Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541
แล้วแอปเปิลก็กลับมาใหม่             
 


   
search resources

สหวิริยาโอเอ
APPLE




เมื่อธุรกิจมีขึ้นย่อมมีลง ก็ย่อมมีโอกาสขึ้นได้อีกครั้ง คำปลอบใจที่ทำให้แอปเปิลคอมพิวเตอร์ที่เคยประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จนทำท่าว่าจะไปไม่รอดกลับฟื้นยืนหยัดขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ได้สตีฟ จ็อบ หนึ่งในผู้ก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ที่กลับมากู้วิกฤติให้กับแอปเปิลคอมพิวเตอร์อีกครั้ง

10 เดือนของสตีฟ จ็อบ ไม่เป็นเพียงเป็นวันเวลาของการขจัดปัดเป่าปัญหาที่สั่งสมมาในอดีตเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่ทำให้แอปเปิล กลับมาครองใจบรรดาผู้รักแมค ท่ามกลางคลื่นบูมของพีซี เหมือนอย่างที่เคยทำสำเร็จมาแล้วในอดีต

เมื่อกลับมาใหม่แอปเปิลจึงมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ยังคงยึดคอนเซ็ปต์ที่มุ่งสร้าง "ความแตกต่าง" ที่เป็นการท้าชนกับเพนเทียม ทู ของอินเทลอย่างจัง ด้วยเทคโนโลยีชิปพาวเวอร์พีซี จี 3 ที่แอปเปิลเชื่อว่าเหนือชั้นกว่าเพนเทียม ทูของอินเทล โดยเฉพาะในเรื่องของความเร็ว ที่แอปเปิลพยายามนำมาเปรียบเทียบ

นอกจากนี้ แอปเปิลยังพยายามแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องของตลาดคอนซูเมอร์ ด้วยการส่งเครื่องไอแมค (iMac) ลงมา เพื่อตลาดทางด้านนี้โดยเฉพาะ

สำหรับตลาดในเมืองไทยก็ใช่ย่อย ข่าวคราวปัญหาของแอปเปิลสร้างผลสะเทือนต่อตลาดในไทยไม่น้อย แม้ว่าลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์แมคอินทอชยังจำกัดอยู่เฉพาะไม่กี่กลุ่ม คือ กลุ่มสิ่งพิมพ์ และกลุ่มที่ทำงานทางด้านกราฟิกดีไซน์ แต่เมื่อไปประจวบเหมาะกับพิษเศรษฐกิจดิ่งเหว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบรรดากลุ่มสิ่งพิมพ์และทางด้านวงการโฆษณา ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ ทำให้ยอดขายของแอปเปิลวูบหายไปไม่น้อย

เมื่อสถานการณ์ของบริษัทแม่เริ่มดีขึ้น มีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริกาในไตรมาสแรกของปีนี้โตขึ้น 25% ทำรายได้ช่วงไตรมาสที่สองเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 2.5% และเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ก็ถึงคราวที่แอปเปิลหันมามองตลาดนอกประเทศกันบ้าง ซึ่งเอเชียใต้เป็นอีกตลาดหนึ่งที่แอปเปิลบุกตลาดมานานไม่ต่ำกว่าสิบปี

ไม่เพียงแต่แอปเปิลจะส่งเครื่องรุ่นใหม่ๆ มาวางตลาดให้ลูกค้าในย่านนี้ได้มีโอกาสได้สัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ กันอีกครั้ง ทั้งเครื่องที่เป็นตั้งโต๊ะ และแบบหิ้วถือ (โน้ตบุ๊ค) สำหรับตลาดมืออาชีพ และตลาดโฮมยูส โดยเฉพาะตลาดโฮมยูสนั้น แอปเปิลส่งไอแมคมาวางตลาดด้วย

แอปเปิลลงมือผ่าตัดเปลี่ยนแปลงนโยบายการตลาดขนานใหญ่ เรียกว่าเป็นการปฏิวัติระบบตัวแทนจำหน่ายครั้งใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะอย่างที่รู้ว่าตลาดของแมคอินทอชในไทยนั้น มีสหวิริยาซิสเต็มส์ในเครือสหวิริยาโอเอเป็นผู้ทำตลาด แต่เพียงผู้เดียวเหนียวแน่นมาตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา

มาในวันนี้แอปเปิลยังหันไปยึดหลักการทำธุรกิจในโลกไร้พรมแดน แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสำหรับภูมิภาคเอเชียใต้ (รีเจอนัล ดิสทริบิวเตอร์) รวดเดียว 3 ราย คือ บริษัทไดเวอร์ซิเทค บริษัทฟูลมาร์ และอีอาร์ ทั้งหมดนี้มาจากประเทศสิงคโปร์ โดยให้สิทธิทำตลาดได้หมดทั้ง 14 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียใต้

ซามิท รอย กรรมการผู้จัดการ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ตัวแทนทั้งสามรายนี้ นอกจากจะแต่งตั้งดีลเลอร์ในแต่ละประเทศได้แล้ว ยังสามารถตั้งตัวแทนทำการตลาด (มาร์เก็ตเอเยนต์) ตลอดจนสามารถ แต่งตั้งตัวแทนบริการหลังการขายได้ด้วย ในบางประเทศที่แอปเปิลไม่มีสำนักงานสาขา

นัยว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดของแอปเปิล อันเนื่องมาจากการที่มีคู่แข่งขันมากราย กลไกทางการตลาดจะทำให้ราคาของเครื่องแมคอินทอชนั้นถูกลง ลูกค้าจะมีทางเลือกมากขึ้น ตลาดของเครื่องแมคอินทอชขยายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดคอนซูเมอร์ และการศึกษา เป็นสองตลาดเป้าหมายที่แอปเปิลยังไม่สามารถเจาะเข้าไปได้

ในอีกด้านหนึ่งแอปเปิลเองก็จะได้รับผลดีในเรื่องของการประหยัดต้นทุน ในเรื่องการตั้งสำนักงานตัวแทนและการสต็อกสินค้า เพราะภาระในเรื่องนี้จะตกไปอยู่กับตัวแทนจำหน่ายทั้ง 3 รายนี้แทน

สาเหตุสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ สถานการณ์ของสหวิริยาที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้มีปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินและบุคลากรที่ลดลง ส่งผลให้ศักยภาพในการเป็นตัวแทนจำหน่ายลดลงไป เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แอปเปิลเลือกเปลี่ยนยุทธวิธีการตลาดใหม่ในเวลานี้ และเลือกไทยเป็นประเทศแรก

นอกจากนี้แอปเปิลยังได้แยกเรื่องให้บริการหลังการขายและการตลาด ออกมาจากระบบขายด้วย ซึ่งแต่เดิมสิทธิในการขาย การทำตลาด และการให้บริการหลังการขายจะตกอยู่กับตัวแทนจำหน่ายแบบเบ็ดเสร็จ คือ สหวิริยาซิสเต็มส์เพียงรายเดียว

แอปเปิลได้แต่งตั้งตัวแทนบริการหลังการขาย หรือเซอร์วิสโพรไวเดอร์ จำนวน 2 ราย คือ บริษัทสหวิริยาซิสเต็มส์ และบริษัทแมคอินทอช เซ็นเตอร์ ของวิทยา ว่องวานิช อดีตลูกหม้อเก่าของสหวิริยาซิสเต็มส์ ซึ่งบริษัทนี้จะให้บริการกับลูกค้าที่ใช้เครื่องของแมคอินทอชทุกราย โดยไม่จำกัดว่าจะซื้อจากตัวแทนรายใด นอกจากนี้บริษัทแมคอินทอช เซ็นเตอร์ยังได้รับมอบหมายให้เป็นตัวกลาง ทำการตลาดแทนแอปเปิลในไทยด้วย เช่น กรณีที่มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ จะเป็นหน้าที่ของบริษัทแมคอินทอช เซ็นเตอร์ แต่จะไม่ได้รับสิทธิในการขายเครื่อง

วิธีนี้ เท่ากับเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องบริการหลังการขาย ซึ่งที่ผ่านมาแอปเปิลมีปัญหาในเรื่องของบริการหลังการขาย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้ามาตลอด อันเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งของตลาดแมคอินทอช

สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์ระบบภาษาไทยบนเครื่องแมคอินทอช ซึ่งแต่เดิมแอปเปิลเคยให้สหวิริยาเป็นผู้พัฒนาให้นั้น เวลานี้แอปเปิลได้ซื้อลิขสิทธิ์การพัฒนาภาษาไทยบนแมคอินทอชมาเป็นของตัวเองทั้งหมด และเริ่มทำพัฒนาระบบภาษาไทยเองหลังจากระบบปฏิบัติโอเอส 8.1 เป็นต้นไป

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบกับสหวิริยาโอเอโดยตรง แม้ว่าสหวิริยายังคงได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทยเช่นเดิม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนบริการหลังการขายด้วย แต่สหวิริยาซิสเต็มส์จะไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายรายเดียวอีกต่อไป

ยิ่งไปกว่านั้น คู่แข่งขันของสหวิริยาก็ล้วนแต่เป็นคู่แข่งขันข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายฐานธุรกิจอยู่ในหลายประเทศ รวมทั้งเมืองไทยอยู่แล้ว เช่น ในกรณีของบริษัทไดเวอร์ซิเทค ที่ทำธุรกิจร่วมกับแอปเปิลมานาน นอกจากเป็นตัวแทนจำหน่ายรายแรกของแอปเปิลในเอเชีย ที่ฐานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ และเชี่ยวชาญในเรื่องของตลาดพับลิชิ่งและการศึกษา และยังเคยเป็นหุ้นส่วนกับแอปเปิลในโครงการ แอปเปิล ยูนิเวอร์ซิตี้ ในสิงคโปร์ และเป็นผู้ที่ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ วางระบบและจัดหาคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษาด้วย นอกจากไดเวอร์ซิเทคนั้นมีเครือข่ายธุรกิจในเมืองไทยอยู่แล้ว โดยมีบริษัทไมโคร เอ็กซเพรส ประเทศไทยจำหน่ายอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ซึ่งจะใช้เป็นฐานในการจำหน่ายแอปเปิลในไทย

ลี อัน เชียง ผู้อำนวยการฝ่ายขายของไดเวอร์ซิเทค กล่าวว่า ดีลเลอร์ในเมืองไทยจะสามารถสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากบริษัท โดยจะคิดเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ลูกค้าจะเลือกนำเข้าสินค้าได้เอง ซึ่งจะทำให้ประหยัดต้นทุนกว่าที่จะสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายในไทย

นอกจากนี้แอปเปิลยังมีโปรโมชั่นพิเศษให้กับตัวแทนจำหน่ายทั้ง 3 รายด้วย หากมียอดสั่งซื้อในแต่ละเดือนเกิน 1.5 ล้านเครื่องต่อเดือนขึ้นไป จะได้ลดราคาลงอีก 5% ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้เพิ่มยอดขายให้เร็วขึ้น

การกลับมาใหม่ของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้ จึงเป็นการกลับมาเพื่อทดแทนบทเรียนในอดีต ที่แอปเปิลจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยีใหม่ และการทำตลาดแบบใหม่ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จมากน้อยเพียงใด แต่ที่แน่ๆ งานนี้สหวิริยามีสิทธิหนาวได้เหมือนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us