Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
ธีระศักดิ์ สุวรรณยศ ร่ายเวทมนตร์การเงินที่ทศท.             
 


   
search resources

ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ




ธีระศักดิ์ สุวรรณยศ นักการเงินที่รู้จักกันดีในวงการโบรกเกอร์ หลังเงียบหายไปพักใหญ่ วันนี้เขากลับมาอีกครั้งในฐานะมือการเงินบอร์ด ทศท.

ชื่อของธีระศักดิ์ สุวรรณยศอาจยังไม่คุ้นหูในแวดวงสื่อสารโทรคมนาคมเท่าใดนัก แต่หากเป็นวงการเงินทุนหลักทรัพย์แล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จักเขา

หลังจากเงียบหายไปพักใหญ่ วันนี้เขากลับมาอีกครั้ง ในฐานะของบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตามคำชักชวนของสุเทพ เทือกสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

หน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมาย คือ การแปรรูปของ ทศท. ที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หนีไม่พ้นเรื่องของเงินๆ ทองๆ เพราะรัฐวิสาหกิจแห่งนี้จัดเป็นหน่วยงานที่มีรายได้ส่งเข้ารัฐมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีทรัพย์สินที่เป็นโครงข่ายโทรศัพท์ และยังมีสัมปทานสื่อสารอีกมากมายหลายโครงการที่ให้กับเอกชนไป

ธีระศักดิ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในแวดวงการเงินมาไม่น้อยยิ่งในยุคที่ตลาดหุ้นบูม ไฟแนนซ์เฟื่องฟู ฝีไม้ลายมือของเขาถึงขั้นที่หลายคนเคยเปรียบไว้ว่า "พ่อมดการเงิน" ฉายาเทียบเคียงได้กับเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ และราเกซ สักเสนา

สำหรับเชิดศักดิ์นั้นว่ากันว่าทั้งสองสนิทสนมกันดี เพราะมีวิธีการคิด และใช้ชีวิตคล้ายๆ กัน

ธีระศักดิ์ มีเชื้อสายไทย-ปากีสถาน บิดามีเชื้อสายปากีสถาน มีมารดาเป็นชาวไทยภาคเหนือ ในช่วงที่ว่างจากทำงานธีระศักดิ์มักบินไปพักที่บ้านจังหวัดเชียงใหม่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เขาเงียบหายไปจากวงการ และมาเปิดบริษัทของตัวเองที่ชื่อว่า ดีเอส พรูเดนเชียล แมนเนจเมนท์ ซึ่งมีใบอนุญาตที่ปรึกษาการเงิน

ชีวิตการทำงานเริ่มต้นครั้งแรกที่ส่วนงานคาร์โก้บริษัท การบินไทย ตอนหลังย้ายมาอยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์อยู่หลายปี จากนั้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ที่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการเข้าสู่อาชีพโบรกเกอร์อย่างเต็มตัว แต่ธีระศักดิ์อยู่ที่นี่ไม่นาน ว่ากันว่ามีปัญหากับนักลงทุนชาวไต้หวันในเรื่องการซื้อขายหุ้น มูลค่าเกือบ 50 ล้านบาท จนมีคดีฟ้องร้องเรื่องฉ้อโกงกันมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นยังมีกรณีของเสี่ยสอง วัชรศรีโรจน์ข้อหาปั่นหุ้น ซึ่งว่ากันว่าส่งผลกระทบถึงขั้นต้องลาออกจาก บงล.นครหลวงเครดิต

หลังจากเงียบหายจากวงการไปพักหนึ่ง ก็ย้ายมาอยู่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไอทีเอฟประมาณปีกว่า และสามารถฝากผลงานทำกำไรเพิ่มขึ้นก็ยื่นใบลาออกและมีกระแส ข่าวว่า ธีระศักดิ์มีแผนจะไปซื้อซับโบรกเกอร์เล็กๆ เพื่อบริหารเอง แต่ในที่สุดก็มาเปิดบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนที่ชื่อ ดีเอส พรูเดนเชียล แมนเนจเม้นท์ มีลูกค้าหลายกลุ่มที่เคยมาใช้บริการของเขา ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มบ้านฉางของไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กลุ่มโรบินสัน และซีโนบริต ของลิขิต หงส์ลดาลมภ์

ธีระศักดิ์ เคยเป็นศิษย์เก่าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่นี่เองที่ทำให้ธีรศักดิ์ได้พบกับเพื่อนรุ่นพี่ สุเทพ เทือกสุวรรณ เรียนอยู่คณะเดียวกัน และแม้ว่าหลังจากจบการศึกษาทั้งสองจะแยกย้ายไปมีวิถีทางของตัวเอง แต่ก็ยังคบหากันมาจนทุกวันนี้

ทันทีที่สุเทพ ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เฉือนไตรรงค์ สุวรรณคีรี ที่ต้องไปนั่งเหงาๆ อยู่ที่กระทรวงแรงงาน ธีระศักดิ์ถูกดึงตัวมาเป็นที่ปรึกษาของบอร์ดการบินไทย ซึ่งก็อยู่ระหว่างการแปรรูปเช่นกัน จากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอยู่ในบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ชุดปัจจุบันที่มีชัย วีระไวทยะ เป็นประธานบอร์ด ที่ก็มาในยุคของสุเทพเช่นกัน

"ตอนนั้นผมยังอยู่เมืองนอก ไปทำงานเป็นที่ปรึกษา ให้กับลูกค้าที่เป็นบริษัทลงทุนในต่างประเทศ คุณสุเทพก็ใส่ชื่อผมเข้าไปในบอร์ดองค์การโทรศัพท์ ผมยังไม่รู้เรื่องเลย" ธีระศักดิ์ เล่า

ธีระศักดิ์ เล่าว่า สาเหตุที่สุเทพชักชวนเข้าไปทำงาน เพราะเป็นช่วงที่เมืองไทยต้องพึ่งพาเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ ค่าเงินบาทลอยตัว ที่สำคัญรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ก็ต้องแปรรูปเพื่อรองรับกับการเปิดเสรี จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านการเงินเข้าไปเกี่ยวข้อง

"ทุกอย่างในเมืองไทยในเวลานี้ หลังจากเปลี่ยน แปลงเป็นค่าเงินบาทลอยตัว จำเป็นต้องอาศัยไฟแนนเชียลเทคนิคเข้ามาช่วย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" ธีระศักดิ์กล่าว

และนี่เองที่ธีระศักดิ์ มาฝากฝีไม้ลายมือทางด้านการเงินอีกครั้ง และดูเหมือนว่าครั้งนี้เขาลงลึกไปกว่าเดิม

เพราะไม่เพียงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งธีระศักดิ์กำลังเดินหน้าไปอย่างเงียบๆ แต่ต้องมาเจอกับโครงการประมูลร้อนๆ อย่างโครงการประมูลจัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสัญญาณความเร็วสูง (เอสดีเอช) ที่ได้ชื่อว่าอื้อฉาวที่สุดแห่งปี แต่จนบัดนี้ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถเอาผิดกับผู้สมรู้ร่วมคิดในกระบวนการ "ฮั้ว" ของผู้เข้าประมูลทั้ง 6 ราย

บอร์ดทศท.ที่มีมีชัย วีระ-ไวทยะเป็นประธานจึงต้องออกมาแก้เกี้ยวหาทางออกเพื่อลดกระแส "ฮั้ว" โดยมีมติให้ ทศท. เป็นผู้จัดซื้อเอง และให้เอกชน 6 รายคือ อีริคสัน โตเมน ซีเมนส์ จัสมิน มิตซุย และล็อกซเล่ย์เป็นผู้ติดตั้ง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่

พร้อมกันนี้ก็ได้ตั้งคณะกรรม การขึ้นมาอีก 2 ชุด ชุดหนึ่งจะดูเรื่อง เทคนิค ซึ่งมีทวีศักดิ์ กออนันตกูล รักษาการผู้อำนวยการศูนย์อิเล็กทรอ นิกส์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ (เนคเทค) เป็นประธาน คณะกรรมการอีกชุดจะดูเรื่องการเงินมีธีระศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้

คณะกรรมการชุดของทวีศักดิ์ มีหน้าที่ไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาอุปกรณ์เอสดีเอชและเคเบิลที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ทั่วโลก เพราะจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้หลายประเทศยกเลิกหรือชะลอโครงการลงทุนไป ส่งผลราคาที่ขายอยู่ในตลาดโลกลดลง

ส่วนคณะกรรมการด้านการเงินของธีระศักดิ์ จะดูเรื่องเงินงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อ ซึ่งมีเรื่องอัตราค่าเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากซื้ออุปกรณเอสดีเอชและเคเบิลนั้นมาจากหลายประเทศ จำเป็นต้องใช้เงินหลายสกุล ทั้งดอลลาร์สหรัฐ มาร์กเยอรมัน เงินเยน เงินฟรังซ์ของฝรั่งเศส

ธีระศักดิ์ ไม่ได้ทำแต่เพียงแต่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่ง ทศท.ต้องรีบศึกษาเอาไว้ เพราะเมื่อ ทศท.เป็นผู้ซื้อเองก็จำเป็นต้องรับผิดชอบเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าเงินบาท แต่ยังเตรียมนำเอาเครื่องมือทางการเงินเข้ามาใช้ร่วมด้วย

ธีระศักดิ์ เล่าว่า เครื่องมือทางการเงินที่จะนำมาใช้มีอยู่หลายวิธี เขายกตัวอย่างว่า การทำประกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือที่เรียกว่า การทำเฮดจ์ (Hedging) เป็นหนึ่งในวิธีทางการเงินที่จะนำมาใช้

อีกวิธีหนึ่ง คือ การทำอาร์บิทาจ (Arbitrage) หรือ การทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น เอาเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงที่ค่าเงินตก พอค่าเงินขึ้นก็ขาย และนำเงินกำไรมาซื้อเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงที่ค่าเงินเยนตก ทำกำไรจากค่าเงินเหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ธีระศักดิ์บอกว่า เขาจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเอง

"เราจะต้องอาศัยข้อมูล เราจะดูความเสี่ยงให้น้อยที่สุด ถ้าเราเห็นว่าค่าเงินที่ถืออยู่จะตก เราก็ทำประกันความเสี่ยงเอาไว้" คำตอบของธีระศักดิ์

ยังไม่แน่ชัดว่า ธีระศักดิ์นั้นเคยมีประสบการณ์กับเรื่องนี้เพียงใด แต่ที่แน่ๆ องค์การอย่างแบงก์ชาติก็เคยบอบช้ำอย่างหนักกับเรื่องเหล่านี้มาแล้วอย่างสาหัส จนกลายเป็นปัญหาที่ทำให้เมืองไทยต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้

และที่แน่ๆ โจทย์ทำนองนี้ ธีระศักดิ์ถนัดนัก

สำหรับการแปรรูป ทศท. ธีระศักดิ์บอกว่า การแปรรูปจะต้องมีกระบวนการ และมาตรฐานที่เป็นสากล ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่การตีมูลค่าทรัพย์สินของ ทศท. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่ดิน มีสายโทรศัพท์ มีสิทธิในการทำมาหากิน มีสัมปทานสื่อสารต่างๆ ที่ให้กับเอกชนไป ทั้งหมดนี้จะต้องตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงิน

แม้ว่าทศท.จะมีที่ปรึกษาทางการเงิน 2-3 รายที่กำลัง ทำในเรื่องนี้อยู่นั้น ก็ต้องมาดูว่าแต่ละรายใช้มาตรฐานอะไรในการตีมูลค่าของ ทศท.เพราะหากทำกันคนละมาตรฐาน ก็จะส่งผลถึงมูลค่าหุ้นของ ทศท.ในอนาคตด้วย

ส่วนแผนการแปรรูป ทศท. ที่ ทศท.ให้คูเปอร์แอนด์ไลแบนด์ไปทำไว้นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ธีระศักดิ์บอกว่า ขั้นต่อไป ทศท.จะต้องทำ "ไฟแนนซ์เชียลโมเดล" เพื่อมาทำเรื่องการตีมูลค่าของ ทศท.ซึ่งจะมีการออกทีโออาร์ เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงินมาทำในเรื่องนี้โดยเฉพาะในเร็วๆ นี้

เพราะหลังจากทศท.แปรรูปมาเป็นบริษัทเอกชนแล้ว จะต้องนำหุ้นบางส่วนขายให้กับเอกชนและประชาชนทั่วไป โดยนำบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

และนี่ก็เป็นงานที่ธีระศักดิ์ถนัดอีกเช่นกัน

ธีระศักดิ์ ยังเป็นกลไกสำคัญของการสร้างโมเดลใหม่ให้กับบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ที่มีมือไฟแนนซ์นั่งประจำอยู่ทุกบอร์ด แทนที่จะมีเฉพาะตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และตัวแทนทางกฎหมาย

ทีมไฟแนนซ์ทั้งหมดนี้จึงผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วอย่างโชกโชน แต่ละคนก็่มีประวัติศาสตร์เป็นของตัวเอง หลายคนในนี้ไม่ได้เป็นแค่คนในแวดวงเดียวกันเท่านั้น ทั้งธีระศักดิ์, ลิขิต หงส์ลดารมภ์ และวิเชษฐ์ บันฑุวงศ์ เคยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของบริษัทซีโนบริต ที่ได้ชื่อว่าปราบพ่อมดการเงินมาแล้ว

ก็ขึ้นอยู่กับว่า สุเทพจะอาศัยประสบการณ์ด้านการเงินจากบุคคลเหล่านี้ ทำประโยชน์ให้กับหน่วยงานของรัฐเหล่านี้ได้เพียงใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us