Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
โชคดีของบัณฑูร ล่ำซำ             
 

   
related stories

จุดจบแบงเกอร์ไทย โฉมใหม่อุตสาหกรรมธนาคาร

   
search resources

บัณฑูร ล่ำซำ




แม้จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยล้ำหน้ากว่าหลายๆ อุตสาหกรรม แต่แบงเกอร์ชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ ก็ยอมรับว่า เขามีความเฮงหรือโชคดีหลายอย่างในช่วง 6 ปีครึ่งที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

บัณฑูรเล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังอย่างดูมีอารมณ์ดี ด้วยรอยยิ้มและน้ำเสียงหัวเราะหลายครั้ง แม้จะมีผู้แซวก่อนหน้านี้ว่าเขายิ้มยาก และเคร่งเครียดเป็นนิจ

"ความจริงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี่ก็หัวซุกหัวซุนพอสมควร คือทุกวันนี่มันไม่เหมือนการธนาคารในยุคก่อน ที่ไปเรื่อยๆ ของมัน เป็น club ว่าอย่างนั้นเถอะ เจ้าสัว 15-16 คน มานั่งรวมกัน สมัยก่อนโลกมันเป็นอย่างนั้น แต่นี่มันไม่ใช่แล้ว พอมาถึงสมัยผมนี่ โลกมันเปลี่ยนไป

ดังนั้นจริงๆ ตั้งแต่เข้ามานั่งนี่ก็ล้มลุกคลุกคลาน หัวซุกหัวซุนมาตลอดมันอาจจะรอดมาได้เพราะมันเฮง แต่จริงๆ แล้ว แต่ละวันนี่มองกลับไปมันมีหลายจุดที่เราล้มได้สบาย แม้กระทั่งกรณีภัทรฯ ก็ตาม มันผ่านมาแบบเนื้อตัวถลอกปอกเปิกไปหมด แม้กระนั้นก็ยังไม่หมด ยังต้องไปชี้แจงกับนักลงทุนต่างชาติอีก มันก็… นั่งดูย้อนกลับไปนี่ ชีวิตผม โอ้โฮ อะไรมันเปลี่ยนไปเยอะมันเป็นเรื่องของจังหวะด้วย การทำรีเอนจิเนียริ่ง การสร้างตึก ซึ่งกสิกรไทยนี่เฮงมาก เราสร้างตึกเสร็จก่อน devalue ค่าเงิน ลองนึกดูว่าสร้างตอนที่ devalue นี่อะไรจะเกิดขึ้น ราคามันจะแพงขึ้นไปขนาดไหน รีเอนจิเนียริ่งเหมือนกัน ราคาจะไปขนาดไหน แล้วต้นทุนแบบนั้นมันไม่ย้อนกลับมาอีกแน่ ทุกคนต้องเจอที่ 40 บาท ไม่มีใครได้เจอที่ 25 บาท"

ทั้งนี้ กสิกรไทยมีแผนที่จะไปทำโรดโชว์ในต่างประเทศ เพื่ออธิบายให้นักลงทุนต่างชาติเข้าใจเรื่องการเข้าซื้อกิจการ บง.ภัทรธนกิจ โดยมีบริษัท โกลด์ แมน ซาค เป็นที่ปรึกษา

บัณฑูรเป็นกรรมการผู้จัดการที่กสิกรไทยเมื่อปี 1992 หรือ 2535 นับดูแล้วปีนี้เป็นปีที่ 7 ที่เขาบริหารแบงก์รวงข้าวแห่งนี้ เขาเล่าย้อนไปถึงการทำรีเอนจิเนียริงธนาคารหลังจากที่เข้าบริหารงานไปได้ประมาณปีกว่าว่า "ผมเข้ามาก็มาคลำอยู่ปีหนึ่ง ก่อนรีเอนจิเนียริง ความรู้สึกน่ะหรือ เริ่มรู้สึกเลยว่า เอ แบบเดิมจะไปไม่รอด แต่นึกไปถึงว่า ไปไม่รอดในเชิงของการที่มีคู่ต่อสู้ใหม่ที่แข็งแกร่งแต่ไม่เคยนึกถึงในสภาพปัจจุบันนี้ ไม่นึกว่าประเทศไทยจะล่มขนาดนี้ เพราะตอนนั้นแบงก์ต่างชาติก็เข้ามาแล้ว"

เขาเป็นคนหัวแข็งและคาดว่าน่าจะดวงแข็งพอสมควร เพราะธนาคารฯ ก็ผ่านร้อนหนาวและวิกฤติมาไม่น้อย แต่นับว่าเรื่องดวงแข็งและความเฮงจะอยู่กับเขาค่อนข้างเยอะ อย่ากรณีล่าสุดไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนของแบงก์เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และการเข้าซื้อกิจการของ บง.ภัทรธนกิจ เพื่อไม่ให้สถาบันนี้ต้องล้มไปเพราะขาดสภาพคล่อง ซึ่งประเด็นหลังนี้ ธนาคากสิกรไทยถูกโจมตีมากจากผู้ถือหุ้นของภัทรฯ

เขากล่าวว่า "มันก็เป็นประเด็นที่ผมโดนโจมตีมากจากนักลงทุนว่าดันเข้าไปทำไม คือโลกไม่ค่อยชอบ แต่ในไทยดูดี คล้ายๆ กับว่าค่อยๆ ร่อนลงอย่างนิ่มนวล ไม่ปล่อย crash หากปล่อย ก็ต้องเป็น 1 สตางค์แน่นอน และก็อาจจะมีผลกระทบต่อๆ ไป"

ทั้งนี้ ภัทรฯ แม้จะเป็นไฟแนนซ์รายแรกๆ ที่ออกมาประกาศจัดบ้านเสร็จเรียบร้อย พร้อมรับมือกับวิกฤติที่ยาวนานและมีท่าว่าไม่จบสิ้นครั้งนี้ แต่พลันในไม่กี่เดือนให้หลัง กลับต้องขอให้บริษัทแม่เข้ามาช่วยพยุงสถานะและซื้อกิจการไปในที่สุดนั้น

เรื่องนี้ บัณฑูรอธิบายว่า "เมื่อตอนต้นปี ทุกคนก็คิดว่าจัดบ้านเรียบร้อยดี แต่เปิดมาอีกที ปลวกมันกินไปครึ่งบ้านแล้ว คือมันอาจจะถูพื้นบ้าน ขัดเป็นมันเงา แต่ข้างใต้ ปลวกกินเข้าไปตั้งเยอะ มันจะขึ้นไปกินข้างบนแล้ว ไม่ทันแล้ว ก็รออย่างเดียวจะ soft landing หรือจะ crash landing ภัทรฯ นี่ชัดเจนว่าหากกสิกรไทยไม่เข้าก็เป็น crash landing แต่เมื่อกสิกรไทยเข้าก็เป็น soft landing"

ก่อนที่จะมีการประชุมผู้ถือหุ้น บง.ภัทรฯ เพื่อขอมติฯ ให้ธนาคารเข้าซื้อกิจการโดยการทำ tender offer ที่ราคา 4.50 บาท/หุ้นนั้น ปรากฏมีข่าวก่อนหน้าว่ามีผู้ถือหุ้นไม่พอใจ และบริษัทฯ อาจไม่ได้รับมติฯ ให้ธนาคารเข้าซื้อกิจการซึ่งเรื่องนี้ผู้บริหารของธนาคารและ บง.ภัทรฯ ก็มีความหวั่นใจอยู่ไม่น้อย

บัณฑูรเล่าว่า "วันที่มีประชุมผู้ถือหุ้นวันนั้น หากล้มนี่จะเป็นภาพที่เละเทะมาก โชคดีที่มันไม่ล้ม มันเกินอำนาจผมแล้ว เหลือแต่ว่าจะเป็นปาฎิหาริย์เท่านั้น เพราะจริงๆ มันอยู่ที่กองทุนๆ เพียงหากกองทุนนั้นไม่โหวตให้ ก็ต้องล้ม มันจะเป็นภาพที่เละเทะมาก คือกลับไปแบบเดิม"

"ผู้จัดการรายเดือน" ถามว่ามีเจรจาเพื่อล็อบบี้ผู้ถือหุ้นก่อนเข้าประชุมหรือไม่ เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าจะได้รับมติ ซึ่งบัณฑูรกล่าวว่า "โอย เจรจากันตลอดล็อบบี้มาตลอด ขอจบอย่างนี้ดีที่สุด ว่าหากคุณไม่โหวต คุณก็หนึ่งสตางค์ ไม่ใช่ 4.50 บาท แต่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยบางคนโกรธ คือไม่รู้จะโกรธอะไร ก็โกรธธนาคาร แต่จริงๆ ไม่ใช่หรอก ที่ภัทรฯ มันเสียนี่ ก็เสียโดยตัวภัทรฯ เองและสองโดยระบบเศรษฐกิจมันเสีย ทีนี้ไม่รู้จะโกรธใคร ก็โกรธคนที่ยังยืนอยู่คือแบงก์ ก็ถึงไม่โหวตให้ บังเอิญอันนั้นเป็นส่วนน้อย"

บัณฑูรจึงรอดพ้นวิกฤตไฟแนนซ์ในเครือมาได้ แต่ก็ยังจะต้องไปชี้แจงกับนักลงทุนต่างชาติอีก เพราะ บง.ภัทรฯ มีแผนว่าจะหาพาร์ตเนอร์ต่างชาติมาร่วมลงทุนทำธุรกิจการเงินต่อไปในอนาคต

บัณฑูรยอมรับว่าเขามีโชคดีหลายหน "ใช่ ต้องยอมรับ เรื่องเพิ่มทุนอะไรนี่ ก็ไม่รู้หรอกว่าตลาดจะเปิดแค่เดือนเดียว คือเราพร้อมเราก็ไปดีกว่าไม่อยากรอ แต่ไปนี่เราก็ไม่รู้หรอกว่าอีกเดือนเดียวทำไม่ได้แล้ว ก็คือไป แล้วก็ได้พอแบงก์กรุงเทพไป แป๊ปเดียวก็ปิดแล้ว"

"ผู้จัดการรายเดือน" ถามว่า ความเฮงที่เกิดขึ้นในครั้งหลังๆ นี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องที่แบงค์แก้ไขฮวงจุ้ยครั้งล่าสุดหรือไม่ บัณฑูรตอบว่า "อันนี้ก็แล้วแต่จะว่ากันไป แต่ว่าจริงๆ แล้วในเชิงฮวงจุ้ยเราก็แก้อยู่เยอะเหมือนกัน เราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ตรงไหน ก็คงหลายอย่างประกอบกัน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us