Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2541
ปัจฉิมา ธนสันติ หญิงเหล็กแห่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา             
 


   
search resources

กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ปัจฉิม ธนสันติ




วาทะสั้นๆ ของมีชัย วีระไวทยะ ประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) คนล่าสุด ที่เพิ่งรับตำแหน่งไปหมาดๆ แม้เขาจะไม่ใช่อัศวินม้าขาวจริงๆ แต่ สำหรับแนวคิดของมีชัยในวันนี้หากปฏิบัติได้จริงคงไม่ต่างจากกันเท่าใดนัก

อย่างที่รู้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจระดับท็อปเทนมีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน และยังต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล ทั้งงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างระบบสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งสัมปทานสื่อสารอีกหลายสิบโครงการที่ให้เอกชนไปดำเนินการ

หน่วยงานของรัฐแห่งนี้จึงหนีไม่พ้นเรื่องวุ่นๆ ยิ่งมีโครงการประมูลขนาดใหญ่มูลค่ามหาศาลเกิดขึ้นด้วยแล้ว หนีไม่พ้นต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอๆ เรียกว่า พอเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งใด ตำแหน่งประธานบอร์ด ก็มีอันต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยทุกครั้ง

จะว่าไปแล้ว ตำแหน่งเก้าอี้ประธานบอร์ด ทศท.จึงเป็นตำแหน่งสำคัญ ไม่แพ้รัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมเลยก็ว่าได้ เพราะโครงการต่างๆ จะต้องผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากบอร์ด ทศท.ก่อนส่งเรื่องไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง


แม้ว่าในระยะหลังๆ พรรคการเมืองต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนดูแลหน่วยงานแห่งนี้พยายามล้างภาพลักษณ์เก่าๆ ทิ้ง เริ่มมาตั้งแต่การสิ้นอำนาจของรสช. ก็ถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดยุคอำนาจสีเขียวที่เคยครอบงำหน่วยงานแห่งนี้ ถึงแม้จะผ่านพ้นยุคทหารไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้หน่วยงานแห่งนี้หลุดพ้นจากปัญหาเดิมๆ ไปเสียทีเดียว

การเชิญสุเมธ ตันติเวชกุล มานั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด ทศท.ในสมัยที่สุวัฒน์ ลิปตพัลลภ แห่งพรรคชาติพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็นับเป็นความพยายามในการสลัดภาพแดนสนธยา เพราะสุเมธได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากทุกฝ่าย

เมื่อสุเมธพ้นจากเก้าอี้ใหญ่ในทศท.ก็กลายเป็นโจทย์ท้าทายให้พรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้ามาคุมกระทรวงหูกวางอยู่ในเวลานี้ เพราะคนที่มาแทนสุเมธนั้นจะต้องไม่กระทบกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่กำลังสร้างแรงศรัทธากับประชาชนอยู่ในเวลานี้

ด้วยดีกรีของนักพัฒนาสังคม นักวิชาการ และเคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนัก นายกฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ว่าการประปา ชื่อของ มีชัย วีระไวทยะ จึงติดอยู่ในโผต้นๆ จะว่าไปแล้ว ช่วงจังหวะของการนั่งเก้าอี้ประธานบอร์ดทศท.ของมีชัย แตกต่างไปจากประธานบอร์ดทศท. คนอื่นๆ เพราะในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่มีสัมปทาน ใหม่เกิดขึ้น หรือโครงการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ แต่เป็นเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อรองรับการเปิดเสรี การแปลงสัญญาสัมปทานที่ให้เอกชนไปดำเนินการ และการปรับโครงสร้างค่าบริการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของทศท.

"เวลานี้รัฐไม่มีงบประมาณจะจัดซื้อหรืออนุมัติโครงการอะไรแล้ว เอกชนเองก็ไม่อยากลงทุนอะไร มีแต่จะคืนสัมปทาน สิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้คือ การสร้างความเชื่อมั่น และศรัทธาให้กับประชาชน จุดนี้ถือว่าสำคัญ ซึ่งคุณมีชัยเหมาะมากสำหรับการทำในจุดนี้" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าว

ตามสไตล์ของนักพัฒนาชุมชน เจ้าของฉายา "มีชัยสายรุ้ง" แนวคิดของเขาจึงมุ่งเน้นไปที่การลดช่องว่างระหว่าง ทศท.กับประชาชน อันเป็นที่มาของแนวคิดในการแปรรูปทศท.ที่ต้องการให้คนไทยทุกระดับชั้นร่วมถือหุ้นในทศท.

"ผมจะทำกระปุกออมสินเป็นรูปโทรศัพท์ประมาณ 1 ล้านใบ แจกจ่ายไปตามชุมชนต่างเๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้ถือหุ้นในทศท. ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือไม่ ทุกคนมีสิทธิ์ถือหุ้นขององค์การโทรศัพท์เท่ากันหมด"

มีชัยเชื่อว่า วิธีนี้จะเป็นการสร้างอารมณ์ร่วมให้ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีกับองค์การโทรศัพท์ฯมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของมีชัยนั้นก็เป็นแนวคิดเดียวกับนโยบายการแปรรูปของบริษัทบางจากปิโตรเลียมที่ โสภณ สุภาพงษ์ เป็นหัวเรือใหญที่กำลังเปิดให้คนไทยส่วนใหญ่ทั่วประเทศเข้ามาถือหุ้นจนเป็นที่ฮือฮาอยู่ในเวลานี้ เพราะมีทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้าน

ทศท.ในยุคของมีชัยจึงต้องเปลี่ยนจากบทบาทของรัฐวิสาหกิจที่ประชาชนแทบไม่เคยสัมผัสถึง มาเป็นองค์กรเพื่อประชาชน และต่อไปนี้ชาวนาจะเป็นคนอีกกลุ่มที่จะต้องมีโทรศัพท์ให้ใช้ฟรี รวมทั้งคนพิการที่จะมาเป็นพนักงานให้กับบริการ 13 หรือ 17

แม้จะมีรายได้ปีละนับหมื่นล้าน แต่ทศท.ก็มีค่าใช้จ่ายมากพอๆ กัน และที่สำคัญยังมีจุดรั่วไหลอยู่เสมอๆ และที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ โทรศัพท์สาธารณะที่ทำรายได้ให้กับทศท.มหาศาล มีชัยจึงมีแนวคิดที่จะให้ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในสลัมมาประชุมร่วมกับทศท.เพื่อกำหนดจุดติดตั้ง และเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบตู้โทรศัพท์สาธารณะเหล่านี้ และทศท.จะแบ่งรายได้ให้ 10%

ที่พลาดไม่ได้คือ การปรับลดค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความพยายามมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครทลายตำนานนี้ได้ แต่สำหรับมีชัยแล้ว เขามองว่า ทศท.น่าจะอาศัยช่วงเวลาที่เอกชนต้องมายื่นขอแปลงสัมปทาน ขอให้เอกชนปรับลดค่าบริการโทรศัพท์มือถือ

"เหมือนกับการยื่นหมูยื่นแมว ในเมื่อเอกชนมาขอแปลงสัมปทาน ทำไมเราจะขอให้เขาปรับลดค่าบริการลงไม่ได้"

ไม่เพียงทศท.จะต้องเล่นบทผู้ให้แล้ว ทศท.ในยุคนี้ยังต้องเล่นบทนักบู๊ ไม่ให้พ่อค้ามามีอำนาจเหนือกว่าเหมือนที่แล้วมา

บริการโทรศัพท์มือถือ ย่านความถี่ 1500 เมกะเฮิรตซ์ ก็เป็นอีกโครงการที่มีชัยจะนำมาปัดฝุ่นใหม่ ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า เมื่อ ทศท.ได้อนุมัติคลื่นมาแล้วก็ควรดำเนินการเองก่อน ดีกว่ารอให้เมื่อเปิดเสรีแล้วบริษัทจากต่างชาติเข้ามาดำเนินการ

"ในเมื่อเรามีถนนอีกเส้นหนึ่ง แทนที่จะปล่อยให้มันว่างเปล่า เราก็มาทำให้มันมีมูลค่า ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เราต้องเปิดเสรีต่างชาติต้องเข้ามา ถนนเส้นนี้จะมีมูลค่า มากกว่าเป็น แค่คลื่นความถี่" มีชัยสะท้อนแนวคิด

แม้จะพยายามเดินไปข้างหน้ากับภารกิจเร่งด่วน ที่รออยู่ข้างหน้า แต่เขาก็รู้ดีว่า ปัญหาเฉพาะหน้าที่รออยู่ ในเรื่องการ "ฮั้ว" ประมูลจัดซื้ออุปกรณ์ที่อื้อฉาวมาโดยตลอด แนวคิดของมีชัย จึงต้องการให้มีการประมูลแบบข้ามชาติ คือ ให้บริษัทผู้ผลิตต่างชาติเข้ามาประมูลได้ แทนที่จะเป็นบริษัท คนไทยที่ต้องนำเข้าอุปกรณ์อีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้มีชัยเชื่อว่าจะทำให้ราคาอุปกรณ์ลดลง

นอกเหนือจากภารกิจในทศท.แล้ว ไอเดียการแก้ไขปัญหาสังคมก็ยังไม่ได้หยุด มีชัยจึงได้เตรียมจัดตั้งบริษัทธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อตรวจสอบ และสร้างจิตสำนึกทางสังคมให้กับบรรดาบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

"บริษัทนี้จะมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และเปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์มาซื้อหุ้นได้ และเราจะนำเงินที่ระดมทุนได้ไปซื้อหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีอยู่ 400 กว่าแห่ง"

การไปซื้อหุ้นในบริษัทเหล่านี้ เพื่อเข้าไปรับรู้ข้อมูลในฐานะของผู้ถือหุ้น และนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในเรื่องการตรวจสอบ และสะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การจัดทำวารสารเพื่อสำรวจข้อมูลการจัดอันดับบริษัทที่จ่ายเบี้ยประชุมคณะกรรมการสูงที่สุด หรือบริษัทใดที่มีโครงการทำเพื่อสังคม บริษัทใดยังไม่ได้ทำบ้าง

"ทุกวันนี้เราก็เห็นแล้วว่า ธุรกิจได้นำความหายนะมาสู่สังคม กลุ่มธุรกิจของหลายตระกูลเองไม่ได้ช่วยเหลือสังคมเลย การจะอยู่ร่วมกันคนที่มีต้องช่วยคนไม่มี ผมเชื่อว่าวิธีนี้จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้"

ธนาคาร จะเป็นกลุ่มแรกที่บริษัทธุรกิจเพื่อสังคมนี้จะเข้าไปถือหุ้น ซึ่งธนาคารใดยังไม่ทำเพื่อสังคมคงต้องเริ่มลงมือกันแล้ว

การมาของมีชัย นอกจากเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของทศท. และเมืองไทยแล้ว ยังเป็นจุดท้าทายในชีวิตการงานของมีชัยด้วยว่า เขาจะใช้ประสบการณ์และแนวคิดนำพาให้องค์กรแห่งนี้ไปสู่วิถีทางที่ควรจะเป็นได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us