|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
คนที่ได้ไปเดินชมงานงาน Thaifex & Halfex 2004 หรืองานเทศกาลอาหารและเครื่องดื่ม 2547 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริม การส่งออกที่อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้ คงต้องตื่นตาตื่นใจกับบูธของบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ (Pacific Fish Processing : PFP) ที่ได้นำปูอัดที่อาจจะเรียกได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมาตั้งโชว์ และตัดแบ่งให้ผู้ชมได้ลองชิม
กลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็น 1 ในแผนงานเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคได้รู้จักกับตราสินค้า PFP ที่กำลังรุกเข้ามาในตลาดค้าปลีก ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งอย่างเต็มตัว
ในความเป็นจริง PFP ถือเป็นบริษัทของคนไทยรายแรกๆ ที่สามารถผลิตซูริมิ หรือที่คนไทยรู้จักกันคุ้นเคยกันในนาม "ปูอัด" โดยเริ่มผลิตได้ตั้งแต่ปี 2527
"ปี 2526 ญี่ปุ่นได้เข้ามาส่งเสริมให้คนไทยรู้จักการผลิตซูริมิ เพราะในประเทศเขาวัตถุดิบเริ่มขาดแคลน จึงต้องหาแหล่ง ผลิตใหม่ ผมเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ไปเรียนที่สิงคโปร์" ทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการ PFP เล่ากับ "ผู้จัดการ"
หลังจากเรียนจบกลับมาทวีจึงตั้งโรงงาน PFP ขึ้นที่จังหวัดสงขลา และเริ่มผลิตซูริมิส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น และจำหน่ายภายในประเทศ
"ถ้าเรายังจำได้ สมัยก่อนปูอัดถือเป็นอาหารญี่ปุ่นที่แพงมาก แต่พอเราเริ่มผลิตและนำออกมาขาย ราคาก็ลดลง และเริ่มหากินกันได้ง่ายขึ้น"
ความนิยมในการบริโภคปูอัด ขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลัง จาก PFP ตั้งโรงงาน ปูอัดได้กลายเป็นสินค้าที่มีอยู่ในเมนูของทุก ร้านอาหาร เนื่องจากความสะดวกในการบริโภค หรือแม้กระทั่งรถเข็นที่ขายอาหารประเภทลูกชิ้นปลาทอดที่ตระเวนขายตามหมู่บ้านต่างๆ ก็ต้องมีปูอัดเสียบไม้ไว้ขายให้กับลูกค้า
ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตปูอัดในเมืองไทยมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และ PFP ถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดปูอัดในประเทศไทยมากกว่า 50%
แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าอึดอัดอยู่ในใจของผู้บริหาร PFP พอสมควร เพราะน้อยคนนักที่จะรู้ว่าปูอัดที่เขารับประทานผลิตมาจากโรงงานของ PFP
แผนการสร้างแบรนด์ให้กับ PFP จึงต้องเริ่มต้นขึ้น โดยทวีได้ดึงศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน มือการตลาดที่ได้รับการยอมรับของวงการเข้ามาดำรงตำแหน่ง President ที่ดูแลทางด้านการตลาดโดยเฉพาะ
"ผมมาอยู่ที่ PFP ได้ 2 ปีกว่าแล้ว" ศาสตราจารย์เจริญบอก
การสร้างแบรนด์ PFP เริ่มทำอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ที่ติดตรา PFP วางขายในจุดขายต่างๆ ตั้งแต่ตลาดสด ร้านค้า ไปจนถึงโมเดิร์นเทรด
นอกจากปูอัดแล้ว PFP ยังขยายสายผลิตภัณฑ์ให้มีความ หลากหลายยิ่งขึ้น แต่ยังคงเน้นที่เป็นสินค้าอาหารทะเลแปรรูป เช่น ลูกชิ้น ซาลาเปา ลูกเต๋า และเต้าหู้ที่ทำจากเนื้อปลา ฯลฯ
เฉพาะตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปในปัจจุบัน PFP สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 80% โดยมีกำลังการผลิตรวม 1,200 ตันต่อเดือน ในจำนวนนี้เป็นปูอัด 720 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
ปีที่แล้ว PFP มีรายได้รวม 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ จากการขายในประเทศ 20% โดยส่วนใหญ่ 80% ของยอดขายมาจากการส่งออก ทวีได้ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของยอดขายในปีนี้ ให้เพิ่มขึ้นอีก 20% หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 570 ล้านบาท
ปูอัดแบรนด์ PFP น่าจะเริ่มมีคนรู้จักกันมากขึ้น
|
|
|
|
|