Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547
ดร.ปิยะ ตัณฑวิเชียร "ผมทำงานสไตล์กดดัน"             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

Truehits Homepage

   
search resources

truehits
ปิยะ ตัณฑวิเชียร




อดีตนักเรียนทุนวัย 36 ปีผู้นี้เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการถือกำเนิดเว็บไซต์ "truehits"

เขาเป็นชาวราชบุรีโดยกำเนิดที่ใช้ชีวิตในวัยเด็ก จนกระทั่งจบมัธยมปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ สอบเอ็นทรานซ์ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา อิเล็กทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เริ่มงานแรกที่บริษัทอินเตอร์คอมไบน์ ในเครือสหพัฒนพิบูล ทำได้ปีเดียวย้ายมาเป็นวิศวกรระบบที่บริษัทไมโครเนติกส์ ออกแบบและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับตลาดหลักทรัพย์และสมาชิก สำหรับการซื้อขายออนไลน์ เป็นช่วงที่ทำให้เขาบ่มเพาะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เครือข่าย

"พอดีเพื่อนไปสอบชิงทุนที่ ก.พ. ก็เลยไปลองดู" ปรากฏว่าเขาสอบชิงทุนได้ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก วิทยาการสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยโตโฮกุมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น เน้นการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์

รูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเคยได้รับ ที่เน้นการฝึกฝน และทำงานจริงจัง เต็มไปด้วยความกดดันอย่างสูง ที่ได้สัมผัสตลอดช่วงเวลา 6 ปีของการเรียนที่ญี่ปุ่น ไม่เพียงแค่บ่มเพาะความรู้ด้านวิชาการ หากแต่ประสบการณ์ ที่ซึมซับมาได้ถูกแปรเป็นหลักคิดการบริหาร "คน" ที่เขายึดถือมาตลอด ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ทุกคนเก่งได้หากได้รับการฝึกฝนและผ่านความกดดันมาแล้วอย่างหนัก

"สมัยที่ผมเรียนอยู่ญี่ปุ่น ผมกลัวอาจารย์ยิ่งกว่ากลัวพ่อ กลัวเรียนไม่จบ" เขายกตัวอย่างประสบการณ์ในช่วงเรียนที่ญี่ปุ่น

"ถ้าพูดถึงความเก่งคนไทยไม่แพ้คนญี่ปุ่น แต่ที่ต่างกัน คือความมุ่งมั่น ขยัน กดดัน เรายังอ่อนกว่าเขามาก นักศึกษามหาวิทยาลัยปี 4 เวลาทำรายงาน เขาจะมีprofessor มานั่งฟัง ถ้างานไม่ดีเขาให้เวลา 1 วันไปแก้ใหม่ มันกดดันมาก เพราะต้องทำคนเดียว แต่พอจบปี 4 นักศึกษาของเขาก็ทำงานวิจัยได้แล้ว"

หลังเรียนจบ เขากลับมาทำงานใช้ทุนที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เน้นงานโครงการด้านเครือข่ายระบบ VPN และระบบสวิตชิ่ง ATM

จนกระทั่งมาบุกเบิกทำเว็บไซต์ truehits อยู่ในโครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและประมวลผลสถิติเยี่ยมชมเว็บไซต์ไทยในปี 2543 ร่วมกับทีมงานเพียงไม่กี่คน แต่ก็สามารถพัฒนาจนกลายเป็นที่นิยมในบรรดา web master ที่ใช้เป็นมาตรฐานวัดเรตติ้ง

เป็นผลงานของการสร้างทีมงานที่ไม่เน้น "จำนวน" แต่เน้น "ประสิทธิภาพ"

"คนเก่ง" ในมุมมองของเขาไม่จำเป็นต้องเก่งโดยกำเนิด แต่ต้องผ่านการฝึกฝนและกดดันอย่างหนัก

"ญี่ปุ่นเขาสอนเลยว่าคนฝึกกันได้เพราะคนที่จะมีไอเดียแบบไอน์สไตน์มีน้อย และเราไม่ต้องการคนแบบนั้น แต่เราต้องการคนที่ตั้งใจเรียนรู้"

สิ่งแรกที่เขาทำคือเริ่มจากทีมงาน เรียนรู้งานทุกอย่าง เป็นวิธีคิดที่ไม่ต่างไปจากเถ้าแก่คนจีน ที่ใช้ฝึกลูกหลานให้เรียนรู้ธุรกิจก่อนขึ้นมาคุมกิจการ

ขณะเดียวกันพนักงานเหล่านี้ ก็ต้องผ่านการฝึกฝน ภายใต้ภาวะของความกดดันและสร้างแรงกระตุ้น

"สไตล์ผมจะกดดันและสร้างแรงจูงใจ ผมไม่ได้กระตุ้นเป็นเดือน แต่กระตุ้นทุกวัน อย่าลืมว่าเราไม่ได้แข่งกันเอง แต่ต้องแข่งทั่วโลก และเราไม่ต้อง innovation อะไรไม่รู้ ต้องใช้งานได้จริง ต้องเป็นธุรกิจ"

ดร.ปิยะเป็นนักวิชาการไม่กี่คนที่เข้าใจเรื่องราวทางธุรกิจ เรื่องของกำไรขาดทุนอย่างเต็มเปี่ยม

"ได้มาโดยอัตโนมัติ อย่างการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าเถ้าแก่จะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล ถ้าให้เงินเดือนลูกจ้าง 10,000 บาท เขาต้องทำงานให้คุ้มเงินเดือน 3 เท่าเป็นอย่างต่ำ ไม่อย่างนั้นแล้วบริษัทอยู่ไม่ได้"

เขาจะยึดหลักการบริหารจัดการอย่างเข้มงวด เพื่อทีมงานเดินไปในทางเดียวกัน ชนิดที่ต้องไม่แตกแถว

"ผมไม่ได้สนใจเรื่องเทคนิคมาก แต่สนใจความเป็นคน มีกฎเกณฑ์ไม่เหมือนคนอื่น ผมพูดแล้วลูกน้องต้องทำ บางคนอาจว่าผมเผด็จการ ผมบอกเลยว่า ทุกมีสิทธิ์เสนอความเห็น แต่ผมเป็นคนตัดสินใจ และถ้าเขาไม่เห็นด้วย เขาก็ต้องทำ ก็เหมือนกับทหาร ทำไมคนธรรมดามาเดินอย่างทหาร ถึงทำไม่ได้ เพราะเขามีกฎ มีกติกา"

เขาเชื่อว่าความลำบากและแรงกดดันที่พนักงานได้รับจากการฝึกฝน จะเป็นบทเรียนชั้นดี และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พนักงานก้าวไปสู่ผลสำเร็จได้อย่างมั่นคง

"ผมต้องใช้ระบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเก่งมาจากไหน คุณต้องเชื่อผม ช่วงแรกคุณอาจลำบาก เพราะเขาจะรู้สึกกดดัน แต่ท้ายที่สุดแล้วเขาจะสบาย เวลานี้เขาไม่ต้องกลัวผมแล้ว เพราะเขาทำได้แล้ว ไม่มีผม ทุกคนก็สามารถทำงานต่อไปได้"

ทุกวันนี้เขาจะอยู่ในฐานะที่ปรึกษาให้กับทีมงานทั้ง 4 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 25 ปี ซึ่งแต่ละคนจะแยกความรับผิดชอบในการบริหารและร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์

"เรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ อย่างแอนตี้ไวรัสตัวใหม่ คนเขียนอายุ 18 ปี เพราะแค่ 5 ขวบก็เริ่มเล่นคอมพิวเตอร์กันแล้ว"

ไม่แปลกที่เขาเลือกเกษียณอายุในวัย 45 ปี สำหรับ นักวิจัยที่มีสไตล์และวิธีคิดในการบริหารจัดการ และสร้างเว็บไซต์ที่เว็บมาสเตอร์ส่วนใหญ่ต้องใช้บริการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us