Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541
CDC ฉวยโอกาสเปลี่ยนผู้ถือหุ้น ขยายเม็ดเงินลงทุนในไทย             
 


   
search resources

CDC




แม้จะปักหลักเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่าศตวรรษ แต่บริษัท คอมมอนเวลธ์ ดิเวลลอปเม้นท์ คอร์ ปอเรชั่น หรือ CDC ก็เพิ่งจะสบโอกาสในคราวที่จะมีการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจของตนเอง ซึ่งรัฐบาลอังกฤษถือหุ้นอยู่เต็ม 100% และจะลดลงเหลือแค่ 40% ขยายเม็ดเงินลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีก 200 ล้านเหรียญฯ ในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า แต่อาจเป็นไปได้ว่าจะนำเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้ภายในระยะ 6-8 เดือนนี้ และมีแนวโน้มจะเพิ่มการลงทุนต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นเพื่อรองรับนโยบายเรื่องการแปรรูปเป็นกิจการของเอกชน ที่คาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการในปี ค.ศ. 2000

มร.ชาร์ลส เซลเลอร์ ผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานซีดีซี ประจำประเทศไทยกล่าวว่า "ซีดีซีมีข้อที่แตกต่างจากสถาบันการลงทุนอื่นๆ คือซีดีซีมุ่งลงทุนและสร้างธุรกิจนั้นๆ ให้เติบโตจนถึงระดับหนึ่ง แล้วจึงลดบทบาทเพื่อให้เอกชนเข้ามาดำเนินธุรกิจต่อไป"

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย นั้น ซีดีซีมีการลงทุนในรูปแบบหุ้นทุน (equity financing) และการปล่อยกู้แก่กิจการต่างๆ (loan financing) ในไทย ประมาณ 13 แห่ง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 110 ล้านเหรียญฯ (ดูตาราง) โดยซีดีซีมีแนวทางการลงทุนในไทยที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของซีดีซีทั่วโลก คือลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์และคุ้มค่าด้านการลงทุน ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยจากการลงทุนทั้งหมดของซีดีซีอยู่ในระดับ 9%-10% แต่ในอนาคตซีดีซีมีนโยบายที่จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนนี้เป็น 16%-17% ซึ่งก็สอดคล้องกับการเพิ่มการลงทุน ทั้งในรูปของหุ้นทุนและในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นของซีดีซีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่ทำให้ซีดีซีสนใจจะเพิ่มบทบาทการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นนั้นมี 2 เหตุผลใหญ่ คือการเปลี่ยนแปลงภายในของซีดีซีที่จะมีการแปรรูปกิจการขายให้เอกชน และอีกประการคือการเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นมากมายในตอนนี้ แม้เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของไทยก็ตาม

มร.เซลเลอร์กล่าวว่า "มีดีลทางธุรกิจเกิดขึ้นน้อยมากในเวลานี้ ทั้งที่จริงๆ แล้วควรจะมีมากกว่านี้ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่มีความมั่นใจในสถานการณ์ของประเทศไทยในตอนนี้ แต่สำหรับซีดีซีนั้น เรารู้จักธุรกิจและนักธุรกิจที่นี่ดีพอ เรามีความมั่นใจว่ามีธุรกิจหลายอย่างที่น่าลงทุน แม้ว่ามีบางอย่างที่มีปัญหา แต่เราเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานที่ดีของประเทศ ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะลงทุนต่อไป"

เม็ดเงิน 200 ล้านเหรียญฯ ที่จะนำเข้ามาลงทุนนั้น เป็นเม็ดเงินที่มีการเจรจาและอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจเซ็นสัญญา ซึ่งหากไม่มีข้อขัดข้องก็คาดว่าจะนำเงินเข้ามาลงทุนได้ภายในปีนี้ด้วยซ้ำ โดยธุรกิจที่อยู่ระหว่างเจรจานั้นได้แก่ โทรคมนาคม โรงแรม พลังงาน และธุรกิจบริการซึ่งรวมถึงบริการด้านการเงินด้วย

วิธีที่จะลงทุนต่อไปนั้นจะเป็นในลักษณะของการร่วมทุน (ถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 15%-25%) บวกกับการปล่อยกู้ ซึ่งจะเน้นให้เกิดควบคู่ไปในลักษณะของแพ็กเกจ โดยระยะเวลาที่จะร่วมลงทุนด้วยนั้นอยู่ในช่วง 3-5 ปี และการออกจากการลงทุนก็ทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่นิยมทำคือการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วขายออกในตลาด แต่วิธีนี้คาดว่าจะทำได้ยากในอนาคต เพราะสถานการณ์ตลาดหุ้นไม่ใคร่ดีนัก อีกวิธีหนึ่งคือการขายคืนให้ผู้ถือหุ้นเดิม

มร.เซลเลอร์กล่าวว่า "วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยขณะนี้ไม่ได้ทำให้พวกเราหวาดหวั่น เราเชื่อมั่นในโอกาสทางธุรกิจระยะยาวของประเทศไทย และประเทศไทยยังคงมีนักธุรกิจที่มีฝีมือและมีธุรกิจที่ดีๆ อยู่มากมาย" นอกจากนี้เขายังออกตัวด้วยว่า "ซีดีซีไม่ใช่นักลงทุนประเภทอีแร้ง ที่เข้ามาหวังผลกำไรระยะสั้นแล้วตีจาก ซึ่งเราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วตลอด 27 ปีที่ผ่านมา เรามั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว"

ทั้งนี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซีดีซีก็เพิ่งอนุมัติเงินกู้ในรูปของ subordinated loan facility อายุ 10 ปี ให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 45 ล้านเหรียญฯ โดยแบ่งเป็นของซีดีซี 20 ล้านเหรียญฯ และอีก 25 ล้านเหรียญฯเป็นของ DEG ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาเช่นเดียวกับซีดีซี แต่เป็นของเยอรมนี

การคิดอัตราดอกเบี้ยนั้น เนื่องจากแม้จะมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ก็มีการบริหารงานแบบเอกชน ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่นี่จึงไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่ถูกเสมือนให้เปล่า แต่มีต้นทุนที่ต้องคิดด้วย ซึ่งสุปิยา อินทรทูต ผู้บริหาร สำนักงานซีดีซี ประเทศไทยกล่าวว่า "ปกติเราจะปล่อยด้วยอัตราที่กำหนดตายตัวหรือ fixed interest rate แต่ตอนนี้ก็อาจจะปรับเป็นอัตราลอยตัว อย่างไรก็ดี เราคิดอัตราอิงกับพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ หรือ Gilt rate บวกความเสี่ยงของประเทศและของโครงการที่เราปล่อยกู้ ซึ่งหากเทียบแล้วก็อยู่ในอัตรา LIBOR +3% ถึง 5% ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ซีดีซีใช้"

ทั้งนี้ ซีดีซีปล่อยเงินกู้ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐและเงินปอนด์ ซึ่งโครงการและเงินกู้ในประเทศไทยที่ทำผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนหรือการกู้ในแต่ละโครงการระหว่าง 5-50 ล้านเหรียญฯ

ด้านข้อมูลการดำเนินงานของซีดีซีนั้น หน่วยงานแห่งนี้มีลักษณะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอังกฤษ โดยรัฐบาลฯ ถือหุ้น 100% เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาที่มีนโยบายในการพัฒนาตลาดเกิดใหม่ โดยการเข้าไปลงทุนในภาคเอกชนในตลาดนั้นๆ

ซีดีซีมีเป้าหมายที่จะสร้างและช่วยขยายธุรกิจของประเทศ ที่มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจให้สามารถยืนหยัดได้ในระยะยาว รวมทั้งสามารถสร้างผลตอบแทนด้านการลงทุน และเน้นการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของจรรยาบรรณอันเคร่งครัด

ในปี 2541 นี้เป็นปีฉลองครบ รอบ 50 ปีของการดำเนินงานของซีดีซี ซึ่งมีเครือข่ายสำนักงานในระดับภูมิภาค 27 แห่งทั่วเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

เมื่อสิ้นปี 2540 ที่ผ่านมานั้น ซีดีซีได้ลงทุน (gross investment portfolio) ไปแล้วเป็นจำนวน 1,600 ล้านปอนด์ ในธุรกิจมากกว่า 400 แห่งใน 54 ประเทศทั่วโลก ส่วนมูลค่าการลงทุนเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น คิดเป็นเม็ดเงินราว 237 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็น 15% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดห

เมื่อสิ้นปี 2540 ซีดีซีมีรายได้เพิ่มขึ้น 12% จาก 141 ล้านปอนด์ในปี 2539 มาเป็น 158 ล้านปอนด์ในปี 2540 และมีกำไรประมาณ 64 ล้านปอนด์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 3% เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มีการขายเงินลงทุนมูลค่า 100 ล้านปอนด์ในกิจการ BAL ซึ่งทำการผลิตน้ำมันปาล์มและเมล็ดกาแฟ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของซีดีซี เป็นต้น

ในเดือนตุลาคม 2540 นายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์แห่งอังกฤษได้ประกาศแผนการแปรรูปกิจการซีดีซี ให้มีลักษณะเป็น public/private partnership โดยรัฐบาลอังกฤษจะขายหุ้นที่รัฐบาลถืออยู่ในซีดีซีออก 60% ซึ่งกระบวนการขายหุ้นครั้งนี้ ได้มีการแต่งตั้งให้ BZW เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการ และคาดว่าต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี จึงสำเร็จ เพราะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อให้ดำเนินการขายหุ้นได้

นโยบายนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของซีดีซีในวาระที่ก่อตั้งมาได้ครบ 50 ปี ลอร์ด เครนส์ (Lord Cairns) ซึ่งเป็นประธานซีดีซี กล่าว ในรายงานประจำปี 2540 ว่า "นโยบายนี้จะทำให้ซีดีซีมีบทบาทมากขึ้น ในอันที่จะพัฒนาธุรกิจที่ได้ลงทุนไว้ในประเทศเกิดใหม่ต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีอุปสรรคจากการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลอังกฤษ" นอกจากนี้ เขามองว่านโยบายนี้ยังช่วยให้ซีดีซี "สามารถเข้าถึงตลาดทุนของเอกชน ขณะที่กลไกการดำเนินงานต่างๆ ของซีดีซียังคงเป็นในลักษณะเดิม เพื่อดำรงบทบาทในการพัฒนาภาคธุรกิจในประเทศยากจน (pre-emerging and emerging markets)"

ทางด้าน ดร.รอย เรย์โนลด์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ซึ่งจะเดินทางมาฉลองวาระครบรอบการก่อตั้ง 50 ปีในไทยในกลางเดือนนี้ ก็ได้เน้นย้ำในประเด็นเดียวกันว่า "การเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนในอนาคตนั้น ซีดีซีจะคงดำเนินงานในลักษณะของธุรกิจเอกชน แต่จะไม่มีข้อติดขัดในเรื่องการถือครองหุ้นของรัฐบาล เจตนารมณ์ของการแปรรูปที่จะเกิดขึ้นก็คือดำเนินงานไปตามเป้าหมายเดิมของซีดีซี และทำในสิ่งที่ซีดีซีมีความชำนาญ ซึ่งก็คือ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากความสำเร็จในการสร้างและพัฒนาธุรกิจ ในประเทศกำลังพัฒนาที่ซีดีซีได้ทำมา และสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจให้แก่ผู้ถือหุ้น และดำเนินงานด้วยจรรยาบรรณที่ดี"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us