|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
ธุรกิจจัดการกองทุน ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหลักทรัพย์ ที่ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทมากที่สุด ผู้นำองค์กรเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งอุตสาหกรรมเป็นเพศหญิง รวมทั้งคนระดับรองๆ ลงมาด้วย
แม้ว่าเรื่องเพศมิใช่เป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในธุรกิจ แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตเหมือนกันว่าในจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีอยู่ 15 บริษัท มีไม่ต่ำกว่า 5 บริษัท หรือเกือบครึ่งหนึ่งของ อุตสาหกรรมที่มีผู้นำตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการลงมาเป็นเพศหญิง
"ผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ใช่ factor มันอยู่ที่คนมากกว่า" ณัฐรา อิสรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.พรีมาเวสท์ บอกกับ "ผู้จัดการ"
ณัฐราถือเป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทไม่น้อยในธุรกิจจัดการกองทุนรวม ซึ่งเธอได้เข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาตั้งแต่ เรียนจบระดับปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2533 หรือกว่า 14 ปีก่อน
"ผู้หญิงกับผู้ชายอาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ เราไม่คิดว่าผู้ชายจะ ag-gressive กว่าผู้หญิง ผู้หญิงที่มีสไตล์ ag-gressive หรือผู้ชายที่มีสไตล์ไม่ aggressive ก็มี เพราะฉะนั้นสไตล์ของเขาก็ต้อง match กับตัวเขา กับสิ่งที่เขาดู เช่น ผู้ชายบางคน เขาจะขอทำแต่กองทุนตราสารหนี้ เพราะเขาไม่ comfortable กับการขึ้นลงของหุ้น ที่มันมี factor อะไรเยอะแยะ บางทีเขาเห็น ว่ามัน nonsense เพราะเห็นว่า sentiment แค่นี้ ทำไมหุ้นต้องขึ้นต้องลง เขาไม่ชอบ เขาขอดูภาพ macro หรือตราสารหนี้ดีกว่า ก็จะเป็นตราสารหนี้ตลอด หรือบางคนก็จะดูหุ้นตลอด เพราะคนที่ดูหุ้นก็จะรู้สึกว่าตราสารหนี้นั้น yield ขยับแค่ 1-2 point ทำไมถึงกรี๊ดกร๊าดกันเหลือเกิน ของหุ้นนี่ขยับ 10% ยังไม่กรี๊ดเลย" เธออธิบายเหตุผล
คำว่า aggressive ในความหมายของณัฐราคือ สไตล์และความกล้าในการตัดสินใจเลือกลงทุนของผู้จัดการกองทุน มากกว่าจะมีความหมายในเชิงพฤติกรรม
ณัฐราเพิ่งเข้ามาร่วมงานกับ บลจ. พรีมาเวสท์ได้ประมาณ 1 ปีเศษ คือหลังจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา แห่งที่ 2 เพิ่งจัดตั้งขึ้นได้ไม่นาน หน้าของเธอคือการสร้าง ทีมงานผู้จัดการกองทุน เพื่อดูแลเงินของผู้ถือหน่วยลงทุนให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันทีมผู้จัดการกองทุนของพรีมาเวสท์ นอกจากณัฐราซึ่งเป็นหัวหน้าทีมแล้ว ยังมีผู้จัดการกองทุนอีก 4 คน เป็นผู้หญิงกับผู้ชายอย่างละครึ่ง
(รายละเอียด บลจ.พรีมาเวสท์ โปรดอ่าน "Prima Vest ได้เวลาบุก" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนมกราคม 2547 หรือ www.gotomanager.com)
ณัฐราเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนมาแตร์ เดอี และไปจบ มัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เอ็นทรานซ์เข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2527 โดยเลือกเรียนเอกบัญชี
กับคนในวิชาชีพเดียวกันเธอเป็นเพื่อนเตรียมอุดมฯ รุ่นเดียวกับวนา พูลผล กรรมการผู้จัดการ บลจ.บีโอเอ และเป็นนิสิตจุฬาฯ รุ่นเดียวกับอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไทยพาณิชย์ เพียงแต่อดิศรเป็นนิสิตคณะวิศวฯ ขณะที่ณัฐราเรียนบัญชี แต่ทั้งคู่ก็รู้จักกันตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัย
หลังจบปริญญาตรี ณัฐราได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน ที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ นครแคนซัสซิตี้ สหรัฐอเมริกา โดยตั้งใจว่าหลังจากจบแล้ว จะกลับมาทำงานด้านบัญชี ในองค์กรธุรกิจภาคเอกชนในประเทศไทย
"ก่อนกลับได้มีโอกาสไปร่วมสัมมนา กับบริษัท asset management แห่งหนึ่ง ในอเมริกา ได้เห็นภาพว่าคนในธุรกิจนี้ที่เขาทำงานกัน ต้องหูตากว้างไกล เรียกว่ายิ่งเขาอยู่ที่อเมริกาแต่เขาลงทุนหลายประเทศ เขาก็ยิ่งมีความหลากหลายมาก เราจบใหม่ๆ เรียนทฤษฎีมา พอมาเห็นของ จริง ก็ตื่นเต้นที่เห็นเขาต้องมีข้อมูลมาวิเคราะห์ตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เลยรู้สึกว่าธุรกิจแบบนี้ท้าทาย ก็เลยสนใจ" เธอเล่า ถึงจุดเปลี่ยนแปลงความตั้งใจในการทำงาน
ณัฐรากลับมาถึงเมืองไทยปี 2533 และได้เริ่มงานกับบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม (ปัจจุบันคือ บลจ.เอ็มเอฟซี) ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น
"เริ่มตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยพี่ๆในฝ่ายจัดเก็บข้อมูลการลงทุน สมัยนั้นยังไม่มีจอ trade ยังใช้เคาะกระดาน พี่เขา ให้นั่งฟังวิทยุ ฟังชื่อหุ้น แล้วจดราคา"
ตำแหน่งหน้าที่ของณัฐราใน บล. กองทุนรวมขยับขึ้นตามภาระรับผิดชอบในปี 2535 ได้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนปี 2537 ขึ้นเป็นผู้จัดการกองทุน และปี 2540 ได้เป็นผู้จัดการกองทุนอาวุโส ซึ่งเป็น ตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ บลจ. พรีมาเวสท์
แต่สิ่งสำคัญที่ณัฐราได้รับจากการทำงานใน บล.กองทุนรวม คือโอกาส เพราะ เหตุที่ช่วงเวลา 10 กว่าปีที่เธออยู่ที่นี่ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากการเปิดเสรีและมีประเภทของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเธอจะได้เป็น 1 ในทีมงานชุดแรกๆ ที่ต้องเข้าไปทำหน้าที่ศึกษา
ด้วยโอกาสที่เธอได้รับมาดังกล่าว ทำให้ณัฐราถือเป็นบุคลากรที่มีความรอบรู้ในธุรกิจจัดการกองทุนทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงได้เรียนรู้สไตล์การบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ ที่เธอได้มีส่วนเข้าไปช่วยทำงานด้วยในสมัยที่อยู่ใน บล.กองทุนรวม
จากความรอบรู้ดังกล่าว ทำให้เธอมีแนวคิดว่าการทำหน้าที่ผู้จัดการกองทุนให้ประสบผลสำเร็จ มิใช่เพียงแค่บริหารเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยให้ได้รับผลตอบ แทนตามเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่ผู้จัดการกองทุน ควรจะทำหน้าที่เสมือน Investment Planer ให้กับผู้ถือหน่วยด้วย โดยดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดเงินและตลาดทุน และสามารถให้คำแนะนำได้ว่าเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยขณะนั้นควรจะไปอยู่ในจุดใด
แต่กับสไตล์การจัดการกองทุนของตนเองนั้น ณัฐรามิได้ยอมรับโดยตรงว่า aggressive หรือไม่ เพียงแต่บอกว่าทุกกองทุนที่เธอเคยดูแล ล้วนแต่เป็นกองทุนที่ active และมีผลการดำเนินงานที่สามารถเอาชนะค่าเฉลี่ยของตลาดได้แทบทั้งหมด
|
|
|
|
|