Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541
เศรณี จับมือซีคอน หาทางออกให้ลูกค้า ไม่ต้องรอ ปรส.             
 


   
search resources

เศรณีพร็อพเพอตี้




สุชีพ อัครเศรณี กรรมการผู้จัดการบริษัทเศรณีพร็อพเพอตี้ กระโดดลงมาในเวทีบ้านจัดสรร เมื่อปี 2537 นี่เองโดยเริ่มทำโครงการเศรณี วิลล่าที่อำเภอบางบัวทอง เป็นโครงการบ้านจัดสรรเล็กที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

เศรณีวิลล่าลากูน โครงการที่ 2 จึงได้เกิดตามมา ในขณะที่กำลังทำการขายอยู่นั้นเอง เหตุวิกฤติครั้งใหญ่ทางด้านการเงินที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ ซึ่งเป็นแหล่งเงินรายใหญ่ของบริษัทถูกปิดลงพร้อมๆ กับสถาบันการเงินอื่นๆ อีก 56 แห่ง ในช่วงเวลานั้นทางบริษัทเศรณีได้ ขายโครงการไปแล้วประมาณ 214 แปลง และกำลังพัฒนาพื้นที่โครงการบางส่วนไปแล้ว เช่น การปรับพื้นที่ ทำถนน และทางเดินเท้า

"ผมอึดอัดมาก เพราะเอาเงินของลูกค้ามาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก่อสร้างบ้านต่อให้เขาไม่ได้ จะหาแหล่งเงินใหม่ก็ลำบาก เพราะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ด้วยเครดิต และความน่าเชื่อถือก็อาจจะยังไม่มากพอ" สุชีพระบายความรู้สึกในตอนนั้น และเล่าต่อว่า เขาตั้งใจจะไม่รอขั้นตอนของ ปรส. แต่จะหาผู้รับเหมาที่มีศักยภาพมาสร้างโครงการต่อ ให้รวดเร็วที่สุด ประจวบกับวันหนึ่งเขาได้อ่านข่าวเจอในหนังสือพิมพ์ว่า บริษัทซีคอนประกาศจะเข้าร่วมทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการ ก็เลยตัดสินใจติดต่อเสนอโครงการไป

แต่ไม่ใช่ว่าเสนอเรื่องไปแล้วจะตกลงกันง่ายๆ เกือบ 4 เดือนเต็มๆ ที่ทางสุธี เกตุศิริ กรรมการผู้อำนวยการสายงานบริหารและการตลาดของซีคอน เข้ามาเป็นตัวประสานพูดคุย และหาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด รวมทั้งขอดูโครงสร้างทางการเงินของโครงการด้วย และพบว่าเศรณีกู้เงินบริษัทจีเอฟมาประมาณ 200 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าทั้งโครงการประมาณ 700 ล้านบาท

ในที่สุดดีลสำคัญก็เกิดขึ้น ทางซีคอนได้ตกลงที่จะเข้าไปสานต่อการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยโครงการนี้ ในส่วนที่ขายไปแล้วประมาณ 214 แปลง และส่วนที่ยังไม่ได้ขายด้วย รวมทั้งหมดประมาณ 311 แปลงเป็นเงินประมาณ 400 ล้านบาท โดยทางซีคอนจะทดรองจ่ายเงินค่าก่อสร้างส่วนหนึ่งไปก่อน และเงินส่วนใหญ่ทางซีคอนจะได้กลับคืนมาเมื่อบ้านสร้างเสร็จและมีการโอน

เมื่อได้ผู้ก่อสร้างที่แน่นอนแล้ว สุชีพก็ติดต่อกลับไปยังลูกค้าทันที มีการสำรวจอย่างจริงจังว่าลูกค้ายังต้องการบ้านอีกหรือไม่ ซึ่งในเบื้องต้นนั้นพบว่ามีประมาณ 50 รายที่ยังต้องการบ้านแน่นอน และยินดีที่จะผ่อนบ้านอย่างต่อเนื่องและพร้อมจะโอนทันทีเมื่อบ้านเสร็จ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจก็จะได้มีการเซ็นสัญญาร่วมกัน 3 ฝ่ายคือทางโครงการ, ลูกค้า และบริษัทซีคอน นอกจากนี้ยังได้ให้ทางลูกค้าเตรียม หลักฐานกู้เงินกับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ไว้ล่วงหน้าด้วย

"เมื่อเราได้คนสร้างบ้านแล้ว มีผู้ที่จะเอาบ้านแน่นอนแล้ว ก็ต้องหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวต่อทันที ซึ่งโชคดี ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ตกลงจะสนับสนุนลูกค้าของโครงการเราแล้ว"

สุชีพย้ำว่า ธอส. มีหนังสือตอบรับมาเป็นทางการแล้วว่า เมื่อบ้านสร้างเสร็จ ลูกค้าจะได้รับเงินงวดสุดท้ายแน่นอน

และที่สำคัญที่สุดเมื่อได้บ้านแล้วผู้ซื้อต้องมั่นใจว่า ทาง ปรส.พร้อมที่จะถ่ายถอนโฉนดให้ ในการนี้ทางบริษัทได้แบ่งโฉนดของที่ดินแต่ละแปลงไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับการยืนยันจาก ปรส.ว่าถึงแม้ทรัพย์สินตัวนี้ ปรส.อาจจะขาย ต่อไปก็จะมีการประสานกับเจ้าหนี้รายใหม่ให้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นบริษัทเศรณี ยังแสดงความจริงใจกับลูกค้า และบริษัทซีคอน โดยเงินดาวน์ที่จะได้รับจากลูกค้าเพื่อใช้ในการก่อสร้างนั้น ได้มีการนำไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ และจะเบิกจ่ายได้ก็ต้องลงลายมือร่วมกันระหว่างบริษัทเศรณีและซีคอน เพื่อลูกค้าและซีคอนเองจะได้มั่นใจว่า เงินที่ผ่อนดาวน์ไม่ได้ถูกนำเอาไปใช้จ่ายผิดประเภทแน่นอน

"ต้องอธิบายลูกค้ากันนานเหมือนกัน เขาถึงจะยอมเชื่อว่าซีคอนจะมาสร้างบ้านให้ และ ธอส.จะปล่อยเงินกู้ให้ เขาไม่อยากเสียเงินต่อแล้วต้องมาคอยนั่งวิตกอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจครับ"

ในช่วงแรกนั้น ซีคอนจะสร้างก่อนประมาณ 50 หลัง เริ่มงานในเดือนกรกฎาคม 2541 นี้ หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคม 2541 จะเปิดขายโครงการส่วนที่เหลือ และคาดว่าจะปิดโครงการได้ประมาณมิถุนายน 2543

เศรณีวิลล่าลากูน ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา มีทั้งทาวน์เฮาส์ขนาด 30 ตารางวา บ้านเดี่ยว 50-90 ตารางวา ราคาบ้านเริ่มที่ 1.6 ล้านบาท และ 2.1-5 ล้านบาท

"เมื่อเราปิดโครงการแล้วแน่ นอนว่ากำไรอาจจะเหลือนิดเดียวหรือไม่ได้เลย เพราะโครงการส่วนหนึ่งขายไปนานแล้ว ในขณะที่ค่าก่อสร้างสูงขึ้นเกือบ 20% แต่เราก็ยอมเพราะเราหวังไว้ว่าเราจะอยู่ในวงการนี้ต่อไป" สุชีพกล่าว

ก็นับว่าเป็นทางออกอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยเหลือลูกค้าได้โดยไม่ต้องรอขั้นตอน ปรส. นอกจากลูกค้าจะได้บ้านแน่นอนแล้ว เศรณีก็ได้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคม บริษัทซีคอนเองก็ได้งานทำ รวมไปถึงซัปพลายเออร์ของซีคอนก็ได้งานทำด้วย และ ปรส.เองก็จะได้เงินคืนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่ต้องรอเวลาขายทอดตลาด ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นมูลค่าหนี้อาจจะลดลงมามากแล้วก็ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us