุผลก็คือเมื่อตั้งโชว์อยู่ในร้าน มันแลดูดีกว่า และสง่ากว่า แต่ในแง่ของการใช้งานแล้ว มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย" Fukasawa แสดงจุดยืนของตัวเอง
|
|
 |
|
|