Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
จับตามอง สิริวัฒน์ พรหมบุรี             
 


   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สิริวัฒน์ พรหมบุรี




สิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการธนาคารสงเคราะห์กำลังรับศึกใหญ่ๆ อยู่หลายด้าน ที่ชัดๆ ก็คือจะบริหารพอร์ตสินเชื่อเพื่อการเคหะ ที่มีวงเงินนับแสนล้านบาทไม่ให้กลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพได้อย่างไร ในช่วงเวลาที่ความสามารถในการชำระหนี้ของคนลดลงอย่างรวดเร็ว

ในขณะเดียวกัน ก็มีภาระในการทำเป้าการปล่อยสินเชื่อในปีนี้อีกประมาณ 80,000-100,000 ล้านบาท

ปลายปี 2540 ธอส. มีหนี้ค้างชำระประมาณ 5 หมื่นราย จากลูกค้าประมาณ 6 แสนราย เป็นตัวเลขที่สิริวัฒน์ยืนยันว่าไม่น่าตกใจ แม้ตัวเลขในครึ่งปีแรกนี้ทาง ธอส. ยังไม่เปิดเผยว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าคงไม่น้อยทีเดียว มาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้จึงได้ออกมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 14 มาตรการ โดยซื้อหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงประกาศมาตรการต่างๆ เหล่านี้เพื่อที่จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้ได้รับรู้อย่างทั่วถึง

เริ่มจากเรื่องของการขยายเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้นเป็น 30 ปี ขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระออกมาเป็นงวดๆ หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้ ก็สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลาเงินกู้ได้ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้ได้รับรู้อย่างทั่วถึง

เริ่มจากเรื่องของการขยายเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้นเป็น 30 ปี ขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระออกมาเป็นงวดๆ หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้ ก็สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลาเงินกู้ได้

จัดให้มีโครงการตลาดนัดซื้อขายบ้านและโครงการโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้และขอเช่าทรัพย์ ในขณะเดียวกันตัวเลขของลูกค้าที่ถูกฟ้องของธนาคารอาคารสงเคราะห์เองก็เพิ่มสูงขึ้น มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีก็มี เช่น ในเรื่องของลูกหนี้ชะลอฟ้องนั้นต้องชำระเงินติดต่อให้ทันงวดภายใน 6 เดือน แล้วผ่อนชำระตามสัญญาเดิมหรือลูกหนี้ที่ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนดอกเบี้ย 19% ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน โดยคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องชำระแต่ละเดือนกำหนดระยะเวลา 31 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ผ่อนผัน หากลูกหนี้ชำระหนี้ตามข้อตกลงโดยไม่ขาดส่ง โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารจนครบสัญญากู้เงิน และถ้ายังคงมีลูกหนี้ค้างชำระ ให้ยื่นเรื่องขอทำสัญญาใหม่ หรือกู้เพิ่ม หรือเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญา

ส่วนกรณีการถอนฟ้อง ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องและมาติดต่อชำระหนี้ให้ทันงวดและไม่มีดอกเบี้ยค้าง พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาล และค่าใช้จ่ายครบถ้วน ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือตามประกาศธนาคาร

ส่วนกรณีที่ลูกค้าขอยอมความ ขอชะลอการขายทอดตลาด และขอยึดทรัพย์ทางธนาคารได้มีหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการช่วยเหลือไว้เหมือนกัน

สิริวัฒน์ กล่าวว่าช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ติดต่อขอประนอมหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 9,433 ราย คิดเป็นสัดส่วน 15% ของลูกค้าที่มีปัญหาในการผ่อนชำระ

ส่วนในเรื่องของเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อนั้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 ธนาคารได้ให้บริการสินเชื่อไปแล้วจำนวน 17,500 ล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 9,500 ล้านบาท และสินเชื่อภูมิภาค 8,000 ล้านบาท

ธอส.จะสามารถทำเป้าได้หรือไม่ ในเมื่อตัวเลขของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะชี้ขาดความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงเช่นกัน

ฝ่ายวิชาการของ ธอส. ระบุว่าสมมติให้ประชาชนที่กู้ซื้อที่อยู่อาศัย มีรายได้ 35,000 บาทต่อเดือน เงินงวดที่ผ่อนชำระต่อเดือนที่สถาบันการเงินกำหนดเท่ากับร้อยละ 30 ของรายได้ผู้กู้ ดังนั้นผู้กู้ต้องชำระเงินงวด 10,500 บาทต่อเดือน หากผู้ซื้อบ้านที่มีรายได้ดังกล่าวกู้เงินธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ในช่วงต้นปี 2534 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 15.50 โดยกู้เป็นระยะเวลา 20 ปี จ่ายเงินงวดคงที่ 10,500 บาทต่อเดือน ดังนั้นวงเงินกู้ที่ผู้กู้สามารถจะกู้ได้เท่ากับ 775,500 บาท ในขณะเดียวกันโดยทั่วไปธนาคารจะให้สินเชื่อในสัดส่วนร้อยละ 80 ของมูลค่าหลักประกัน เมื่อคำนวณย้อนกลับจะพบว่าที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ซื้อได้ จะอยู่ในวงเงินประมาณ 969,500 บาท

แต่หากผู้กู้คนเดียวกันขอกู้เงินธนาคารในช่วงต้นปี 2537 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียงร้อยละ 10.75 ผู้กู้สามารถกู้ได้ในวงเงินที่เพิ่มขึ้นเป็น 1,034,250 บาท (เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 258,700 บาท) และราคาบ้านที่ซื้อหาได้จะอยู่ในวงเงิน 258,700 บาท สูงกว่าผู้ยื่นกู้เมื่อปี 2534 ถึง 323,500 บาท ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลงร้อยละ 4.75 ผู้กู้สามารถกู้เงินและซื้อที่อยู่อาศัยในวงเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 33

เท่ากับว่าในทุกๆ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นร้อยละ 1 ผู้กู้สามารถซื้อบ้านลดลงร้อยละ 7

ในขณะที่เวลานี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าที่กู้เงินต่ำกว่า 1 ล้านบาทลงมาประมาณ 1% ธอส. แม้จะลดได้ 1 % เช่นกันแต่สิริวัฒน์ยืนยันว่าต้องใช้เวลาถึง 8 เดือน ซึ่งเป็นเพราะอะไรนั้นเป็นคำถามที่ใครๆ สนใจและเป็นเรื่องที่ธนาคารน่าจะรีบหาทางแก้ไขเพราะถ้าดอกเยยังคงสูงอยู่เช่นนี้ มาตรการประนอมหนี้เองก็คงไม่ได้ผลลูกค้ารายใหม่ก็ไม่เพิ่มขึ้น สิริวัฒน์เจอปัญหาหนักแน่ บทบาทสำคัญของธนาคารในการช่วยเหลือประชาชนในการซื้อบ้านก็ควรจะเปลี่ยนไปเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us