|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
เป็นเพราะ "ความท้าทาย" ทำให้ประเสริฐ มนูพิบูลย์ ผันตัวเองจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-eleven มาที่ "เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ซึ่งเวลานั้นยังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก
ประเสริฐจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (อุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มงานแรกเป็นวิศวกรแผนกส่งเสริมการผลิต บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย ได้ขึ้นเป็นผู้จัดการแผนกส่งเสริมการผลิต รวมเป็นเวลา 6 ปี
จากนั้นจึงโยกมาเป็น "นักวิชาการ" ภายในศูนย์ส่งเสริมคุณภาพบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ถือเป็นการข้ามฟากจากวิศวกรมาดูด้านบริหารจัดการ รับผิดชอบนำระบบ Total Quality Management หรือ TQM มาประยุกต์เป็นรายแรกๆ ของไทยที่นำระบบ TQM มาใช้
ประเสริฐเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยอีกครั้ง คราวนี้เขาเลือกเรียน MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังเรียนจบก็ตัดสินใจลาออกมาร่วมงานกับ 7-eleven
"มาดูแลงานด้านพัฒนาธุรกิจของ 7-eleven มีหน้าที่พัฒนางานในร้าน ต้องปรับปรุงเรื่องการทำงานของเด็กในร้าน เอาระบบไอทีมาใช้จากที่ใช้ cash register เปลี่ยนมาใช้ระบบ P.O.S" ทำอยู่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจปีกว่าๆ โยกมาดูแลงานสาขา ทำให้เขามองเห็นภาพ 2 ด้านทั้งส่วนกลางและสาขา ก่อนจะย้ายมาร่วมงานในเคาน์เตอร์เซอร์วิส
การเข้ามาของประเสริฐในเวลานั้นนับเป็นช่วงที่ท้าทาย เพราะธุรกิจขาดทุน และอาจต้องปิดบริษัทหากสถานการณ์ทางธุรกิจไม่กระเตื้องขึ้น
"ธุรกิจยังใหม่มาก มีสาขา 50 สาขา มีบริการแค่ 10 บริการ คนใช้บริการวันละ 40 บิล ขาดทุนมาตลอด ทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด มันหนักหนาสาหัส หลายคนถามว่า อยู่ที่เดิมดีอยู่แล้ว ย้ายมาทำไม แต่สำหรับผมถือว่าเป็นเพราะความท้าทายที่ไม่มีใครมาทำ" ประเสริฐเล่า
ประเสริฐใช้เวลา 6 ปีเต็ม ยกเครื่ององค์กร ลดต้นทุน พลิกฟื้นธุรกิจจากขาดทุนเกือบต้องปิดกิจการ จนธุรกิจเริ่มมีกำไรในปี 2546
|
|
|
|
|