Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541
โรคอัลไซเมอร์             
 





โรคร้ายที่ไม่เพียงแต่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงบุคคลใกล้ชิดที่คอยดูแล ซึ่งอาจถึงขั้นทำลายสัมพันธภาพของคนในครอบครัวให้ร้าวฉานได้

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ ผลกระทบต่อคนทั่วหน้าคือความเครียด ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คนทำงาน แม่บ้าน นักศึกษา นักเรียน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อคนทุกชนชั้น แต่บางครอบครัวต้องเผชิญกับความเครียดมากกว่าปกติ ถ้ามีสมาชิกในบ้านเจ็บป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ซึ่งจะส่งผลกระทบและสร้างปัญหาให้กับครอบครัวมากเอาการ

โรคอัลไซเมอร์เป็นความเสื่อมของเซลล์สมอง อาการเริ่มแรกของผู้ป่วยคือ สูญเสียความทรงจำในระยะสั้นๆ หลง ลืมง่าย หงุดหงิดง่าย เคร่งเครียด ตัดสินใจผิดพลาด สับสน เลอะเลือน ซึ่งสาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ที่พบมากที่สุดมักเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ในวัยกลางคนก็พบบ้าง ส่วนในวัยหนุ่มสาวนั้นแทบจะไม่พบเลย จึงอาจกล่าวได้ว่าเมื่อความชราภาพมาเยือน เราอาจต้องเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์

สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวล เคร่งเครียด ขาดสมาธิ หรืออาการอื่นๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่าเพียงหวาดกลัวว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพราะนั่นอาจเป็นผลจากความเครียดธรรมดาก็ได้ หากเป็นโรคนี้จริงๆ แล้วละก็ อาการจะลุกลามขึ้นเรื่อยๆ จนสังเกตได้อย่างชัดเจนทีเดียว จึงไม่ต้องกังวลเกินไปนัก แต่ถึงแม้ว่าอาการสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีตัวยาที่สามารถช่วยบรรเทาและชะลออาการไม่ให้รุนแรงมากขึ้น

โรคอัลไซเมอร์ไม่เพียงคุกคามผู้ป่วยทำให้คุณภาพชีวิตลดลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงบุคคลในครอบครัว อาจถึงขั้นทำลายสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวใหญ่ที่สมาชิกต่างวัย เช่น คุณปู่กับคุณหลานวัยรุ่น หรือคุณแม่สามีกับลูกสะใภ้ เพราะผู้ป่วยสมอง เสื่อมมักมีพฤติกรรมต่างไปจากเดิม เช่น จากที่เคยร่าเริง จะเก็บตัว ซึมเศร้า บางรายก้าวร้าว และหลงลืม กล่าวโทษ คนรอบข้าง ปัญหา "แม่ผัวกับลูกสะใภ้" จึงอาจเกิดได้ในชีวิตจริง เพิ่มความเครียดให้กับ "คนกลาง" ซึ่งมักเครียดอยู่แล้วในยุคสมัย IMF เช่นนี้

ถ้าผู้สูงอายุในบ้าน มีพฤติกรรมเปลี่ยน ซึ่งอาจเริ่มจากหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นก่อปัญหาก้าวร้าว มีปากเสียงกับคนใกล้ตัวไม่เลือกหน้า หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขับถ่ายเลอะเทอะ ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน เดินบ่นวุ่นวายทั้งคืน ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งถ้าตรวจพบเร็วเท่าไรก็จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์และผู้ป่วยเองในการที่จะเยียวยารักษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เนื่องจากภาวะความจำเสื่อม ผู้ป่วยสมองเสื่อมจึงต้องการความรักความเอาใจใส่จากคนในครอบครัวมากกว่าผู้สูงอายุปกติ เมื่อหลายปีมาแล้ว เคยมีข่าวน่าเศร้าใจที่เศรษฐีนีสูงวัยท่านหนึ่ง พลัดหลงจากผู้ดูแลและหายจากบ้านไป ครั้งแรกตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเป็นกรณีลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ หรือถูกคนร้ายทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์ ภายหลังพบว่าเสียชีวิตอย่างน่าสงสารในป่าโดยพบทรัพย์สินมีค่าตกอยู่ในบริเวณใกล้กับที่พบศพ ปัจจุบันยังพบว่ามีข่าวประกาศหาผู้สูงอายุที่หายออกจากบ้านบ่อยๆ ไม่มีใครป้องกันเหตุน่าเศร้านี้ได้ ถ้าไม่ใช่คนในครอบครัว

หากมีสมาชิกสูงวัยในบ้าน เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ อย่านิ่งนอนใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา วิทยาการแพทย์แผนใหม่ช่วยให้ทั้งผู้ป่วยและญาติสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุขได้ บนพื้นฐานความรักและความเมตตาต่อกัน อย่าปล่อยให้โรคนี้พรากบุพการีผู้มีพระคุณไปจากครอบครัวของท่านก่อนเวลาอันควรเลย

-น.พ.สีมา ศุภเกษม-
อายุรแพทย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา
ร.พ.พระมงกุฏเกล้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us