ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในรอบนี้เป็นเหตุให้กิจการ ต่างๆ ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่
ซึ่งวอลโว่ก็เริ่มดำเนินการลดขนาดองค์กรด้วยการลดจำนวนศูนย์บริการ ในกรุงเทพฯ
โดยปิดไป 5 สาขา ลด จำนวนพนักงานลงประมาณ 80 คน โดยสาขาที่ปิดไปนั้นเป็นสาขาที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนและมีลูกค้าน้อย
คือ พหลโยธิน, สุขุมวิท 39, รังสิต, แฟชั่น ไอส์แลนด์ และสุขาภิบาล (ซึ่งตอนนี้เป็นแผนกรถใช้แล้ว)
คงเหลือปัจจุบัน 8 แห่ง โดยปกติลูกค้าวอลโว่จะมีอัตราการเข้าใช้ศูนย์บริการปีละ
3-4 ครั้ง
มร.เจฟฟรีย์ โรว์ ผู้อำนวยการบริหารอาวุโส และผู้จัดการทั่วไป บริษัท สวีเดน
มอเตอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "จำนวนสาขา 8 แห่งที่มีอยู่ในตอนนี้ถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายสาขาทั้งหมดคิดเป็น 10 ล้านบาทต่อเดือน"
นอกจากการลดศูนย์บริการลงแล้ว ก็มีการเพิ่มจำนวนช่างเครื่อง และการจัดการเพื่อให้มีประสิทธิ
ภาพสูงสุดในศูนย์บริการ กล่าวคือ ในด้านช่าง ปัจจุบันทุกสาขาจะมีจำนวนช่างครบแล้ว
ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพ การทำงานภายในศูนย์บริการ มี 2 จุดคือการวางแผนที่ศูนย์บริการ
จุดที่สองคือการลดจำนวน การสั่งซ่อมซ้ำหรือ repeat job เพราะปัจจุบันประสิทธิ
ภาพที่ศูนย์บริการมีไม่ถึง 70% จะปรับปรุงให้เป็น 80% และ จะลดจำนวน repeat
job ลง 50%
การทำเช่นนี้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์บริการขึ้นได้ 20% และคาดว่าภายในไตรมาสที่
3 ของปีนี้ วอลโว่จะสามารถทำประสิทธิภาพได้สูงสุดเท่าที่จะทำได้
ทางด้านราคาอะไหล่ สวีเดน มอเตอร์ส มีนโยบายในการปรับราคาอะไหล่โดยใช้ระบบ
market price เข้ามาดำเนินการ นั่นคือ จะมีการเปรียบเทียบราคาอะไหล่ของรถยนต์วอลโว่
กับรถยนต์คู่แข่งจากค่ายยุโรปอื่นๆ คือเบนซ์ บีเอ็มดับบลิว และออดี้ เพื่อปรับราคาให้ใกล้เคียงกับอะไหล่ของบริษัทคู่แข่งเหล่านี้
และยังมีการเพิ่มจำนวนอะไหล่ในโกดังสินค้า (Central Warehouse) โดยมีการสั่งอะไหล่เข้ามาล็อตใหญ่มูลค่า
100 ล้านบาท โดยขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอะไหล่รถอยู่ในช่วงที่ผ่านมา
มร.โรว์ ให้การรับรองว่า "จะไม่มีปัญหาการขาด แคลนอะไหล่ของวอลโว่อีกในปัจจุบัน"
ทั้งนี้วอลโว่มีขีดความสามารถในการให้บริการหรือ service degree ในอัตราแค่
70% ในช่วงต้นปีด้วยสต็อก มูลค่า 140 ล้านบาท แต่ในตอนนี้ได้มูลค่าสต็อกเพิ่มขึ้นเป็น
185 ล้านบาท ทำให้สามารถเพิ่มอัตราการบริการได้เป็น 85% แต่หากจะเพิ่มอัตรานี้ให้เป็น
90% นั้นต้องเพิ่มมูลค่าสต็อกเป็น 200-210 ล้านบาท
ตัวเลขที่จะดูประสิทธิภาพในเรื่องการให้บริการอะไหล่ คือดู turnover หรือจำนวนรอบของการหมุนของอะไหล่
ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 3.75 รอบต่อปี (หากรอบหมุนช้าแสดงว่ามีสต็อกอะไหล่มาก หากรอบหมุนเร็วแสดงว่ามีสต็อกอะไหล่น้อย)
นอกจากนี้ วอลโว่ยังคงโครงการที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ด้วยการจัดกิจกรรมสนับสนุนลูกค้า
และการติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนกันยายนศกนี้ จะมีโครงการ
"Volvo Care" ซึ่งสร้างประโยชน์หลายอย่างแก่ลูกค้าวอลโว่ เช่น
มีบัตรเครดิต การประกันภัย บริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ นอกจากนี้ก็จะมีการร่วมมือกับสายการบิน
ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงแรม เพื่ออำนวยความสะดวกและการรับส่วนลดเมื่อใช้บริการ
ซึ่งรายละเอียด ในเรื่องนี้จะติดตามมา
กิจกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าก็จะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
เช่น กีฬา แรลลี่ กอล์ฟ เทนนิส แนะ นำ การบำรุงรักษารถยนต์ เป็นต้น
มร.โรว์เชื่อมั่นว่า โครงการ วอลโว่ แคร์ของเขาจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับลูกค้าวอลโว่
สวีเดน มอเตอร์ส ได้ขยายการผลิตสินค้าครอบคลุมในเรื่องของผลิตภัณฑ์รถยนต์ด้านอื่นๆ
ด้วย ซึ่งสินค้าบางตัวได้ออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนเมษายนแล้ว เช่น น้ำมันเครื่อง
ต่อไปจะเป็น น้ำมันเบรก, Coolant, น้ำมันเกียร์ รวมถึง Volvo car care products
ต่างๆ
ในส่วนของน้ำมันเครื่องนั้น สามารถทำยอดขายได้เดือนละประมาณ 8-9 ล้านบาท
ในการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดนั้น วอลโว่ได้ตั้งศูนย์ Hot line เพื่อให้บริการสอบถามตอบปัญหาต่างๆ
และรับฟังข้อแนะนำ ซึ่งตอนนี้ มร.โรว์กล่าวว่ามีลูกค้าโทรฯ เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยวันละ
15 รายแล้ว
เขากล่าวว่า "ผมมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้
ทั้งด้านของศูนย์บริการและการสนับ สนุนลูกค้า จะทำให้สวีเดนมอเตอร์ส สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น"
การขยายตัวของสินค้าในสายนี้ มร.โรว์เน้นว่าเป็นไปในลักษณะของ one-stop
shopping เพื่อให้ลูกค้าได้ของและบริการที่ครบถ้วนในจุดเดียว เป็นประโยชน์ในแง่ความสะดวกสบายของลูกค้า
ด้านรายงานตัวเลขยอดขาย ปรากฏว่าเมื่อสิ้นไตรมาส แรกของปี ตัวเลขจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
"อัตราส่วนที่ลดลงไปนั้นเป็นไปในระดับใกล้เคียงกับอัตราลดลงของตลาด
เป็นการลดในลักษณะที่ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นไปตามสภาพตลาด อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขายเมื่อสิ้นปี
จะทำได้ประมาณ 1,200 คัน"
ทั้งนี้ตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศมีอัตราลดลงประมาณ 75%
ต่อประเด็นที่เวลานี้ บริษัทรถยนต์แม่ในต่างชาติเริ่มเข้ามาดูแลตลาดรถของตัวในประเทศมากขึ้น
และหลายรายได้เข้ามาซื้อหุ้นร่วมทุน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบางยี่ห้อก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่กรณีของวอลโว่นั้น เนื่อง จากมีการถือหุ้นในบริษัท สวีเดน มอเตอร์ส อยู่แล้ว
บริษัทรถยนต์แม่จึงยังไม่มีท่าทีที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่อย่างใด
นอกจากนี้ หากภาวะตลาดไม่ได้เลวร้ายไปกว่าที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 และ 2
แล้ว การปรับตัวของวอลโว่ครั้งนี้จะสามารถทำให้สวีเดน มอเตอร์สดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมาย
มร.โรว์กล่าวว่า "เป้าหมายของปี ค.ศ. 2000 คือการเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านยอดขาย
และการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในกลุ่มตลาดรถยนต์ยุโรป ซึ่งต้องมีส่วนแบ่งการตลาดให้ได้
30%" ปัจจุบันวอลโว่มีส่วนแบ่งอยู่ในอัตราประมาณกว่า 20%