Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547
เฟอร์นิเจอร์หินภูเขาไฟในห้องใต้หลังคากลางกรุงปารีส             
 





ในจินตนาการของใครต่อใครหลายคน ปารีสเป็นนครที่เต็มไปด้วยห้องใต้หลังคาเล็กๆ ตั้งอยู่ชั้นบนสุดของแฟลตซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่พำนักของนักเขียนยากจนและศิลปินไส้แห้งที่ต้องปากกัดตีนถีบไปวันๆ ...........นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนเมษายน 2004 เล่าว่า ในสภาพที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของปารีสกำลังร้อนเกินขนาดเช่นเวลานี้ มันกลับกลายเป็นว่าแม้แต่นายธนาคารผู้มั่งคั่งก็ยังมีความสุขและพึงพอใจกับการได้พำนักอยู่ที่ chamber de bonne บนถนน rue du Bac ซึ่งหาความทันสมัยอะไรไม่ได้เลย

ทั้งนี้ทั้งนั้นเห็นจะเป็นเพราะบทบาทของสถาปนิกท้องถิ่นอย่าง Joseph Dirand หนุ่มฉกรรจ์วัยเพียง 30 แต่สามารถผลักดันตัวเองจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบตกแต่งห้องใต้หลังคาของอพาร์ตเมนต์ยุคศตวรรษที่ 17 เสียใหม่ให้กลายเป็นที่พำนักร่วมสมัย ซึ่งนอกจากจะแลดูดีจนคาดไม่ถึง ยังแตกต่างโดยสิ้นเชิง จากแบบแปลนของ อพาร์ตเมนต์ระดับกลางที่อยู่ชั้นล่างๆ ลงไป ซึ่งมักตกแต่งให้แลดูน่ารักแบบพื้นๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น

ลูกค้าของ Dirand ซื้อ อพาร์ตเมนต์ชั้นบนสุด 10 ห้องรวมทั้งพื้นที่ของห้องใต้หลังคาที่อยู่เหนือขึ้นไป ทำให้กลายเป็นยูนิตที่มีความสูงเพิ่มขึ้น 2 เท่า Dirand จึงทุบพื้นระหว่างชั้นออก ทำให้ได้อพาร์ตเมนต์รูปสามเหลี่ยมทรงยาว แต่มีข้อเสียตรงภาพลวงตาที่ทำให้คิดว่าได้พื้นที่ว่างมาก เพราะจริงๆ แล้วกลับต้องเสียพื้นที่บริเวณริมห้อง ซึ่งเป็นส่วนลาดเอียงของหลังคาไปอย่างน่าเสียดาย

นอกจากนี้ Dirand ยังต้องแก้ปัญหาปล่องไฟที่เรียงเป็นแนวตามแบบแปลนเดิมคืออพาร์ตเมนต์ 10 ห้อง เมื่อทุบห้องออกหมดแล้ว แนวของปล่องไฟดังกล่าวจึงแบ่งพื้นที่รวมออกเป็นสองส่วน เขาจึงออกแบบให้มีทางเดินเหมือนแนวของกระดูกสันหลังที่เชื่อมห้องนั่งเล่นและห้องนอนเข้าด้วยกัน จากนั้นก็ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ระหว่างปล่องไฟด้วยการสร้างห้องน้ำเล็กๆ ขึ้นมาห้องหนึ่ง

Dirand ยังโชว์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการออกแบบชุดอุปกรณ์ในครัวและห้องน้ำจากหินลาวา (lava) สีเทาขนาดมหึมาที่พบบริเวณภูเขาไฟ โดยนำหินก้อนเดียวมาสกัดเป็นอ่างอาบน้ำและอ่างล้างมือ ที่แสดงถึงความเหนือชั้นทั้งในเชิงสถาปัตยกรรมและประโยชน์ใช้สอยได้อย่างน่าทึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us