Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2541
ฮ่องกงเน้นย้ำ ความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค             
 





ในจังหวะที่ฮ่องกงกลับสู่การปกครองของจีนตั้งแต่เมื่อ 1 กรกฎาคม 2540 นั้น เป็นช่วงที่ประเทศในเอเชียต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำที่ขยายไปในหลายประเทศในย่านนี้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ซึ่งหลังจากเวลาผ่านไป 11 เดือนแล้ว สถานการณ์ความตกต่ำทางเศรษฐกิจก็เริ่มขยายตัวระลอกใหม่เข้าไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ด้วย

มร.โทมัส โซว ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง กล่าวยอมรับว่าวิกฤติเศรษฐกิจระลอก สองนี้ส่งผลกระทบต่อฮ่องกงแล้ว "ฮ่องกงก็ไม่ได้รอดพ้นจากภัยพายุครั้งนี้ ในปีนี้รัฐบาลฮ่องกงประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ต่ำมากที่ 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีอัตราการเติบโตที่ระดับ 5.2%"

อย่างไรก็ดี เนื่องจากฮ่องกงมีพื้นฐานด้านโครงสร้าง และระบบต่างๆ ค่อนข้างเข้มแข็ง ในตอนนี้จึงยังมีสถานะที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวคือฮ่องกงมีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ โดยกลไกอัตราแลกเปลี่ยนที่มีกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศขนาดใหญ่เป็นพื้นฐานสนับสนุน (ประมาณ 92.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ฮ่องกงนำระบบคณะกรรมการ คาบคุมอัตราแลกเปลี่ยนหรือ Currency Board เข้ามาใช้เมื่อปี 2526 เพื่อดูแลเสถียรภาพค่าเงินฮ่องกง ซึ่งตอนนี้กำหนดให้เงิน 7.7 ดอลลาร์ฮ่องกง (โดยประมาณ) แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ในด้านของกลไกตลาด ฮ่องกงมีระบบตลาดที่เปิดและมีกลไกดูแลตนเอง ซึ่งในตอนนี้รัฐบาลก็กำลังทบทวนกลไกปกป้องค่าเงิน และการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์และตลาดล่วงหน้า (futures) มร.โซวกล่าวว่า "เรากำลังดำเนิน งานปรับปรุงหลายอย่างเพื่อให้ระบบต่างๆ มีศักยภาพที่จะต้านทานความผันผวนของตลาด และเป็นการให้การศึกษาแก่นักลงทุนด้วย"

เขาอธิบายว่า "ฮ่องกงมีระบบการบริหารการคลังที่เข้มงวดรัดกุมมาก มีการจำกัดการใช้จ่ายของรัฐบาลไม่ให้เกินกว่าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) พูดง่ายๆ คือเราจ่ายจากสิ่งที่เราหาได้ และเราก็กู้น้อยมาก"

นัยตรงนี้ก็คือ โครงสร้างทางการเงินการคลังของฮ่องกงมีความแตกต่างไปจากประเทศเอเชีย ที่ประสบวิกฤติเศรษฐกิจในเวลานี้ ซึ่งส่วนมากจะเริ่มมาจากปัญหาเรื่องความผันผวนของค่าเงินและหนี้สินต่างประเทศ ซึ่งสองประเด็นนี้ มร.โซวก็อธิบายว่าไม่ใช่ประเด็นปัญหาของฮ่องกง ในเวลานี้

ในประเด็นเรื่องการเมืองซึ่งมีผู้พูดกันมากว่าในระบบ การปกครองภายใต้จีนนั้น คนฮ่องกงจะถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ และถูกครอบงำจากจีนมากขึ้น ซึ่งมร.โซวกล่าวว่า "ตามนโยบายเรื่อง หนึ่งประเทศสองระบบนั้น คนฮ่อง กงได้บริหารฮ่องกงอย่างมีอิสระค่อนข้างสูง ฮ่องกงยังคงใช้กฎหมายพื้นฐานที่ให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และแบบแผนชีวิตของชาวฮ่องกง ให้สิทธิในการบริหารเศรษฐกิจ และการเงินอย่างเต็มที่ ให้สถานะของการเป็นเขตพิเศษในการจัดการด้านศุลกากรของตนเอง ตลอดจนค้ำประกันความเป็นอิสระของระบบตุลาการด้วย"

ในท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่ยื่นหายนะภัยมาสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้นั้น ฮ่องกงได้พยายามทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจระดับหนึ่งว่า ฮ่องกงจะรอดพ้นได้ โดยรัฐบาลฮ่องกงมิได้ลดทอนงบประมาณด้านการพัฒนาประเทศลงแต่อย่างใด

รัฐบาลฮ่องกงตั้งงบประมาณการพัฒนาสาธารณูป การขั้นพื้นฐานไว้ถึง 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

การลงทุนครั้งนี้มากเกินกว่าที่ฮ่องกงได้ลงทุนในโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน (The Airport Core Programme) ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมาถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ของฮ่องกง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญใน ACP แล้ว ยังมีการสร้างเมืองใหม่สำหรับประชาชน 250,000 คน การสร้างสะพานแขวนสำหรับรถยนต์และรถไฟที่ยาวที่สุดในโลก การสร้างทาง ด่วนและทางรถไฟเชื่อมต่ออากาศ ยานกับศูนย์กลางตามเมืองต่างๆ รวมทั้งถนนหนทางและอุโมงค์รถไฟในบริเวณท่าเรือฮ่องกง ตลอดจนโครงการเวนคืนที่ดินขนาดใหญ่หลาย โครงการ

การลงทุนเหล่านี้เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่มาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นประตูบานใหญ่อีกบานหนึ่งที่เปิดเข้าสู่จีน และนั่นจะเป็นบทบาทสำคัญของฮ่องกงในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us