Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
ปิดตำนานเอื้อชูเกียรติ - ภัทรประสิทธิ์ แห่งแบงก์เอเชีย 2541             
 

   
related stories

จุดจบแบงเกอร์ไทย โฉมใหม่อุตสาหกรรมธนาคาร

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.




หลังจาก ยศ เอื้อชูเกียรติ ตัดใจสละบัลลังก์การบริหารงานของแบงก์เอเชียที่จรูญ เอื้อชูเกียรติ บิดาของเขายกให้เมื่อปี 2524 ให้แก่จุลกร สิงหโกวินท์ มือปืนรับจ้างศิษย์เก่าแบงก์กรุงเทพ เมื่อ 2 ต.ค. 2535 เพื่อผลักให้แบงก์เอเชียก้าวออกจากระบบธุรกิจครอบครัวสู่การบริหารงานแบบมืออาชีพ เท่ากับยศเป็นคนสุดท้ายของตระกูลเอื้อชูเกียรติที่ได้กุมบังเหียนแบงก์เอเชีย (ในขณะที่กลุ่ม "ภัทรประสิทธิ์" หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ มีบทบาทน้อยมากในการบริหารธนาคาร) และนับได้ว่า เขาได้เดินมาถูกทางแล้ว เพราะหากวันนั้นเข้าไม่สลัดความเป็นธุรกิจครอบครัวออกจากแบงก์เอเชีย วันนี้ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ก็คงไม่แตกต่างจาก 6 ธนาคารที่ถูกกองทุนฟื้นฟู ฯ ยึดไป ซึ่งอาจทำให้เขาสะอื้นไม่ออกเลยก็เป็นได้

ยศได้ทาบทามจุลกรมาจากธนาคารกรุงเทพตั้งแต่ปี 2528 เพื่อเข้ามาทำงานที่ธนาคารเอเชียในตำแหน่งผู้อำนวยการสายงานการเงินและธุรกิจ รวมทั้งรับผิดชอบงานต่อจากศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และอำนวยการฝ่ายสินเชื่อของธนาคารที่ลาออกไปอยู่กับ ปตท. ในสมัยนั้นและปัจจุบัน ศิรินทร์ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่อยู่ที่ธนาคารกรุงไทย

ช่วงที่จุลกรเข้ามาร่วมงานกับธนาคารเอเชีย เป็นช่วงที่ธนาคารกำลังมีการปรับตัวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น โดยในปี 2529 ธนาคารเอเชียได้เปิดสำนักงานใหญ่อาคารหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมฝีมือของสุเมธ ชุมสาย ที่ทันสมัยและสร้างความฮือฮา เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลดค่าเงินบาทในปี 2527 ได้พอสมควร

หลังจากเหตุการณ์ลดค่าเงินบาทเมื่อปี 2527 สถาบันการเงินไทยก็อยู่ในภาวะที่ง่อนแง่นมาตลอด โดยปัญหาส่วนใหญ่มาจากการปล่อยสินเชื่อที่ขาดคุณภาพ ส่งผลให้ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงขึ้นกัดกินเงินทุนที่มีอยู่ รวมทั้งผลการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปอุ้ม ธนาคารเอเชียก็เป็นหนึ่งในหลายแบงก์ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 1,500 ล้านบาทระยะเวลาชำระคืน 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขการเพิ่มทุนต่อเนื่องทุกปี

โดยตั้งแต่ปี 2529-2534 ธนาคารเอเชียมีการเพิ่มทุนมาตลอดเป็น 900 ล้านบาทเป็น 1,200 ล้านบาท 1,600 ล้านบาท เป็น 2,400 ล้านบาท และ 2,800 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งการเพิ่มทุนแต่ละครั้งจะต้องขายหุ้นในราคาพาร์ให้แก่กองทุนฟื้นฟู เป็นผลให้กองทุนฟื้นฟูมีหุ้นอยู่ในธนาคารเอเชียจำนวน 15.72% และธนาคารเอเชียก็สามารถชำระเงินกู้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ ในช่วงต้นปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่ธนาคารเอเชียได้เป็นธนาคารแรกที่แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และได้ชื่อใหม่ว่า ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) และในไตรมาสสุดท้ายของปีนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยจุลกร เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน ยศ ทายาทรุ่นสองและรุ่นสุดท้ายของ "เอื้อชูเกียรติ" แห่งธนาคารเอเชียที่ผันตัวเองไปนั่งในตำแหน่งรองประธานกรรมการ ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งรองประธานฯ ตกอยู่ในมือของ นงลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ ในขณะที่เอื้อชูเกียรติแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ เลย

ธนาคารเอเชียเปิดฉากสู่การบริหารธนาคารยุคใหม่ ภายใต้การนำและขุนพลมืออาชีพของจุลกรเขาต้องทำงานหนัก เพื่อพิสูจน์ความสามารถและลบคำสบประมาทจากหลายฝ่ายที่เฝ้าดูเขาอยู่ จุลกรต้องวางแผนกลยุทธ์หลากหลาย นับตั้งแต่กลยุทธ์หลากหลาย นับตั้งแต่กลยุทธ์หลากหลาย นับตั้งแต่กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพรายได้ กลยุทธ์การเพิ่มทุน กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี และกลยุทธ์หาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้บบรรลุ MISSION เมื่อ 6 ปีก่อนของจุลกรคือ "ธนาคารเอเชียจะต้องมีกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดที่มั่นคงและต่อเนื่อง" ซึ่งเขาสามารถทำได้อย่างที่ตั้งไว้ จวบจนสิ้นปี'39 ที่กำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยเริ่มลดลงเหลือ 19% จาก 20.96% ในปี'38 และในปี'40 ลดลงเหลือเพียง 0.39%

ยิ่งไปกว่านั้น ผลประกอบการก่อนสอบทานในงวดแรกของ ปี'41 ธนาคารมีผลขาดทุนสุทธิ 5,441 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุน 12.76 บาทต่อหุ้นลดลงกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีกำไร 2 บาทต่อหุ้น สืบเนื่องมาจากที่ธนาคารได้ตั้งสองรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นเป็นจำนวนสูงถึง 4,950 ล้านบาท โดยตั้งสำรอง 15% สำหรับสินทรัพย์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และ 100% สำหรับสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ รวมทั้งมียอดค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย ด้านภาษีอากรและเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนใหม่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด จากเดิม 0.1% เป็น 0.2 % ของยอดเงินฝากและเงินกู้ยืม เนื่องจากในช่วงครึ่งปีกแรกของปีนี้ธนาคารมีอัตราการขยายตัวด้านเงินฝากสูงสุดในระบบ ส่งผลให้ธนาคารต้องสมทบเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูเป็นจำนวนมากตามไปด้วย และผลขาดทุนจะมีต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้

สำหรับตัวเลขการเติบโตของสินทรัพย์ของธนาคารเอเชียในงวดครึ่งปีแรกของปี'41 ธนาคารมียอดสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 128,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี'40 ด้านยอดเงินฝากรวมทั้งสิ้น 112,838 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.44% และมียอดสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 148,032 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.95% โดยมีสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็น 20.7% ของสินเชื่อทั้งหมด และปัจจุบันธนาคารเอเชียเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของประเทศไทย มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้น 2,300 คน ปฏิบัติงานอยู่ตามสาขาต่างๆ จำนวน 110 สาขาทั่วไทย

คลื่นเศรษฐกิจได้ถล่มภาคสถาบันการเงินระลอกแล้วระลอกเล่า ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งต่างก็ดิ้นสุดตัวเพื่อให้รอดพ้นจากมรสุมครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าธนาคารเอเชียได้เปรียบกว่าธนาคารขนาดกลางและเล็กรายอื่น เนื่องจากได้มีการวางแผนพัฒนาธุรกิจล่วงหน้าอยู่แล้ว ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่จะนำพาธนาคารไปสู่ความเป็นสากล ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า จะเกิดวิกฤติการณ์ขึ้นในประเทศไทย และจุลกรเองตระหนักอยู่เสมอว่า การจะให้ธนาคารมีกำไรอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เกิดจากการขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็วเท่านั้น หากต้องมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุมภายในที่รัดกุมและทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญที่สุดคือ ธนาคารต้องมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจและการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

การดำเนินการหาพันธมิตรร่วมทุนทางธุรกิจจึงได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อต้นปี'40 ที่ผ่านมา จุลกรเล่าว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี'40 มีทั้งสถาบันการเงินและกองทุนจากต่างประเทศหลายแห่งเข้ามาติดต่อกับธนาคาร จากนั้นก็มีการเจรจากันมาตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายปีเหลือสถาบัน 4 รายที่จุลกรเห็นว่ามีความสนใจลงทุนในธนาคารเอเชียจริง เขาเลยเปิดการเจรจากับรายอื่นและโฟกัสมาที่ 4 สถาบันนี้ 1 ใน 4 ของสถาบันที่สนใจก็คือ เอบีเอ็น แอมโร ซึ่งทั้ง 4 สถาบันได้เข้ามาทำ DUE DILIGENCE ในขั้นต้นก่อน และมีการพูดคุยกันตลอดกับแต่ละแห่งในเรื่องของเจตนาการเข้ามา แผนการบริหารงานเบื้องต้น รวมทั้งทัศนะต่อผู้ถือหุ้นเดิมและสัดส่วนการถือครองหุ้น เป็นต้น

ในที่สุดเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 41 นี้ ธนาคารเอเชียได้ตกลงลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเห็นชอบ ให้ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ของธนาคารเอเชีย ในสัดส่วน 75% โดยธนาคารจะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ชนิดเจาะจงให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศประเภทสถาบันการเงินคือ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร

"ทางแบงก์ไม่เคยมีความสัมพันธ์กับทางเอบีเอ็น แอมโรมาก่อนเลยจนกระทั่งมีดีลนี้เกิดขึ้น จากการที่เราส่งข่าวไปยังต่างประเทศว่าเราจะหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมทุนด้วย และเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผู้บริหารด้านธุรกิจต่างประเทศของเขาก็บินมาคุยกับผม และหลังจากนั้นเราก็มีการติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง เอบีเอ็น แอมโร เป็นแบงก์ที่กล้าเสี่ยงและกล้าลงทุนในธนาคารเอเชียที่สุด ที่สำคัญเขามองเมืองไทยในแง่ดี และเขาคิดว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น" จุลกรเล่า

จำนวนหุ้นสามัญดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ :-

1. หุ้นสามัญจำนวน 1,423 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท

2. หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น โดยจะพิจารณาราคาจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหุ้นในงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2542 โดยการชำระค่าหุ้นในส่วนนี้จะไม่ต่ำกว่า 10 บาทต่อหุ้นตามสูตรการคำนวณทรัพย์สินสุทธิของธนาคารตามบัญชีที่ได้ปรับปรุงแล้วต่อหุ้น

นอกจากนี้ได้จัดสรรเพื่อรองรับการแปลงสภาพ หรือรองรับการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นของตราสารต่างๆ จำนวนประมาณ 2.6 ล้านหุ้นด้วย รวมจำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุนครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,426 ล้านหุ้น

สำหรับวิธีการจ่ายเงินของเอบีเอ็น แอมโร เรียกว่า TWO STEP PRICING โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกเป็นเม็ดเงินทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท ซึ่งจะเข้ามาประมาณเดือนกันยายนนี้ หลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการออกหุ้นเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเงินงวดแรกนี้ จุลกรถือเป็นเงินดาวน์การเข้ามาถือหุ้นในธนาคารเอเชีย เป็นการรับประกันว่าอย่างไรก็ตาม เอบีเอ็นแอมโรก็ไม่ถอยแน่

ส่วนเงินงวดที่สองจะจ่ายกันหลังจากมีการประเมินราคา NAV ของธนาคารเเชีย ณ วันที่ 31 ธ.ค. 42 โดยมีฐานการคำนวณจากจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน ณ ปัจจุบันก่อนการเพิ่มทุนครั้งนี้ ผนวกกับอัตราส่วนราคาหุ้นตามบัญชีของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 6 แห่ง ณ สิ้นปี 2542 มาเป็นฐานในการกำหนดราคาขายหุ้นของธนาคารเอเชีย จากนั้นนำราคาที่คำนวณได้หัก 5.27 บาท ที่จ่ายไปแล้วในงวดแรกก็จะเท่ากับเงินส่วนที่เหลือที่เอบีเอ็นต้องจ่ายในอนาคต และราคาที่เอบีเอ็น แอมโรกำหนดไว้เป็นเพดานสูงสุดคือประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับราคาประมาณหุ้นละ 27.50 บาท

"เนื่องจากไม่สามารถตกลงราคากันได้ เราจึงช่วยกันคิดรูปแบบนี้ขึ้นมาจากสมมติฐานที่ว่าในปลายปี 1999 เศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน และราคา BOOK VALUE ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปน่าจะสูงขึ้น ราคาที่ประเมินออกมาจะได้ไม่ต่ำจนกระทั่งผู้ถือหุ้นเสียเปรียบ" เป็นความเห็นของจุลกรและทางเอบีเอ็นก็เห็นด้วย ซึ่งทำให้ทีมผู้บริหารของธนาคารเอเชียยิ่งรู้สึกว่า เอบีเอ็นมีความยุติธรรมมากในการคำนวณราคาของธนาคาร และมีความตั้งใจเข้ามาลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง

ต่อมาเมื่อ 21 พ.ค. 41 เอบีเอ็นแอมโรได้เสร็จสิ้นการดำเนินการตรวจสอบฐานะของธนาคารเอเชียอย่างละเอียด โดยได้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นอย่างเป็นทางการระหว่างสองสถาบันในวันที่ 26 มิ.ย. 41 และเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 41 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมติการเพิ่มทุนครั้งนี้ของธนาคาร เป็นอันว่ากระบวนการเสร็จสิ้นเรียบร้อย

นอกจากเงื่อนไขการประเมินราคาที่ยุติธรรมแล้วนโยบาย รูปแบบการบริหารงาน การดำเนินงานและวิสัยทัศน์ของธนาคารเอเชียจะยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอบีเอ็นยังคงต้องการให้ธนาคารเอเชีย คงสถานะความเป็นสถาบันการเงินของประเทศไทย ไม่มีการเปลี่ยนชื่อธนาคาร ไม่มีการเปลี่ยนผู้บริหารตำแหน่งประธานกรรมการยังคงเป็น ชวลิต ธนะชานันท์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ยังคงเป็น จุลกร คนเดิม และเอบีเอ็น แอมโรจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดในธนาคารโดยจะส่งคนเข้ามานั่งในบอร์ดของธนาคารด้วย รวมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้าน RISK MANAGEMENT ด้าน TREASURY และด้าน TRANSACTION BANK ซึ่งธนาคารเอเชียยังขาดอยู่ มาเสริมให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งครอบวงจรยิ่งขึ้น

สำหรับเป้าหมายใหม่ของทางเอบีเอ็น แอมโรคือ ต้องการให้ธนาคารเอเชียมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดรายย่อยและตลาดขนาดกลางที่ไม่ต่ำกว่า 10% รวมทั้งมีความหวังว่า ธนาคารเอเชียจะเป็น 1 ใน 5 ของธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

"เอบีเอ็น แอมโร พอใจที่จะลงทุนในธนาคารเอเชีย เนื่องจากไม่มี OVER LAB ระหว่างสาขาของเขากับธนาคารของเรา กลุ่มลูกค้าของเรากับของเขาแยกกันชัดเจน คือ เขาจับลูกค้าขนาดใหญ่ ในขณะที่เราจับลูกค้าขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเขาต้องการทำธุรกิจกับลูกค้าขนาดกลางและเล็กในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเขาได้เข้ามาเริ่มต้นในเมืองไทยที่ธนาคารเอเชียเป็นแห่งแรก" จุลกรเล่าที่มาของการเข้ามาลงทุนของเอบีเอ็น แอมโร และกล่าวถึงแผนการทำงานในครึ่งปีหลังของธนาคารเอเชียที่มุ่งเน้นการพัฒนาหนี้ ประนอมหนี้เป็นหลัก โดยมีหน่วยงานพิเศษที่จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะ รวมทั้งเร่งขยายตัวทางด้านเงินฝากรายย่อย ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการโหมทำโปรโมชั่น โดยยอดเงินฝากของธนาคารในช่วงครึ่งปีแรกเติบโตถึง 40% นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในประเทศไทย

จากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคารเอเชีย ที่ส่งผลให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นของสองตระกูล "เอื้อชูเกียรติ" และ "ภัทรประสิทธิ์" ต้องลดสัดส่วนลงเหลืออยู่ประมาณ 10% จุลกรไม่ได้รู้สึกว่ามีผลกระทบใดๆ ต่อการดำเนินงานของเขาเลย เพราะเขาถือว่าเขาเป็นมืออาชีพที่กินเงินเดือนของธนาคาร ไม่ใช่กินเงินเดือนจากผู้ถือหุ้น

"ผมอยู่ที่นี่มา 15 ปีแล้ว และเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่มา 6 ปี ก็มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นมาแล้วไม่รู้กี่รอบผมไม่ยุ่งอยู่แล้วเรื่องผู้ถือหุ้น ถ้าจะเป็นมืออาชีพจริงๆ ทำหน้าที่บริหารงานให้ดีที่สุด เขาจะเปลี่ยนกันอย่างไรก็เปลี่ยนไป ถ้านโยบายเรารับไม่ได้ เราก็ไปนี่ คือ มืออาชีพ"

อย่างไรก็ดี มืออาชีพยังคงต้องเคารพและปฏิบัติตามนโยบายของธนาคาร ซึ่งกำหนดโดยฝ่ายการจัดการและคณะกรรมการของธนาคาร และเท่าที่จุลกรได้รับฟังแนวนโยบายจาก เอบีเอ็น แอมโร เขารู้สึกว่าทัศนะยังตรงกันอยู่

"ทีมผู้บริหารไม่ได้รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ใหญ่โต เพราะว่าแนวนโยบายการบริหารยังคงเดิม ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่โตก็คงในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเอบีเอ็น แอมโร เขาไม่มีนโยบายทำของเสียให้เป็นของดี มีแต่เขาจะมาซื้อของดีแล้วทำให้ดีขึ้น" จุลกรกล่าวอย่างอารมณ์ดี

แม้ว่า ปรัชญาการทำงานหลักของธนาคารเอเชียกับธนาคารเอบีเอ็นแอมโรจะเหมือนกัน ในเรื่องของการเติบโตไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร่งรีบจนเกินไปแต่ในภาวะปัจจุบันมีโอกาสให้ฉกฉวยได้ ทีมผู้บริหารของธนาคารเอเชีย ก็ไม่อยู่เฉย เนื่องจากฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งสนับสนุนอยู่

สิ่งที่ต้องดูต่อไปคือ ธนาคารเอเชียในยุคฝ่าด่านมรสุมเศรษฐกิจจะสามารถยืดชีวิตได้อีกยาวนานสักเพียงใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us