|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2547
|
 |

การถ่ายโอนพนักงานของ GECF จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ถือเป็นวิถีหนึ่งที่ GECF ใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้
ทั้งในรูปขององค์กรเรียนรู้จากคนและคนเรียนรู้จากตัวองค์กร
เกษม เตชะวัฒนากร ถือเป็นหนึ่งตัวแทนคนไทยที่ GECF ให้โอกาส โดย ส่งให้ไปทำหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของ GECF ที่ฮ่องกง
เกษมเคยร่วมงานกับบริษัทบัตรเครดิตแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า 7 ปี ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ GECF (Thailand) เมื่อปี 2540 ในฐานะ Senior Manager ดูแลแผนกควบคุมคุณภาพ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทฯ มีพนักงานประมาณ 100 กว่าคน และมีเพียง 2 ธุรกิจ คือ สินเชื่อ First Choice และบัตร Central Card เรียกได้ว่าธุรกิจของ GECF เองยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่ม
ต่อมาเมื่อธุรกิจเริ่มพัฒนาเขาเป็นผู้นำระบบ Six Sigma เข้ามาใช้และเมื่อฐานลูกค้าที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงเข้าพัฒนาระบบ CRM หลังจากนั้นจึงได้พัฒนา personal loan ตัวอื่นๆ เช่น QuickCash ที่เริ่มให้บริการเมื่อปี 2542 ก่อนที่จะเข้ามาดูแลธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในฐานะกรรมการผู้จัดการ ในปี 2544 จนถึงสิ้นปี 2546 เป็นตำแหน่งสุดท้ายในไทย
"พอดีที่ฮ่องกงมีผลกระทบจากเศรษฐกิจ มีการพูดคุยกับคุณริด้า (presi-dent GECF Asia) คุณริด้าบอกว่ามี opportunity ที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ แต่ GECF ทำได้ไม่ดี สนใจที่จะรับ assignment นี้ไหม" เกษมเล่ากับ "ผู้จัดการ" ผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฮ่องกง ถึงที่มาที่ไปของการย้ายไปประจำที่ฮ่องกง
เดือนมกราคม 2547 เขาจึงเข้าร่วมโครงการ Short Term International Assignment เพื่อรักษาการตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำฮ่องกงเป็นระยะ เวลา 5 เดือน ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น president อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา
"ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการตั้งรับเนื่องจากฮ่องกงมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ GDP ไม่มีการเติบโต อัตราว่างงาน และอัตราล้มละลายอยู่ในระดับสูง แต่ปีนี้ trend เริ่มดีขึ้น GECF จะเริ่มทำการรุกตลาด" เขาบอกถึงภารกิจที่รอ อยู่ข้างหน้า
โดยรวมตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในฮ่องกง ถือว่ามีการพัฒนามากกว่าของ ไทย ทั้งเรื่องของจำนวนผู้เล่นที่มีมากกว่า 40 ราย ขนาดของตลาดที่มีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญ และ demographic ของกลุ่ม ลูกค้าซึ่งมีเงินเดือนเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 ถึง 10,000 เหรียญ (40,000-50,000 บาท)
นอกจากนี้ประเภทของสินเชื่อที่เปิด ให้บริการ ยังมีความแตกต่างไปจากของไทย ทั้งนี้เป็นไปตามระบบเศรษฐกิจที่แตกต่าง ที่ฮ่องกง GECF เปิดให้บริการสินเชื่อเพียง 3 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย และสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็น commercial vehicle หรือรถ taxi เนื่องจากฮ่องกงเป็นเมืองท่องเที่ยว
"กลยุทธ์ที่ใช้ต้องแตกต่างจากที่เมืองไทย การให้ของแถมอาจจะไม่ work ต้องแตกต่างอย่างมีหลักการ โดยอาศัยจุดแข็งที่มีอยู่ คือในเรื่องการบริหารความเสี่ยง" เกษมบอกถึงแนวทาง
ฮ่องกงมีข้อดีในเรื่องของ infrastruc-ture มีระบบ credit bureau ที่ดี เมื่อ เดือนเมษายนที่ผ่านมา GECF ได้ทำการ launch สินเชื่อที่สามารถอนุมัติทางโทรศัพท์ โดยลูกค้าไม่ต้องมาที่สาขา ลูกค้าเพียงบอก ข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ GECF ก็สามารถ ตรวจสอบกับ credit bureau และทำการ แจ้งผลอนุมัติทันที
GECF นับเป็นรายแรกในฮ่องกงที่นำเสนอบริการในรูปแบบนี้
เป็นเวลากว่า 5 เดือนที่เกษมเข้า ไปมีบทบาทสำคัญในฮ่องกง บัดนี้ถือว่าทุกอย่างกำลังไปได้ดี "ช่วงแรกที่มาถือว่ามี challenge นิดหน่อย เพราะเป็นคนไทย คนแรกที่มา ไม่ถึงกับมีการต่อต้าน แต่พนักงานก็ไม่ค่อยมั่นใจ" เกษมยอมรับ
แต่หลังจากประกาศผลประกอบการไตรมาสแรก เขาก็เริ่มได้รับการยอมรับ จากพนักงาน เพราะเป็นปีแรกที่มีการเติบโต มีผลกำไร
|
|
 |
|
|