|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
พลันที่หอศิลป์ตาดู ย่านอาร์ซีเอปิดตัวลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 โดยปล่อยให้บ้านเก่ากลายเป็นแหล่งบันเทิงแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ได้สร้างคำถามให้สังคมไม่น้อย
ความตั้งใจของ วิทิต ลีนุตพงษ์ ผู้บริหารกลุ่มยนตรกิจ จำกัด เมื่อ 8 ปีที่แล้วคือ หวังจะเห็นหอศิลป์ตาดูบนอาคาร พาวิลเลียนวาย ย่านอาร์ซีเอ เป็นเวทีสาธารณะสำหรับศิลปินร่วมสมัยทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ได้แสดงออกถึงความคิดและผลงานศิลปะของตนเอง มีส่วนกระตุ้นให้คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนให้รักและสร้างสรรค์งานศิลปะมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งนัดพบและเสวนาของบรรดาผู้รักงานศิลป์ทั้งหลาย
วิถีการเสพงานศิลปะของนักธุรกิจผู้นี้มีความน่าสนใจ และทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ช่วยสร้างให้ศิลปะได้งอกงามในวงกว้าง และหยั่งรากลึกได้ระดับหนึ่ง
งานนิทรรศการ "เปิดบ้านใหม่" ของหอศิลป์ตาดู เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือสิ่งที่ตอกย้ำว่า ผู้บริหาร กลุ่มยนตรกิจยังคงมีการจรรโลงงานศิลป์ของไทยต่อไปแน่นอน
หอศิลป์แห่งใหม่ของตาดู อยู่บนชั้น 7 ของอาคารบาเซโลนา มอเตอร์ บนถนนเทียนร่วมมิตร โดยมีอภิศักดิ์ สนจด เป็นผู้อำนวยการหอศิลป์คนใหม่ เขามาพร้อมกับวิธีคิดใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม
"อย่างแรกเลยเราคงต้องทำให้หอศิลป์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สถานศึกษารอบๆ บริเวณนี้ คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องพยายามสื่อเข้าไปให้ถึง ปฎิทินงานศิลป์แต่ละงานครูศิลปะต้องรับรู้ เพื่อที่จะได้พานักเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมกับศิลปินโดยตรง หรือเมื่อเลิกเรียนแล้วเขาสามารถแวะเวียนเข้ามาดูงานได้เลย"
ในขณะเดียวกันอภิศักดิ์ต้องทำความเข้าใจเรื่องการบริหาร งานวัฒนธรรม และต้องพูดคุยรูปแบบการจัดงานกับศิลปินให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ติดตั้งภาพ เชิญผู้ใหญ่มาเปิดงาน หลังจากนั้นใครจะซื้อภาพไปหอศิลป์ก็หักเปอร์เซ็นต์อย่างที่ตกลงไว้
งาน "Women short stories" ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะภาพพิมพ์และหนังสือศิลปะร่วมสมัยของวิทมน นิวัติชัย และยุวนา ปุณวัฒนวิทย์ ที่ผ่านไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยมีการจัดเวิร์กชอปร่วมกับคนดู อีกด้วย โดยแบ่งออกเป็นสองรอบ คือรอบของผู้ใหญ่ และรอบของเด็ก
งานเวิร์คชอปครั้งนั้นได้มีการกางโต๊ะกันกลางห้องศิลป โดยศิลปินได้จัดกิจกรรมต่างๆ มาร่วมให้ความรู้กับคนดูอย่างสนุกสนาน
งานละคร งานภาพยนตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดูคนใหม่หมายมั่นว่า จะต้องจัดให้มีเพื่อดึงกลุ่มคนดูที่หลากหลายให้เข้ามาเพิ่มขึ้นและวันนี้ ละครเกี่ยวกับฆาตกรรมของนิกร แซ่ตั้ง กำลังรอจังหวะจัดแสดงที่นี่ พร้อมๆกับการเร่งหาสปอนเซอร์
การคิดค้นรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายของวัฒนธรรม ให้ผสมผสานไปกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด เห็นจะเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้บ้านใหม่ของตาดู แข็งแรงมั่นคงเป็นที่พึ่งของศิลปินไปได้อีกนาน
|
|
|
|
|