|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียวกับการที่คนคนหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จในงาน creative และใช้ชีวิตทำงานอยู่ในเอเยนซี่โฆษณามาถึง 14 ปี อยู่ดีๆ กลับกระโดดข้ามห้วยมาอยู่ในบริษัทไฟแนนซ์
หากดูจาก profile ของกาญจน์ ขจรบุญ แล้วเขาดูไม่เหมือนคนที่เตรียมตัว เพื่อเข้ามาทำงานอยู่ในบริษัทที่ทำธุรกิจ ด้านการเงิน
ที่สำคัญตำแหน่งหน้าที่การงานในอดีตของกาญจน์ก็มิใช่คนที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตรงกันข้าม เขาได้ก้าวขึ้นถึงจุดสุดยอดของวิชาชีพ ด้วยการเป็นผู้บริหาร ระดับสูงของเอเยนซี่อันดับ 1 ในเมืองไทย ด้วยวัยที่เพิ่งผ่านเข้ามาในหลักเลข 4 เพียง ไม่นานนัก
ก่อนที่เขาจะเข้ามารับตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุง ไทย (KTC) กาญจน์ ขจรบุญ ดำรงตำแหน่ง Senior Vice President-Group Client Service Director บริษัทเจ วอลเตอร์ ทอมป์สัน (JWT) เอเยนซี่โฆษณาที่มียอดบิลลิ่งสูงที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน
การย้ายงานของกาญจน์ถือได้ว่าเป็นการกระโดดข้ามวงการ ชนิดที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งนัก
ถ้าจะมีที่คล้ายคลึงกันก็คือกรณีของ กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง รองประธานและกรรมการอำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล บริษัทยูนิ ลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้งส์ เพื่อมารับตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อต้นปี 2546
"ผมต้องการให้รุ่นน้องได้มีโอกาสเติบโต เพราะถ้าผมยังอยู่ ผมก็ยังค้ำเขาไว้หมด" เป็นเหตุผลหนึ่งของการตัดสินใจลาออกจาก JWT ที่เขาบอกกับ "ผู้จัดการ"
กาญจน์เป็นคนที่มีใจรักงานด้าน Marketing เขาเรียนหนังสือในระดับประถมจนถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และจบมัธยมปลายที่โรงเรียนบดินทร์เดชา จบปริญญาตรี บริหารธุรกิจด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) และจบปริญญาโท MBA จาก United States International University สหรัฐอเมริกา
เริ่มงานครั้งแรกหลังจากจบปริญญา โทกลับมาเมื่อปี 2529 ที่บริษัทแมค (ไทย) เจ้าของแฟรนไชส์ "แมคโดนัลด์" ร้านอาหารฟาสต์ฟูดชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาโดยเขาทำงานอยู่ที่นี่ได้ 11 เดือน ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ
"แมคโดนัลด์เป็นองค์กรที่ดีแต่ที่นี่เป็นองค์กรที่ใช้ operation lead ไม่ใช่ marketing lead ผมใช้เวลาไม่นานก็เรียนรู้งานด้าน operation ได้หมด จึงคิด เปลี่ยนงาน เพราะไม่งั้นขืนอยู่ต่อไป ผมก็ต้องเรียนรู้จนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแฮมเบอร์เกอร์"
กาญจน์ออกจากแมคโดนัลด์ เพื่อไปเป็น Account Executive บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ โดยเขาทำงานอยู่ที่นี่ประมาณปีครึ่ง และเปลี่ยนงานอีก 2-3 ครั้ง ก่อนจะไปรับตำแหน่ง Group Account Director ที่ JWT ในปี 2532 ซึ่งที่นี่เป็นสถานที่ทำงานที่เขาใช้ชีวิตอยู่นานที่สุดถึง 14 ปีเต็ม
ใน JWT กาญจน์มีผลงานในการทำโฆษณาให้กับบริษัทเชลล์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องถึงกว่า 10 ปี รวมถึงการ อยู่เบื้องหลังในการสร้าง brand ของ Orange และ Hutch ซึ่งเป็นงานที่มีสีสันมาก เมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว
มองจากภาพภายนอกชีวิตของกาญจน์ใน JWT น่าจะเป็นคนที่มีความสุขกับการเก็บเกี่ยวความสำเร็จจากผลงาน ที่เขาและทีมงานได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้น แต่หากมองเข้าไปภายในแล้ว อาจมิได้เป็นเช่นนั้น
เมื่อ 2 ปีก่อนกาญจน์เคยเกิดความ ไม่เข้าใจเมื่อเห็น Marc V.Capra ซึ่งเป็นหัวหน้าที่เขาให้ความเคารพนับถือมากที่สุด ได้ขอเกษียณตัวเองก่อนกำหนดจากตำแหน่ง Regional Chairman Southeast Asia ของ JWT ทั้งๆ ที่อายุยังไม่ถึงวาระที่ต้องเกษียณ
เมื่อกาญจน์ได้ไปถาม Capra เขาตอบว่า "คนเราต้อง leave เพื่อให้คนอื่นเขาโต ถ้าเราอยู่ เราจะค้ำเขาหมด"
จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว เขาจึงเริ่มเข้าใจความรู้สึกนี้
"ทุกๆ ปีผมจะพักร้อน ตอนกลับมา มันจะมีงานเยอะแยะเต็มไปหมด แต่ตอนหลังๆ งานมันน้อยลง แต่ไม่ใช่งานเข้ามาน้อยลง แต่คนอื่นเอาไปทำแทนหมดเลยคือ เขา handle มันได้หมดแล้ว ถ้าเราอยู่ เราก็ค้ำเขาไว้ มันเป็นเรื่องจริง ถ้าผมออกคนอื่นจะได้มีโอกาสโตขึ้นมา ผมก็เริ่มเข้าใจ ใน situation นี้ ซึ่งถ้าผมเป็นคนที่อีก 3 ปี จะเกษียณก็ไม่เป็นไร แต่นี่มันคนอายุ 40 ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน ถ้าอยู่นานไปก็เป็น dead wood"
ด้วยการที่ JWT ตั้งอยู่ในอาคาร UBC 2 ซึ่งเป็นอาคารเดียวกับสำนักงานใหญ่ของ KTC ทำให้กาญจน์ได้มีโอกาสเห็นบรรยากาศภายในสำนักงานของ KTC และเกิดความประทับใจกับแนวทางการสร้าง brand KTC ภายใต้การนำของนิวัตต์ จิตตาลาน
"ผมมาขอคุณนิวัตต์บอกว่าอยากมาทำงานด้วย"
กาญจน์เริ่มงานในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สาย Corporate Marketing ของ KTC เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 โดยมีสายงานที่เขาต้องรับผิดชอบ 4 ด้านหลักด้วยกัน คืองานประชาสัมพันธ์, Marketing Communication, Channel Communication และ New Product Development แต่บทบาทที่สำคัญที่สุด คือการร่วมวางกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าให้กับ brand ของ KTC
"คุณค่าของ brand มันไม่สามารถสร้างได้ด้วยการพูด เหมือนอย่างสโลแกนของ KTC ที่บอกว่า simple fun modern simplicity professional ทุกคนท่องได้ แต่ จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้สึกเช่นนั้นได้เหมือนกันด้วย"
เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กาญจน์ได้ว่าจ้างบริษัทวิจัยเอกชน ให้ทำ Brand Tracking Study เพื่อต้องการทราบปฏิกิริยา ของสาธารณะที่มีต่อ brand ของ KTC ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นงานใหญ่ชิ้นแรกของเขา การทำ study ครั้งนี้จะมีการสรุปผลเบื้องต้นประมาณเดือนกันยายน โดยข้อมูลที่ได้รับ จะถูกนำไปใช้ในการวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับ brand KTC ในอันดับต่อไป
ภาพลักษณ์ของ KTC ภายใต้การ วางกลยุทธ์ branding ของกาญจน์ ขจรบุญ ซึ่งผันตัวเองจากเอเยนซี่มาทำงานในบริษัท การเงินที่ได้เคยประกาศตัวเองก่อนหน้านี้ว่าจะเป็น Marketing Firm ที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นสินค้าน่าจะมีสีสันมากยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|