Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2541
ซีวีดี เปิดแนวรบธุรกิจเพลงใช้เครือข่ายวิดีโอเป็นจุดสร้างซีวีดี มิวสิค             
 


   
search resources

ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์, บมจ.




เผด็จ หงส์ฟ้า ประธานกรรมการ บริษัทซีวีดี มิวสิค จำกัด เป็นผู้ที่มีบทบาทและรู้จักกันดีในฐานะผู้นำด้านธุรกิจวิดีโอมากว่า 15 ปี โดยเฉพาะวิดีโอลิขสิทธิ์ ซึ่งถือว่าเผด็จเป็นผู้หนึ่งที่ต่อสู้ให้วิดีโอลิขสิทธิ์เกิดขึ้นอย่างจริงจังในตลาดวิดีโอของไทย

มาคราวนี้เขากำลังจะสร้างบทบาทให้กับตนเองในวงการเพลง ด้วยการเปิดบริษัท ซีวีดี มิวสิค ขึ้น เพื่อเป็นบริษัทที่เป็นตัวกลางในการจำหน่ายเทปเพลงขึ้นอีกแขนงหนึ่งในกลุ่มบริษัทซีวีดี

ซีวีดี มิวสิค มีทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท ตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2540 จากคำแนะนำของเพื่อนชาวสิงคโปร์ของเผด็จ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น เพื่อเป็นบริษัทจัดจำหน่ายเทปและคอมแพ็คดิสก์ และทำให้ซีวีดีกรุ๊ปเป็นบริษัทที่ครบวงจรในด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จากที่มีทั้งธุรกิจล้างฟิล์มภาพยนตร์ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ในชื่อยูไนเต็ด อาร์ตติส และธุรกิจวิดีโออยู่แล้ว

โดยซีวีดี มิวสิค มีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเพลงเมืองไทยและต่างประเทศ ด้วยการเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับค่ายเทปชั้นนำอย่างเอ็มจีเอ, ออนป้า, และค่ายอื่นฯ

ความเชื่อมั่นในการที่จะเป็นผู้หนึ่งในฐานะผู้จัดจำหน่ายเทปเพลงชั้นนำในตลาดก็คือ การที่เขาได้ดึงมืออาชีพที่ประสบการณ์กว่า 10 ปี ในวงการเพลงจากค่ายเพลงต่างๆ มาร่วมงานกับเขา อาทิ ธนภัทร มัธยมจันทร์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าที่จะนำมาจำหน่าย, ประพฤทธิ์ หทัยรัตนา กรรมการผู้จัดการซีวีดี มิวสิค ซึ่งทำหน้าที่เจรจากับค่ายเพลงจากต่างประเทศ และวีรสิทธิ์ คุณวรานนท์ ดูแลด้านการตลาดและร้านค้า

เท่าที่ผ่านมาภายหลังจากเปิดดำเนินการถือว่า ซีวีดีกรุ๊ปประสบความสำเร็จด้วยดีกับการตั้งบริษัทซีวีดี มิวสิค เพราะเริ่มเป็นที่รู้จักของค่ายเพลงในการติดต่อเข้ามาให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเทปเพลง

ธนภัทร กล่าวว่า สำหรับความสำเร็จของซีวีดี ภายหลังจากที่เปิดตัวมาได้ประมาณ 1 ปีนั้น ยังพิสูจน์ได้จากการที่บริษัทสามารถมียอดขายเทปบางอัลบั้มสูงเป็น 100,000 ตลับ ในชุดโจและก้อง กับเพลงประกอบละครเรื่องสายรุ้ง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มียอดขายสูงมากสำหรับเทปเพลงทั่วไป และยอดขายเทปทำนายดวงชะตาของหมอหยอง ที่มียอดขายประมาณ 300,000 ตลับใน 2 เดือน จากยอดขายที่ขายได้ทั้งหมด 500,000 ตลับ

"ความมั่นคงทางธุรกิจและประสบการณ์ของกลุ่มซีวีดี เป็นตัวช่วยทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วในธุรกิจเพลงไทย แต่สำหรับตลาดเพลงต่างประเทศ เราก็พยายามเริ่มขยายออกไป ล่าสุดปลายปี 2540 ก็ได้มีการเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายเทปเพลงของค่าย MEGA RECORDS จากประเทศเดนมาร์ก ซึ่งการได้สิทธิ์การขายเทปเพลงของค่ายดังๆ จากต่างประเทศ ทำให้สามารถมีส่วนแบ่งธุรกิจเพลงโดยรวมได้มากขึ้น" ธนภัทรกล่าว

เผด็จเองก็ได้กล่าวถึงข้อได้เปรียบของซีวีดี มิวสิค ในการเข้าร่วมแชร์ตลาดธุรกิจเพลงด้วยว่า ซีวีดี มิวสิค มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการจัดจำหน่าย โดยใช้เป็นอีกแผนกหนึ่งที่เสริมเข้าไปในร้านขายและเช่าวิดีโอ ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ร้านที่จะเป็นช่องทางการจำหน่ายเทปของซีวีดี มิวสิค ได้แก่ ร้านที่ขายวิดีโอของเมเจอร์ ที่ซีวีดีเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์อยู่, ร้านค้าท้องถิ่นทั่วไป, ร้านโชว์ไทม์ของซีวีดี ซึ่งมีอยู่กว่า 30 สาขา เคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า, เชนสโตร์, ร้านค้าส่วนบุคคล และอื่นๆ เช่น ร้านหนังสือ, กิ๊ฟต์ชอป และร้านวิดีโอทั่วไป

"เรามีทีมที่จะไปเจาะตลาดทั้งกลุ่มยี่ปั๊วและซาปั๊ว ให้รับเทปเราไปขาย ให้เครดิต มีการส่งของ และเก็บเงินตรงเวลา เป็นการขายโดยตรงกับผู้จำหน่ายเทปประเภทค้าปลีก หรือเฉพาะร้านโชว์ไทม์ และร้านวิดีโอที่รับหนังของซีวีดี ก็จะมีส่วนหนึ่งที่จะวางจำหน่ายเทป ทำให้สินค้าที่เรารับมาสามารถกระจายได้กว้างขวาง ในขณะที่บางร้านถ้าต้องการเปิดเพลงโชว์ จัดซุ้มสินค้าต่างหาก จะต้องซื้อพื้นที่เป็นตารางเมตรแล้วคิดค่าเช่ากันเป็นเดือนๆ ไป"

ในฐานะบริษัทผู้จัดจำหน่ายเทปรายล่าสุด เผด็จกล่าวว่า บริษัทมีจุดยืนตรงที่จะวางตัวเป็นกลางให้มากที่สุด กับทุกค่ายเทปที่ทำสัญญาให้บริษัทเป็นผู้จำหน่าย โดยจะเป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงอย่างเดียว จะยังไม่มีการผลิตนักร้องหรือปั้นศิลปินขึ้นมาเอง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกค่าย เพื่อตัดปัญหาว่าโปรโมตเฉพาะเทปจากค่ายของตนเอง

ทั้งนี้ ธนภัทร ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ กล่าวว่า บริษัทเน้นที่การจัดจำหน่าย ดังนั้นการโฆษณาเทปจะเป็นหน้าที่ของแต่ละค่ายที่จะต้องทำกันเอง โดยบริษัทจะจัดซุ้มสำหรับโปรโมชั่นให้ตามเอาต์เลตต่างๆ แต่ถ้าเป็นเทปเพลงจากค่ายต่างประเทศที่บริษัทได้สิทธิ์มา บริษัทจะเป็นผู้ทำโฆษณาเอง

"เราจะมีหน้าที่เพียงให้คำปรึกษาว่า บริษัทไหนต้องการขายเทปนั้นๆ เท่าไร กี่หมื่นหรือกี่แสนตลับ แล้วก็แนะนำว่าควรจะใช้เงินในการโฆษณาเท่าไร หรือสินค้าที่มาให้ขาย เป็นสินค้าที่ต้องการทำเงินหรือทำชื่อเสียงเป็นหลัก ถ้าเป็นอย่างหลังก็ไม่จำเป็นต้องโฆษณามาก ถ้าเป็นอย่างแรกก็ต้องดูรายละเอียดกันมากทั้งระบบการอัดเสียงร้อง ดนตรี ฯลฯ ส่วนเพลงจากต่างประเทศ เราจะเน้นตลาดวัยรุ่นเป็นหลัก อย่างเทปเพลงจากค่าย MEGA RECORDS เราสามารถเลือกนำมาจำหน่ายได้เดือนละ 1 ชุด แต่ในช่วงแรกซึ่งเป็นช่วงทดลองตลาด เราตั้งใจว่าจะนำเข้ามาประมาณปีละ 6 อัลบั้ม ในขณะที่เพลงไทยจะมีออกใหม่อย่างน้อยเดือนละ 2-3 อัลบั้ม รวมกับของเก่าที่จะมีวางตลาดไปด้วยเรื่อยๆ ก็ประมาณ 15 อัลบั้ม" ธนภัทร กล่าว

สำหรับค่ายเพลงที่ซีวีดี มิวสิคได้รับจัดจำหน่ายให้ ได้แก่ ค่ายเมโทร ซึ่งมีเพลงไทยหลากหลาย ทั้งลูกทุ่ง, ลูกกรุง, เพลงเก่า, เพลงไทยเดิม ซึ่งมียอดขายเทป 20,000 ตลับและซีดี 7,500 แผ่น สำหรับ 5 อัลบั้มใน 1 เดือน

ค่ายฟิลฮาโมนิก ซึ่งมีแนวเพลงประเภทร็อก, ป๊อป, ป๊อป-ร็อก, เพลงฟังสบาย และอินสทรูเมนทอล มิวสิค มียอดขายเฉลี่ยสำหรับซีดี 2,000 แผ่นและ 20,000 ตลับสำหรับ 1 อัลบั้มต่อ 1 เดือน

ค่ายนิธิทัศน์ เป็นอีกค่ายที่มีสินค้าให้ซีวีดีมิวสิคจำหน่ายถึง 10 อัลบั้มต่อเดือน ด้วยยอดขาย 10,000 แผ่นและ 50,000 ตลับ สำหรับซีดีและเทปตามลำดับใน 1 เดือน มีตั้งแต่เพลงป๊อป, เพลงลูกทุ่ง และเพลงไทยในหลายๆ แนว

นอกจากนี้ยังมีค่ายเพลงอีกหลายแห่งทั้งใหญ่และเล็ก รวมประมาณ 16 ค่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่ายเล็กที่ซีวีดี มิวสิค รับเป็นผู้จำหน่ายเทปเพลงให้ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ รวมทั้งเหตุผลที่ว่า ค่ายเล็กๆ ส่วนใหญ่จะถูกปฏิเสธการรับจัดจำหน่ายมาจากค่ายใหญ่

โดยในปัจจุบันสำหรับเพลงไทย แน่นอนว่า ส่วนแบ่งส่วนใหญ่ตกอยู่กับค่ายเพลงที่รู้จักกันดีคือ อาร์เอส และแกรมมี่ ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณบริษัทละ 40% ส่วนที่เหลือ กระจายไปตามค่ายเล็กที่มีอยู่ และแน่นอนรวมทั้งซีวีดี มิวสิคเองด้วย

แม้วันนี้จุดยืนของซีวีดี มิวสิค จะมีเพียงแค่การเป็นตัวกลางในการจัดจำหน่ายเพลง แต่ในอนาคต เผด็จกล่าวว่า ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะหันมาเป็นผู้ผลิตเพลงเอง เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นและมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจเพลงมากพอ จากตัวเลขของธุรกิจเพลงไทยที่มีอยู่ถึง 2,500 ล้านบาทและเพลงต่างประเทศ 800 ล้านบาทต่อปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us