Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2541
กิติพงษ์ อุรพีพัฒนพงศ์ เบื้องหลังคณะทำงานแก้ไขกฎหมายล้มละลาย             
 


   
search resources

กิติพงศ์ อุรพีพัฒน์พงศ์




คณะกรรมการแก้ไขกฎหมายล้มละลายชุดที่มี มานิต วิทยาเต็ม เป็นประธานฯได้จบภาระกิจการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แน่นอนว่ากฎหมายนี้ยังมีข้อที่ต้องแก้ไขอยู่อีก เพราะเป็นกฎหมายเก่าที่มีอายุเกือบ 60 ปีแล้ว ย่อมไม่เหมาะสมกับสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ในการแก้ไขกฎหมายย่อมมีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จากหน่วยงานต่างๆ แต่ที่น่าสนใจคือมีที่ปรึกษาจากส่วนเอกชนเข้าร่วมด้วยคนหนึ่ง ชื่อ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จำกัด ซึ่งมีบทบาทที่น่าสนใจไม่น้อยในการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ เรื่องโดย ภัชราพร ช้างแก้ว

ฎหมายฉบับเดียวที่ออกมาแล้วต้องมีการแก้ไขถึง 5 ครั้ง 5 ครา จนป่านนี้ก็ยังไม่อาจนำมาใช้ได้ เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติฯ คือพ.ร.บ.กฎหมายล้มละลาย ปี 2483 ซึ่งมีการแก้ไขมาเป็นระยะๆ กระทั่งสามารถออกมาใช้แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ เพราะเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟมองว่ายังขาดอะไรไปอีกหลายส่วน จึงขอให้กระทรวง การคลังตั้งคณะทำงานฯ ขึ้นมา อย่างไรก็ดี หลังจากที่คณะทำงานซึ่งมีชื่อเต็มว่าคณะกรรมการแก้ไขกฎหมายล้มละลาย ดำเนินการแก้ไขข้อกฎหมายตามที่ไอเอ็มเอฟขอ กฎหมายฉบับแก้ไขนี้ก็ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่กว่าขั้นตอนการออกกฎหมายจะจบสิ้น คาดว่ากฎหมายฉบับนี้จะนำมาใช้ได้จริงก็คงเป็นช่วงปลายปี

คณะกรรมการแก้ไขกฎหมายล้มละลายมีอาจารย์ มานิต วิทยาเต็ม เป็นประธานฯ คณะกรรมการฯประกอบ ด้วย เกริก วณิกกุล ผู้อำนวยการฝ่าย กฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย, ไกรสร บารมีอวยชัย, วิศิษฐ์ วิศิษฐ์-สรอรรถ, มนัสวีร์ เปาอิมทร์ที่ปรึษา กฏหมาย ปรส., วสันต์ เทียนหอม ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย ก.ล.ต. นอก จากนี้ก็เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการ

อย่างไรก็ดี ในบรรดาผู้ที่เอ่ยนามข้างต้น ยังมีผู้ที่มีบทบาทสำคัญอีกท่านหนึ่ง ที่อยู่ในส่วนคณะกรรมการฯ นี้ด้วยในฐานะที่ปรึกษา ไม่ได้มี ชื่อเป็นกรรมการเพราะมาจากภาคเอกชน แต่เป็นบุคคลสำคัญที่ถูกระบุว่าจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คือ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จำกัด

ทั้งนี้ เบเคอร์ฯ ได้ให้ความช่วย เหลือแก่ทนายความของธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟมาโดยตลอดเมื่อต้อง การทราบข้อมูลเรื่องกฎหมายไทย ซึ่งในเวลานี้เป็นจังหวะที่มีการแก้ไขกฎหมายและการออกกฎหมายใหม่มากที่สุด เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเลยทีเดียว

กิติพงศ์กล่าวว่า "รัฐบาลไทยนั้น การแก้กฎหมายเป็นเรื่องที่ยากมาก หากไม่มีวิกฤตินี่ ไม่ยอมแก้กฎหมายหรอก คุณลองดูหากไม่มีเหตุการณ์บังคับแล้ว ไม่มีทางที่กฎหมายนี้จะผ่าน"

การแก้ไขกฎหมายล้มละลายในรอบนี้ กิติพงศ์ได้ให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมการฯ อย่างเต็มที่ ทั้งที่เขาเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น เขาถึงกับใช้พนักงานในออฟฟิศทำงานวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ในช่วงสงกรานต์เพื่อเร่งแก้ไขตามกรอบที่ธนาคารโลกแนะนำ ซึ่งตัวเขาเองก็มีส่วนพูดคุยให้ความเห็นกับเจ้าหน้าที่เหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เบเคอร์ฯ จึงได้รับการ แนะนำให้เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ ด้วย ซึ่งในที่สุดก็มีตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาเท่านั้น

การแก้กฎหมายล้มละลายในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 หลังจากที่แก้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2523 แล้วใช้เวลาอีก 10 กว่าปี ส่วนที่มีการแก้อีก 2 ครั้งระหว่างนั้น ไม่มีสาระสำคัญอะไรเป็น การแก้เรื่องจำนวนเงิน

สำหรับการแก้ไขครั้งนี้ สาระสำคัญที่แก้กันนั้นมีประมาณ 7 ประเด็น ที่ใหญ่ๆ มีอยู่ 5 เรื่องดังนี้

- เรื่องแรกเป็นการแก้เรื่องการ แบ่งกลุ่มเจ้าหนี้ ในการที่จะอนุมัติการ ฟื้นฟูกิจการซึ่งตามกฎหมายปัจจุบัน บริษัทต้องใช้มติพิเศษ ครั้งแรกตั้งผู้ทำแผน หากได้เสียงข้างมาก ก็โอเค แต่ถ้าลูกหนี้เสนอ ต้องเอาลูกหนี้ก่อน แต่ถ้าเจ้าหนี้ 2 ใน 3 ไม่ตกลง ก็ต้องเอาของเจ้าหนี้ คือหากเอาเสียง 2 ใน 3 ได้ก็แทบจะควบคุมบริษัทได้แล้ว ก็ให้ทำแผนเสนอมา ภายใน 5 เดือน ทำแผนเสร็จ ตอนอนุมัติแผน ก็ต้องได้รับคะแนนเสียง เรียกว่า มติพิเศษ คือนับจำนวนคนหรือ head count บวกกับจำนวนหนี้ที่เข้าประชุม ต้องได้ 75% ซึ่งภายใต้เจ้าหนี้ 75% นี่ก็เกือบจะชนะแล้ว

และในกฎหมายใหม่บอกว่าเจ้าหนี้แต่ละคนมีสิทธิ์ที่ต่างกัน กฎ-หมายเดิมเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ์ หรือ subordinated debt ก็มีสิทธิเท่ากับเจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งเท่ากับว่าเจ้าหนี้มีประกันหรือไม่มีประกันมีสิทธิ์เท่ากันหมด อย่างนี้ไม่ถูก มันต้องแบ่ง กล่าวคือเจ้าหนี้มีประกันที่มีหนี้เกิน 15% ของหนี้บริษัททั้งหมดก็เป็นกลุ่มหนึ่ง, เจ้าหนี้มีประกันที่ต่ำกว่า 15% อีกกลุ่มหนึ่ง, เจ้าหนี้ไม่มีประกัน (อาจแบ่งเป็น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ลูกจ้าง) ก็เป็นอีก กลุ่ม และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่สี่คือเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ์ ซึ่งไม่มีสิทธิ์โหวต แผนจะอนุมัติได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้ทุกกลุ่มต้องโหวตให้ได้ 75% ทุกกลุ่ม แผนจึงจะผ่าน อันนี้ก็โอเค

แต่ถ้าไม่ถึง 75% และถ้าเจ้าหนี้มีประกันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโหวต (ในกรณีที่เจ้าหนี้อาจจะมีผลประโยชน์ขัดกัน) บวกกับเจ้าหนี้ไม่มีหลักประกัน ทุกกลุ่มโหวต หากเป็นอย่างนี้ก็สามารถ ขอรับการฟื้นฟูได้ แม้หนี้อาจจะน้อยกว่า 75%

"ไม่อย่างนั้น ตามกฎหมายเดิม หากผมเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มแบงก์ ก็จะไม่อนุมัติ ให้แผนฟื้นฟูผ่าน เพราะหากแผนผ่าน ตัวเขาเองก็ไม่สามารถบังคับจำนองได้ ก็ต้องรอ อาจจะรอจนแผนเสร็จ 5-7 ปี ดังนั้นเขาก็ไม่มีเหตุที่จะอนุมัติแผนใช่ไหม หากเขาไม่ได้ก่อน เขาอาจจะบล็อกไม่ผ่าน กม.ใหม่นี่จึงแบ่งเจ้าหนี้ ออกเป็นกลุ่มๆ อย่างนี้" กิติพงศ์อธิบายเหตุผล
"หากเจ้าหนี้ไหนที่ค้าน ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้น้อย ผมไม่ต้องการให้เขามาบล็อกแผนของผม ผมก็จะเอาเงินไปจ่ายเขา ภายใน 15 วัน นี่ก็จะทำให้แผนได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น ซึ่งหลักการตรงนี้เอามาจากของสหรัฐ คือหากคุณไม่กระทบ คุณไม่ควรจะมีสิทธิโหวต เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมาคิดเพื่อประโยชน์ของบริษัท" เขากล่าวเสริม

- ประเด็นที่ 2 ที่แก้ไขต่อมาคือ เรื่อง ดุลยพินิจของศาล คือเดิมตามกฎหมายปัจจุบัน หากเจ้าหนี้อนุมัติ ลูกหนี้อนุมัติ เห็นด้วย แต่หากมีเหตุอันสมควร ศาลไม่อนุมัติเห็นด้วยก็ได้ แต่ในกฎหมายใหม่ที่แก้ไขแล้วบอกไม่ได้ หากลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันมาแล้ว ศาลมีหน้าที่อย่างเดียว ต้องอนุมัติ ให้ลดอำนาจศาลตรงนี้ ซึ่งทางฝ่ายศาลยินยอม

-ประเด็นที่ 3 เป็นเรื่องของการที่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิไม่มีสิทธิโหวต นี่เป็นของใหม่ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า หากล้มละลายแล้ว ตนจะมีส่วนแบ่ง คือได้รับทรัพย์สิน จึงจะมีสิทธิโหวต ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องยุ่ง จะไม่มีสิทธิโหวตเลย คือเขียนไปเหมือนให้เขาโหวต แต่ไม่มีสิทธิเลย เท่ากับเป็นการสร้างหลักกฎหมายใหม่เรื่องเจ้าหนี้ด้อยสิทธิขึ้นมา คือไม่มีสิทธิโหวต

- ประเด็นที่ 4 เรื่องหนี้บุริมสิทธิ ของลูกจ้าง คือหากบริษัทล้มละลาย กฎหมายเดิมให้ลูกจ้างได้รับชำระเงินก่อนคนอื่นแค่ 300 บาท นี่ก็แก้ให้ได้ 100,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกิติพงศ์ก็เห็นว่าน้อยไป เพราะเท่ากับว่าได้เดือนละไม่ถึงหมื่นบาท

- ประเด็นที่ 5 เป็นเรื่องของกรณีที่ให้ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผนบอกเลิกสัญญาระยะยาวหรือสัญญาที่มีภาระเกินสมควรได้ เพราะตามกฎหมายล้มละลายปัจจุบัน คนที่มีสิทธิ์บอกเลิกได้ ต้องเป็นคนที่ล้มละลายไปแล้ว เช่น ลูกหนี้ไปทำสัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี หากเจ้าหนี้เข้ามาฟื้นฟูแล้วบอกเลิกสัญญาไม่ได้ นี่ก็แย่เลย กฎหมายบอกว่าต้องล้มละลายก่อนจึงจะเลิกได้ ซึ่งก็แก้ให้เป็นว่าเมื่ออยู่ระหว่างการฟื้นฟูก็สามารถขอเลิกได้ แล้วก็ไปฟ้องเรียกค่าเสียหายเอากับบริษัททีหลังได้ เพราะบริษัทล้ม ก็ไปขอรับชำระหนี้เอา

- ประเด็นที่ 6 เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นการปรับถ้อยคำในแผน ในกรณีที่ คือในแผนนี้จะมีมาตราหนึ่งที่สำคัญมากคือมาตรา 90/42 ที่บอกว่า เมื่อแผนอนุมัติ ไม่เอามาตราในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ เช่น สามารถเพิ่มทุน ลดทุน ควบกิจการ ได้โดยไม่ต้องประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งกฏหมายเดิมที่เขียนนั้น ลืมไปหลายมาตรา เช่น ที่บอกว่าเมื่อคุณจะแปลงหนี้เป็นทุนนั้น ไม่ต้องชำระเงินเข้าบริษัท กฏหมายเดิมนั้น คุณต้องเอาเงินใส่เข้าไปก่อน แล้ว ค่อยถอนเงินมาจ่าย ตอนนี้ก็สามารถหักกลบลบหนี้ได้แล้ว ไม่ต้องมีการจ่ายเงินสดออก

กิติพงศ์อธิบายว่า "เขาแก้แล้วเขาไปลืมแก้กฎหมายมหาชน ผมก็ไปเติมให้ชัด เพราะนี่เป็นมาตราที่สำคัญที่สุดและไม่มีในกฎหมายอื่นในโลก ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่สร้างกฎหมายนี้ขึ้นมา เหมือนกับแบงก์ชาติ ที่สั่งให้ลดทุนเพิ่มทุนได้เองโดยศาล นี่เป็น special feature สั่งลดทุน เพิ่มทุน ควบกิจการ สั่งได้หมดโดยศาล คือเขียนลงในแผนฟื้นฟูแล้วใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการสั่งการ ผมไปแก้เพิ่มเรื่องของบริษัทมหาชน และที่แก้เพิ่มที่สำคัญมากคือขอให้เอา premium ซึ่งกฏหมายปัจจุบันนี้ห้าม แตะห้ามเอาไปหักกับผลขาดทุนด้วย จะแตะได้อย่างเดียวเมื่อบริษัทล้มละลาย ทีนี้ผมทำดีลฟินวันกับไทยทนุ เจอกฎหมายข้อนี้ ก็ตาย พรีเมียมของฟินวันมากมาย ไปหักกับผลขาดทุนไม่ได้เลย ถ้าหักได้บัญชีมันก็จะดีขึ้น (พรีเมียมตัวนี้อยู่ในกำไรส่วนเกิน) กฏหมายห้ามเอาไปหัก ให้ตั้งไว้อย่างนี้จนกว่าจะเลิกบริษัท ทีนี้เราก็แก้ตัวนี้เสีย คือให้สามารถเอาไปใช้ได้ ดังนั้น structure อะไรก็ง่าย ก็เติมเข้า ไป"

นอกจากนี้ ยังมีอีกบางจุดที่กิติพงศ์อยากจะให้แก้ไขเติมเข้าไปด้วย แต่ที่ประชุมคณะกรรมการฯไม่ยอม เช่นเรื่องที่ว่า หากมีการแปลงหนี้ใหม่ แล้วมีการโอนขาย loan ไปนั้น ไม่ต้องขอความยินยอมจากลูกหนี้ อะไรอย่างนี้ เขากล่าวว่า "หากใส่ไป ก็จะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งมันก็จริงๆ ด้วย ตอนที่ผมไปแก้กฎหมาย ปรส.นั้น พอเสนอตรงนี้ไป โดนตียับเลย เพราะผมไปแก้หลักกฎหมายแพ่ง"

อีกเรื่องคือในมาตรา 94/2 ที่บอกว่า ถ้ารู้ว่าบริษัทล้มละลาย ให้เงินเข้าไป จะไม่ได้รับการชำระหนี้คืน เว้นแต่จะเข้าฟื้นฟูกิจการ จึงจะได้รับชำระหนี้คืน ซึ่งประเด็นนี้มีคนโจมตีมาก "หากผมไม่เข้าฟื้นฟูกิจการ ผมไม่เข้ากฎหมายนี้ แล้วผมไปทำเอง แล้วเจ้าหนี้ให้เงินผมมานี่ เจ้าหนี้ควรจะขอรับชำระหนี้ได้ ถูกไหม เพราะกฎหมายปัจจุบันนี่ขอไม่ได้เลยนะ ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ก็แก้กฎว่าหากให้โดยสุจริต ก็สามารถ ขอรับชำระหนี้ได้"

อีกเรื่องที่ผมแพ้ แต่ผมยังไม่ยอม คือเรื่องที่ว่าเมื่อให้เงินไปแล้วไม่ได้รับชำระหนี้คืน ก็แก้ให้เป็นว่าได้รับชำระหนี้คืนแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ กิติพงศ์มีความเห็นว่า "จริงๆ แล้วเมื่อให้เงินไป ผมกล้าเอาเงินใส่เข้าไปในบริษัทที่ล้มละลาย ผมควรจะได้รับบุริมสิทธิหรือ piority ถูกไหม หากผมต้องรอให้แผนอนุมัติเสียก่อนนั้นก็หมายความว่าต้องไปเขียนในแผน ผม บอกว่าทำไมไม่เขียนในกฎหมายเลยว่า ใครที่ใส่เม็ดเงินใหม่เข้าไป ในกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย โดยสุจริต เขาควรจะได้ piority หรือบุริมสิทธิ ซึ่งทางคณะกรรมการฯบอกไม่ได้หรอก ถ้าทำอย่างนี้แล้วหากบริษัทเกิดล้มขึ้นมา ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้อื่นก็จะขาดทุน" แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง เมื่อบริษัทล้มละลายแล้ว ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ทั้งหลายก็ควรจะได้แค่ 1 สตางค์ เพราะบริษัทไม่มีค่าแล้ว "จริงๆ แล้ว หากล้มละลายแล้ว ไม่ควรจะได้อะไรเลยนะ เว้นแต่จะขายทรัพย์สิน แล้วเกิดราคามันดี นั่นจึงจะได้ แต่ถ้าคนที่กล้าเอาเงินมาให้ก็เท่ากับกล้ารับความ เสี่ยง หาญกล้าแล้ว ก็ควรให้เขา หาก บริษัทเกิดรอด พวกเขาก็ได้ประโยชน์ ใช่ไหม ในต่างประเทศ เป็น super piority ด้วยซ้ำ เหนือกว่าเจ้าหนี้ประกันด้วยซ้ำไป แต่เราไม่ต้องการอย่างนั้น เราต้องการแค่ให้มีบุริมสิทธิ เจ้าหนี้มีประกันก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย" ซึ่งประเด็นนี้ทางคณะกรรมการฯ ยังไม่เห็นด้วยกับกิติพงศ์

ทั้งนี้เขามองว่าหัวใจของการฟื้นฟูกิจการก็คือการเอาเม็ดเงินใหม่ใส่เข้ามาในบริษัท หากไม่มีใครกล้าใส่เม็ดเงินใหม่เข้ามา บริษัทก็ต้องเจ๊ง จะทำอย่างไรก็ไม่รอด ดังนั้นแม้จะเขียนประเด็นนี้ให้ชัดเจนในแผน แต่หากคนเขียนแผนเกิดโง่ ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ควรจะเขียนเป็นกฎหมายเสียเลยให้ชัดเจน สร้างบุริมสิทธิเสียในกฎหมายเลย

แต่ความเห็นในประเด็นนี้ไม่ผ่านในคณะกรรมการฯ ซึ่งกิติพงศ์มองว่าก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ขั้นตอนของการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ แม้จะนำเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว ก็ยังจะมีการให้ความเห็นและสามารถตั้งคณะกรรม การขึ้นมาเพิ่มเติมแก้ไขกันได้อีก

แนวทางที่ธนาคารโลกแนะนำไว้คือ กฎหมายฉบับนี้จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติภายในเดือนกรกฎาคม และมีผลบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ซึ่งดูจะเชื่องช้าอยู่ไม่น้อย ทั้งที่การฟื้นฟูกิจการในยามนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนของภาคเอกชน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวนมากในระบบ

แต่ถ้ารัฐบาลเห็นความจำเป็นเร่งด่วนจริง ก็สามารถรีบผลักดันเรื่อง นี้ออกมาให้เร็วกว่านี้ได้ ซึ่งก็ต้องรอดูแนวทางของรัฐบาลว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

กิติพงศ์จบเกียรตินิยมนิติ ศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2519 และศึกษาต่ออีกหลายแห่ง ทั้งในและนอกประเทศ เขามีบทบาทในกฎหมายธุรกิจที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายคณะอนุกรรม การพิจารณาแนวทางกำกับตลาดอนุพันธ์(ก.ล.ต.) พ.ศ.2537-2539 และคณะ อนุกรรมการเฉพาะกิจด้านการเงินการคลังเพื่อสังคม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2538-2539 นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสนอแนวคิดเรื่องการปฏิรูปกฎหมายไทยซึ่งธนาคารโลกให้ความสนใจเรื่องนี้ และมีการอนุมัติเงินเพื่อการศึกษาเรื่องการปฏิรูปกฎหมายไทยด้วย

เขาเคยมีส่วนช่วยเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายองค์กรชุมชน หรือกฎหมาย NGO ร่วมกับ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และโสภณ สุภาพงษ์ ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us