Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2541
ไทยใช้เวที WORLD DIAMOND CONGRESS สู่การเป็นศูนย์กลางค้าเพชรโลก             
 





หลังจากใช้เวลาแต่งตัวนานกว่า 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี (GEMOPOLIS) ตลอดจนจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรระหว่างประเทศแห่งกรุงเทพมหานคร และตลาดกลางการค้าเพชรและอัญมณีระหว่างประเทศแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BDPE (BANGKOK DIAMONDS AND PRECIOUS STONES EXCHANGE)

ในที่สุดอุตสาหกรรมอัญมณีไทย ก็ประสบความสำเร็จในการเข้าเป็นสมาชิกน้องใหม่ของสมาพันธ์ตลาดกลางค้าเพชรโลก หรือ WFDB (WORLD FEDERATION OF DIAMOND BOURSES) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 ราย

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังได้รับการอนุมัติจาก WFDB ให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน WORLD DIAMOND CON-GRESS ครั้งที่ 28 ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26-29 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ โดยมีสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรและ BDPE เป็นหัวหอกในการจัดงาน ภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนจากสมาพันธ์ตลาดกลางค้าเพชรโลก และสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรระหว่างประเทศ รวมทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

"สินค้าทุกอย่างต้องมีการทำงานของภาคการผลิตและภาคการตลาดที่ควบคู่กันไปเสมอ และนี่คือเหตุผลที่การประชุมเรื่องเพชรโลกจึงต้องมีหน่วยงานสองส่วนนี้มาประชุมกันเป็นประจำทุก 2 ปี คือ ผู้แทนจากสมาคมผู้ประกอบการเจียระไนเพชรระหว่างประเทศ (ภาคการผลิต) และสมาพันธ์ตลาดกลางค้าเพชรโลก (ภาคการตลาด) และงานนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากว่าสมาคมเจียระไนเพชรและตลาดกลางการค้าเพชรของเรายังไม่เกิด และทั้งสององค์กรนี้ต้องเป็นสมาชิกของโลกด้วย จากนั้นที่ประชุมใหญ่ของ โลกจะต้องมองเห็นความพร้อมและความเหมาะสมในการจัดงานได้ เขาจึงอนุมัติให้ไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้" ดร.สวราช สัจจมาร์ค รองประธาน BDPE กล่าวในฐานะหนึ่งในแกนนำผู้ผลักดันให้เกิดงานประชุมเพชรโลกขึ้นที่ประเทศไทย

สำหรับผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการจัดงานครั้งนี้เรียกว่ามีแต่คุ้มกับคุ้ม หากเปรียบก็คงเปรียบได้กับการช่วงชิงการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ที่จะจัดขึ้นในปีนี้ที่ประเทศไทยเช่นเดียวกัน ต่างแต่เพียงงานหลังนี้ต้องใช้กำลังภายในชนิดที่เลือดออกซิบๆ ทีเดียว

ประโยชน์ประการแรกที่ประเทศไทยจะได้รับจากการจัดงานครั้งนี้คือ เป็นการขยายฐานการส่งออกเพชรและอัญมณีของไทยไปสู่ตลาดใหม่ๆ รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักธุรกิจนานาประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนร่วมกันในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น ผลทางอ้อมที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นก็คือ เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยออกสู่สายตาชาวไทยและชาวโลก ให้ได้รับรู้ถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าเพชรและอัญมณีที่มีศักยภาพแห่งหนึ่งของโลก

"การที่เราจัดงานทั้งหลายขึ้นมา เป็นความพยายามที่จะเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะในเวลานี้รู้กันเฉพาะคนในวงการธุรกิจอัญมณีเท่านั้นว่าฝีมือคนไทยทัดเทียมระดับโลก ส่วนคนที่อยู่นอกธุรกิจยังไม่รู้ แม้กระทั่งคนไทยด้วยกันเองที่ยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่า ซื้อเพชรดีมีคุณภาพต้องซื้อจากต่างประเทศ หารู้ไม่ว่าเพชรเหล่านั้นแหละมาจากฝีมือคนไทย" พิเชษฐ รมหุตติฤกษ์ ชี้แจงในฐานะเลขาธิการ BDPE ผู้เป็นอีกหนึ่งเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดงานนี้

นอกจากนี้ ดร.สวราช ได้เสริมว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการเจียระไนเพชรเม็ดเล็กขนาดประมาณ 2-5 สตางค์เป็นอันดับหนึ่งของโลก จนถึงขั้นที่มีการเรียกวิธีการเจียระไนเพชรของไทยว่าเป็น "BANGKOK CUT" เลย ทีเดียว และผู้ซื้อรายใหญ่ของไทยก็คือ เบลเยียม "แสดงว่าเราผลิตแล้วเขามาซื้อไปขายที่นั่น และคนทั่วโลกก็ไปซื้อจากที่นั่น รวมทั้งคนไทยด้วย และพร้อมใจกันบอกว่า เป็นเพชรจากเบลเยียม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเพชรนั้นไม่ว่าจะขุดได้จากที่ไหนในโลกก็ตาม จะต้องมารวมกันที่บริษัท เดอ เบียส์ จากนั้นเดอ เบียส์ ก็จะคัดเกรดตามขนาดตามคุณภาพและขายผ่านเอเยนต์ไปยังผู้ผลิตอีกที ฉะนั้นหากจะกล่าวกันตามจริงก็คือ เพชรมาจากแหล่งเดียวกันเป็นหลักคือมาจากเดอ เบียส์ นั่นเอง"

ปัจจุบัน ผู้ผลิตและส่งออกเพชรรายใหญ่ของโลกมีด้วยกัน 4 ประเทศ คือ เบลเยียม อิสราเอล นิวยอร์ก อินเดีย และไทยกำลังจะกลายมาเป็นประเทศที่ 5 หากได้รับความร่วมมือกันพัฒนาและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้และต่อเนื่องไปในอนาคต

"สำหรับศักยภาพความพร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าเพชรของโลกนั้น ประเทศไทยไม่ได้มีอะไรที่ด้อยกว่าศูนย์เพชรใหญ่ๆ ของโลก เช่น เบลเยียมหรืออิสราเอลเลย ทั้งสองประเทศนี้เขาก็ต้องนำเข้าวัตถุดิบเหมือนเรา แต่ค่าแรงและค่าโสหุ้ยเขาแพงกว่าเรามาก ส่วนในเรื่องของการขนส่งก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเราเลย ฉะนั้นหากพิจารณากันจริงๆ เราไม่มีอะไรที่เสียเปรียบเขาเลย แล้วทำไมเราถึงจะเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตเพชรของโลกไม่ได้" พิเชษฐกล่าว

และมุมมองของดร.สวราชยิ่งเป็นการยืนยันว่าประเทศ ไทยเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าเพชรของโลก กล่าวคือ "ภูมิประเทศของประเทศไทยเอื้อให้สามารถมีสายการบินหลักที่บินมาประเทศไทยแบบ NON-STOP ได้ เช่น บินตรงจากปารีส จากลอนดอน หรือบราซิล เป็นต้น และการค้าของประเทศไทยเป็นรูปแบบการค้าเสรี มีกฎกติกาเป็นที่ทราบกันโดยสากล และข้อได้เปรียบยิ่งกว่าประเทศอื่นก็คือ สังคมไทยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา หรือรังเกียจคนต่างชาติ ประกอบกับบรรยากาศด้านอื่นๆ ของประเทศก็เอื้อต่อการประกอบพาณิชยกรรม อาทิ ค่าโรงแรมไม่แพง เดินทางสะดวก อาหารอร่อย ที่เที่ยวเยอะ ใครมาก็ติดใจทั้งนั้น คุ้มจะตายมาลงทุนในเมืองไทย ฉะนั้น ในเมื่อทุกอย่างดี เราก็ค่อยๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นว่า ทำไมต้องไปลงทุนที่ประเทศอื่นมาที่ประเทศไทยสิดีกว่า และเมื่อประเทศไทยมีการค้าขายกันมากขึ้น สินค้าวัตถุดิบก็จะผ่านมาที่นี่มากขึ้น เราก็มีโอกาสในการเลือกคุณภาพวัตถุดิบได้ดีและหลากหลายแบบมากขึ้น การแข่งขันก็สูงขึ้นในที่สุดก็จะมีการควบคุมราคากันตามกลไกเอง ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยอีกด้วย เพราะโดยเฉลี่ยแล้วมีคนที่เกี่ยวข้องอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนคนต่อปี และคิดเป็นเม็ดเงินที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไม่ต่ำกว่าปีละแสนล้านบาท"

อย่างไรก็ดี แม้ไทยจะมีศักยภาพความพร้อมอยู่มาก แต่การดำเนินการต่างๆ ต้องเป็นไปอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เนื่องจากปัจจุบันค่าแรงของเพื่อนบ้านถูกกว่ามาก ฉะนั้นจากการที่เคยสบายใจกับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าและคุณภาพต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนและยกเลิกให้ประเทศอื่นผลิตแทน และหันมามุ่งเน้นพัฒนาผลิตสินค้า ระดับกลางและระดับสูงให้มากยิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us