Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
แกะรอยขุมทรัพย์เนคเทค             
 

   
related stories

ศึกนักการเมือง VS ดอกเตอร์ที่ขุมทรัพย์ "เนคเทค"
จากไพรัชถึงทวีศักดิ์

   
search resources

เนคเทค




เนคเทค จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2534 ที่จัดทำขึ้นเนื่องจากรัฐบาลต้องการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศ จึงต้องเพิ่มสมรรถนะทางด้านนี้มากขึ้น การระดมทุนและการบริหารทุนเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ ทางด้านนี้ จำเป็นต้องใช้ความชำนาญการพิเศษ ไม่สามารถใช้องค์กรที่มีอยู่แล้ว จำเป็นต้องมีองค์กรที่มีความเป็นอิสระและความคล่องตัวสูง

โดยได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้น เรียกว่าสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งจะมีหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของ สวทช. 3 หน่วยงานประกอบไปด้วย เนคเทค, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เรียกสั้นๆ ว่า ไบโอเทค และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค

ทั้ง 3 ศูนย์นี้มีอิสระในการบริหารงานที่แตกต่างจากระบบราชการทั่วไป เพื่อให้มีความคล่องตัวสูง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการดำเนินงาน การคัดเลือกบุคลากรเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ จะมีความคล่องตัวไม่แพ้กับเอกชน

จะเห็นได้ว่า เนคเทคเป็นองค์กรหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมนักวิชาการระดับมันสมอง ที่พ่วงดีกรีระดับดอกเตอร์ และพบว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับจบปริญญาโทมากที่สุดแห่งหนึ่ง

แต่ 3 ศูนย์นี้จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) โดย กวทช. จะทำหน้าที่กำหนดนโยบาย บริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยี วางมาตรการต่างๆ และยังมีหน้าที่อนุมัติแผนการเงิน และงบประมาณประจำปีของสำนักงาน

คณะกรรมการ กวทช. นั้นจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทย์ เป็นประธาน และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเป็นกรรมการไม่เกิน 22 คน โดยให้แต่งตั้งจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับผู้ซึ่งมิใช่ข้าราชการฝ่ายละเท่าๆ กัน และให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ

ที่แล้วมา ทั้งศูนย์ไบโอเทค เอ็มเทค และเนคเทคต่างก็รับผิดชอบงานของตัวเอง แต่เนื่องจากนโยบายของภาครัฐให้ความสำคัญต่อการนำไอทีไปใช้ในการพัฒนาประเทศ มีการผลักดันให้นำระบบไอทีไปใช้ในหน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ จึงทำให้บทบาทของเนคเทคค่อนข้างโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับอีก 2 ศูนย์

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเนคเทค ที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์นั้นมีขอบข่ายงานที่กว้างมาก นอกเหนือจากการให้ทุนวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกรรม ซึ่งมีทั้งที่เนคเทควิจัยและพัฒนาขึ้นเอง และให้ทุนวิจัยกับสถาบันการศึกษาและเอกชนอื่นๆ ยังทำหน้าที่การให้บริการทางด้านเทคโนโลยี เช่น ให้บริการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ทำห้องสมุดสารสนเทศ ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่คณะรัฐมนตรี รวมไปถึงการจัดฝึกอบรมด้านไอทีด้วย ที่ให้บริการได้กับทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วไป

นอกจากนี้ ในมาตรา 12(5) ของ พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์ ระบุไว้ว่า เนคเทค และอีก 2 ศูนย์นี้สามารถเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัท จำกัด เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นั่นก็หมายถึงว่า เนคเทคสามารถไปร่วมทุนกับเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ทำธุรกิจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งที่ผ่านมาเนคเทคร่วมลงทุนกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) จัดตั้งบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต และยังร่วมลงทุนในบริษัทเทรดสยาม เพื่อให้บริการอีดีไอ หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เรียกว่า ทำทั้งงานทางด้านวิชาการ บริการสังคม และในเชิงเศรษฐกิจ

นอกจากงานด้านปฏิบัติการที่เป็นหน้าที่หลักแล้ว เนคเทคยังเข้าไปมีส่วนในระดับของนโยบายทางด้านไอทีของชาติ โดยได้รับมอบหมายให้เป็น สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (NITC) อันเป็นที่มาของโครงการขนาดใหญ่ อย่าง GINET, ซอฟต์แวร์ปาร์ค และสคูลเน็ท ที่เนคเทคเป็นผู้ผลักดันโครงการทั้งสามนี้ผ่านไปยัง NITC เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งระบุให้เป็นหน้าที่ของเนคเทคโดยตรง

ทางด้านงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน จะมีเงินที่มาจากกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเสินกองทุนนี้ จะประกอบไปด้วย เงินทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณแผ่นดินประจำปี เงินอุดหนุนจากต่างประเทศเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน และดอกผลหรือรายได้ของกองทุน รวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและค่าตอบแทนการใช้หรือการโอนสิทธิบัตร

นอกจากนี้ หากมีโครงการพิเศษที่ต้องใช้เงินจำนวนมากก็สามารถยื่นขอไปยังสำนักงบประมาณ โดยผ่านการพิจารณาจาก ครม.อีกครั้งหนึ่งได้ด้วย

แม้เวลานี้เนคเทคจะยังไม่มีโครงการระดับหมื่นล้านเหมือนกับองค์การโทรศัพท์ฯ หรือ การสื่อสารฯ มีแต่โครงการระดับพันล้าน หรือร้อยล้าน แต่ในภาวะเช่นนี้องค์กรอย่างเนคเทคก็กลายเป็นสาวเนื้อหอมขึ้นมาทันตา

และยิ่งไอทีมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ และทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เนคเทคคงจะถูกรุมตอมไม่แพ้ 2 องค์กรนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us