|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
 |

การปรากฏตัวของสถาปัตยกรรมกลางทุ่งริมถนนหลังนั้น สามารถดึงดูดสายตาของผู้คนได้ในทันที เป็นความสวยงามที่ดูอบอุ่นและสงบนิ่ง อย่างชาวตะวันออก แต่แฝงการเชื้อเชิญอยู่ในที
"ผมไม่เคยเข้าใจอะไรเกี่ยวกับขนมเปี๊ยะเลยการที่ผมตัดสินใจรับงานออกแบบงานนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเรื่องเงินค่าออกแบบ นั้นอาจไม่คุ้มที่จะทุ่มเทนั้น เป็นเพราะผมสัมผัสความภาคภูมิใจอันเต็มล้นของครอบครัวทำขนมนี้ ตั้งแต่วันแรกที่ได้คุยกัน โดยเฉพาะจากเด็ก 2 คนที่ทำให้ผมทึ่งมาก
ผมอยากให้อาคารหลังนี้สื่อสารกับผู้คนที่ยืนต่อหน้ามัน กล่าวคำทักทายเป็นภาษาจีนที่เป็นมิตร เล่าถึงความภาคภูมิใจ และความเป็นมาของครอบครัวหนึ่ง และขนมเปี๊ยะของพวกเขา ซึ่งมีตำนานข้ามน้ำข้ามทะเลและดำเนินกิจการมา 3 ชั่วอายุคน"
ชาตรี ลดาลลิตสกุล แห่งบริษัทสถาปนิกต้นศิลป์ พูดถึงสาเหตุในการรับงาน และแนวความคิดในการออกแบบ พลังในการสร้างสรรค์ผลงานของเขา ทำให้ร้านขายขนมเปี๊ยะ "ตั้งเซ่งจั้ว" ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม ประเภท อาคารรวมกิจกรรมพาณิชยกรรมดีเด่น เมื่อปี 2547
ไม่บ่อยครั้งนักหรอกที่คณะกรรมการสมาคมจะลงมาให้ความสนใจกับงานร้านขนมเล็กๆ อย่างนี้ คงเป็นเพราะความหมดจด และสามารถสื่อให้เห็นวิธีคิดอย่างชัดเจนนั่นเอง ทำให้งานชิ้นนี้โดดเด่นขึ้นมา
จุดแวะพักของผู้ผ่านทางที่ดูอบอุ่นและเป็นกันเองนี้ เป็นกลุ่มอาคารขนาดเล็กตั้งอยู่ในเนื้อที่ 4 ไร่ มีโรงดื่มน้ำชา กาแฟเล็กๆ ไว้บริการ ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แต่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจีน แลดูคล้ายศาลเจ้าที่แปลกตา
ในส่วนของร้านหลักที่ขายขนมและของที่ระลึกนั้นตกแต่งด้วยความเป็นจีน และประวัติศาสตร์ของร้าน ลูกหลานคนหนึ่งของครอบครัวผู้ซึ่งรับผิดชอบงานตกแต่งภายในได้จำลองร้านเก่า ที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของญาติพี่น้องทั้งหมด และถูกไฟไหม้ไป มาสร้างบรรยากาศให้งานตกแต่ง มีเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น
"ถ้าเคยแวะบางคล้า จะมีร้านขนมเปี๊ยะ เล็กๆ เป็นอาคารไม้ตั้งอยู่หลังซุ้มต้นไม้ เจ้าของร้านต้อนรับผู้มาเยือนด้วยตนเอง ทางร้านมักเลี้ยงน้ำชาชั้นดีกับคนแปลกหน้า บางครั้งเปิดเพลงจีนให้ฟัง คุณชอบเขาจะก๊อบปี้เทปม้วนนั้นมอบกลับให้คุณไปฟังที่บ้าน
ผมกังวลใจเสมอว่า ที่ร้านใหม่ จิตวิญญาณนี้จะหายไป ผมพยายามตั้งใจให้ความสำคัญเรื่องสัดส่วนของอาคาร ด้วยเกรงว่าอาคารที่สูงใหญ่ ทำให้ดูมีพิธีรีตองแย่งชิงความรู้สึกที่ใกล้ชิดและความเป็นกันเองนี้ไป"
การเลือกใช้วัสดุที่ไม่หรูหรามากนัก และงานก่ออิฐฉาบปูนแบบชาวบ้าน จึงได้ถูกดึงมาใช้ แต่ในขณะเดียวกันงานระบบน้ำ ระบบไฟ ของร้านเล็กๆ นี้ จะทันสมัยที่สุด
เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่บันทึกความทรงจำอันมีความสุข และความภาคภูมิใจของสถาปนิกเช่นกัน
|
|
 |
|
|