|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
|
การสร้างคนเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะด้านมากกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ
ปรัชญาในการสร้างคนจึงต้องแตกต่างออกไป
ในแต่ละปีพนักงานที่ Unocal รับ เข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรเคมี วิศวกร เครื่องกล หรือนักธรณีวิทยา จะต้องเข้าโปรแกรมที่เรียกว่า PED (Professional Employee Development) โดยจะต้องใช้ เวลาประมาณ 2 ปี เรียนรู้ฝ่ายต่างๆ ของ Unocal ตั้งแต่ production ปิโตรเลียม งานก่อสร้างแท่นขุดเจาะ และธรณีวิทยา ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ความรู้กว้างๆ และรู้จักคน ก่อนที่จะแยกไปประจำ แผนกตามที่ได้เรียนมา
แต่โปรแกรม PED สำหรับนักธรณี วิทยาจะมีลักษณะพิเศษออกไป
คือจะต้องไปเรียนรู้เรื่องการขุดการ เจาะที่ประเทศบรูไน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านั้น เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยที่ถ้าหากภาษาอังกฤษไม่ดีจะต้องเข้า course ภาษาอังกฤษที่ Australia เป็นระยะเวลา 3 เดือนก่อนไปบรูไน
ทั้งนี้เป็นไปโดยไม่ได้มีข้อผูกมัดใดๆ ในบางกรณีพนักงานที่ผ่านโปรแกรม PED ก็ไปเริ่มทำงานกับบริษัทอื่นทันที
เมื่อโปรแกรม PED สิ้นสุด และเริ่ม เข้าทำงานใน discipline ของตัวเอง โดยผู้มีพื้นฐานทางวิศวกรรมเคมีก็มักจะไปเป็น production engineer ส่วนผู้มีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลก็จะไปเป็น drilling engineer
อย่างไรก็ดี ระบบการสร้างคนก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีระบบ TCP (Technical Career Path) ทำหน้าที่เสมือน road map สำหรับพนักงานแต่ละคน
ระบบ TCP ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก ในปี 1990 เพื่อให้พนักงานรับรู้แนวทางของตนเองว่าตนเองจะไปถึงจุดใดในองค์กร โดยจะบอกว่าที่ระดับใดระดับหนึ่ง พนักงานควรจะมีคุณสมบัติหรือความสามารถในเรื่องใดบ้าง พร้อมบอกถึงเกณฑ์ที่จะใช้ในการพิจารณาเลื่อนระดับของพนักงาน
ระบบ TCP ที่ Unocal จะแบ่งเป็น 6 ขั้น โดยแต่ละขั้นจะมีฐานเงินเดือนและสวัสดิการที่แตกต่างกัน พนักงานทุกคนต้องเริ่มที่ขั้น 1 และไปที่ขั้น 2 และขั้น 3 ก่อนที่จะแยกสายไปทางสายผู้บริหาร (MCP) หรือสาย technical (TCP) ซึ่งมีอีก 3 ขั้น
ในสาย MCP ขั้น 4 คือ manager ขั้น 5 คือ director และขั้น 6 คือ vice president
ในส่วนของสาย technical ก็จะเป็น engineer ซึ่งข้อดีในสาย technical นั้นคือการ promote ขึ้นไปไม่มี limit ไม่มี quota ซึ่งหากอยู่ในขั้นสูงขึ้น ก็จะสามารถทำงาน รองรับ project ได้มากขึ้น
การพิจารณาเลื่อนขั้นทำไปอย่างมีระบบ โดยใช้เกณฑ์ในเรื่องของ Knowledge, Behavior และ Results เป็นตัววัด มีคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารนับ 10 คน เป็นผู้พิจารณา ในหนึ่งปีจะมีการพิจารณากันหนึ่งครั้ง มีการตรวจสอบเอกสาร มีการ discuss มีการ vote กัน
TCP มีข้อดีในเรื่องทำให้พนักงานตื่นตัวที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะส่งผลดีกับองค์กรในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีข้อดีในเรื่องของความโปร่งใสของตัวองค์กรเอง
นอกเหนือจาก TCP ซึ่งคอยบอกว่าพนักงานควรมีคุณสมบัติใดที่ระดับใดระดับหนึ่ง Unocal จะมีส่วนของ IDP (Individual Development Program) ไว้ทำหน้าที่ support พนักงานแต่ละคน
ทุกๆ ปี พนักงาน supervisor และ ฝ่าย IDP จะทำการพูดคุยกันว่าในปีนี้พนักงานคนนี้จะต้องบรรลุเรื่องใดบ้าง เช่น เรื่องของภาษา เรื่องของ communication skill เป็นต้น และจะส่งเรื่องให้ OD (Or-ganizational Development) เพื่อทำหน้าที่จัดหลักสูตรให้กับพนักงานคนนั้นๆ
อาจอยู่ในรูปของ on the job training, assignment หรือ project ที่คิดว่าสามารถเพิ่ม skill ในส่วนนั้นๆ
"engineer ที่นี่มักเรียน MBA เป็นปริญญาโทใบที่ 2 ซึ่งเวลาเขาไปเรียน มันจะช่วยพัฒนาในเรื่องของ human relationship skill เมื่อไปทำงานร่วมกับผู้มาจาก discipline อื่นๆ" บุญชัย โควะวิน ทวีวัฒน์ ผู้อำนวยการทีมบริหารแหล่งเอราวัณ บอก
เนื่องจาก Unocal Thailand ถือ ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและมีระบบพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ จึงเปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ที่ฝึกฝน บุคลากรที่จำเป็นในอุตสาหกรรม
หลายปีที่ผ่านมาพนักงานบางส่วนก็จะถูกบริษัทอื่นดึงตัวไปทำงานด้วย ทำให้ 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องรับนักศึกษาจบใหม่เข้า PED ประมาณ 20 กว่าคน ซึ่งขณะนี้เริ่มจบโปรแกรมและเข้ามาทดแทนพนักงานส่วนนั้นได้บ้าง
ปัจจุบัน Unocal Thailand มีพนักงานทั้งหมดราว 1,220 คน โดย 92% ของจำนวนดังกล่าวเป็นพนักงานคนไทย การปรับผังองค์กรล่าสุดเมื่อต้นปีมี Asset Manager ที่เป็นคนไทยมากขึ้น ส่วน business support จะมีเพียง finance ที่ยังมี director ที่เป็นต่างชาติ นอกนั้น director จะเป็นคนไทยทั้งหมด แต่ในส่วนของงานขุดสำรวจซึ่งต้องอาศัย technology ชั้นสูงยังคงเป็นต่างชาติอยู่
"ทั้งนี้ Unocal Thailand ไม่ได้มีนโยบาย nationalized ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและความเหมาะสมมากกว่า" ธาราบอก ซึ่งนับรวมถึงตำแหน่ง president ของเขาเองด้วย
จุดแข็งอย่างหนึ่งของ Unocal ในเรื่องพนักงาน คือมี turn over ต่ำ โดยเฉพาะ support group ที่หากเข้ามาแล้วจะอยู่นาน อายุงาน 10 ปี ถึง 20 ปี ถือเป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดข้อดีในเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องจะได้คนที่มีแต่แนวคิดเดิมๆ ต้องหาวิธีพัฒนาตรงจุดนี้อยู่ตลอดเวลา Unocal Thailand ยังคงความเป็นบริษัทอเมริกันที่เห็นความสำคัญในเรื่องความหลากหลายของพนักงาน ยังคงเก็บข้อดีในส่วนนั้นไว้ ยังคงส่งคน ไทยไปทำงานที่ต่างประเทศ และยังมีพนักงานจากเวียดนาม บังกลาเทศ อินโดนีเซีย เข้ามาทำงานกับ Unocal Thailand ซึ่งกระบวนการ transfer คนในลักษณะนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคน
|
|
|
|
|