Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
บำรุงราษฎร์ ปิ๊ง หาลูกค้าจากทัวร์ต่างชาติ             
 


   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์




ในห้วงความสำเร็จการดำเนินงานของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ช่วงนั้น รพ.หลายๆ แห่งมีอัตราการขยายตัวอย่างมากทั้งผลการดำเนินงานจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ทำให้ต้องขยายธุรกิจออกไปแทบทุก รพ. เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด เพราะธุรกิจดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และสูงกว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมประมาณ 2 เท่า ดังนั้น "น้ำขึ้นให้รีบตัก" คือ สุภาษิตที่ผู้บริหาร รพ.เอกชน นำมาใช้เมื่อยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู อย่างไรก็ตามจำนวนเม็ดเงินลงทุนก็สูงขึ้นเงาตามตัว

ปัจจุบันเมื่อเศรษฐกิจตกสะเก็ด ธุรกิจ รพ.เอกชน เริ่มออกอาการไม่ค่อยดี โดยมีตัวแปรที่สำคัญ คือ วิกฤติด้านการเงินเมื่อกลางปี 2540 ทำให้ธุรกิจนี้มีผลประกอบการลดลง การเพิ่มขึ้นของมูลค่าหนี้ที่ต้องชำระคืน และที่สำคัญความล่มสลายของภาคธุรกิจทั่วไปของชนชั้นกลางที่ถือว่าเป็นกำลังซื้อที่สำคัญของ รพ.เอกชน

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ที่ถือว่าเป็น รพ.เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งค่ารักษาก็สูงเป็นอันดับหนึ่งเช่นเดียวกัน คือ ตัวอย่างชัดเจนของการได้รับบาดเจ็บจากพิษเศรษฐกิจในช่วงนี้ สาเหตุมาจากการขยายตัวในการสร้างอาคารแห่งใหม่ ซึ่งมีขนาด 554 เตียง สามารถให้บริการผู้ป่วยนอกได้ถึงวันละ 3,000 ราย โดยใช้เงินลงทุนไป 2,800 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้รวมของบริษัทสำหรับปี 2540 มีจำนวนเพียง 196.22 ล้านบาท ลดลงจากปี 2539 ซึ่งมีรายได้รวม 1,305.89 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนลดลง 84.97% นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้บริษัทฯ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 2,186.11 ล้านบาท และมีภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 143 ล้านบาทเทียบกับปี 2539 ที่มีภาระจ่ายดอกเบี้ยเพียง 59 ล้านบาท นอกจากนั้นยังได้รับผลขาดทุนจากบริษัทฯ ย่อยที่ประสบปัญหาขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ปี 2540 ขาดทุนสุทธิ 2,544.77 ล้านบาท ขณะที่ปี 2539 มีกำไรสุทธิ 92.79 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามสัญญาณในทางบวกก็เริ่มกลับเข้ามาแล้ว เมื่อผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2541 บริษัทฯ มีรายได้รวม 977.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วงวดเดียวกัน 56.79% และมีกำไรสุทธิ 333.29 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันปีที่แล้วขาดทุนสุทธิ 65.27 ล้านบาท

"เราเป็น รพ. ขนาดใหญ่จึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก แต่โรงพยาบาลขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบมาก คาดว่าครึ่งปีแรกผู้ป่วยลดลงประมาณ 20% โดยหันไปใช้บริการใน รพ.รัฐบาล เพิ่มมากขึ้นประมาณ 20-25%" นพ.ชาตรี ดวงเนตร ผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการการแพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์ กล่าว

ผู้ใช้บริการของ รพ.บำรุงราษฎร์ จัดว่าเป็นอยู่ในระดับขั้นเศรษฐีของประเทศไทย ดังนั้นไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลงบุคคลเหล่านี้ก็ยังมีกำลังเพียงพอที่จะเลือกใช้บริการใน รพ. ที่เหมาะสมกับฐานะตัวเอง และถ้าแยกสัดส่วนผู้ใช้บริการระหว่างคนไทยกับต่างประเทศแล้วประมาณ 76% จะเป็นคนไทย อีกประมาณ 24% เป็นชาวต่างประเทศ และล่าสุดจำนวนผู้ป่วยในของ รพ. บำรุงราษฎร์เพิ่มขึ้นกว่า 7% และผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นประมาณ 21% ถ้าเทียบกับจำนวนผู้ป่วยของ รพ.คู่แข่งที่อยู่ในระดับเดียวกัน

"เราคาดว่าธุรกิจนี้จะซบเซาไปอีกประมาณ 3 ปี ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ถ้าฟื้นช้าเราก็พลอยช้าตามไปด้วย"

อย่างไรก็ตาม รพ.บำรุงราษฎร์ไม่นิ่งนอนใจในการพยายามกระตุ้นผลการดำเนินงานของตัวเองให้เพิ่มขึ้น ล่าสุดได้ออกโปรแกรมตรวจสุขภาพพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยภายใต้โปรแกรม "Amazing Healthcare" ซึ่งถือว่าเป็น รพ. แห่งแรกในไทยที่ดำเนินการในลักษณะนี้

"ผลของการลดค่าเงินบาท ทำให้การบริการด้านสาธารณสุขของไทยได้รับความสนใจจากคนไข้ชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก และในขณะนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่เราอยู่ในฐานะที่จะส่งออกการบริการทางด้านสุขภาพ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย" เคอร์ติส เจ. ชโรเดอร์ ผู้อำนวยการด้านบริการ รพ.บำรุงราษฎร์ กล่าว

โปรแกรมดังกล่าว รพ.บำรุงราษฎร์จะร่วมกับบริษัท ไทยสินเอ็กซเพรส จำกัด ซึ่งทำกิจการทัวร์ในประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น โดยนักท่องเที่ยวจะใช้เวลาคืนแรกในไทยเข้าพัก ณ ห้องพักใน รพ.บำรุงราษฎร์ และเข้ารับการตรวจสุขภาพในวันรุ่งขึ้น หรือไม่ต้องเข้าพักใน รพ. แต่จะมีโปรแกรมตรวจสุขภาพในวันถัดมาโดยใช้เวลาประมาณครึ่งวัน การตรวจสุขภาพตามโปรแกรมที่ออกแบบเป็นพิเศษ รวมถึงการตรวจสุขภาพทั่วไป และยังมีอาหารกลางวันและอาหารค่ำทั้งไทยและญี่ปุ่นให้อีกด้วย ซึ่งราคาจะเป็นลักษณะแบบเหมาจ่าย

"คาดว่าลูกค้าชุดแรกจะเข้ามาในเร็วๆ นี้ เราตั้งเป้าไว้ว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะมีลูกค้า 1,000 คน จากนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เข้ามาในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 40,000 คน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายการตรวจสุขภาพในบ้านเราถูกว่าในญี่ปุ่นประมาณ 3 เท่า ส่วนนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ คาดว่าจะตามมาแน่นอนไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรืออเมริกา" นพ.ชาตรี กล่าว

ชโรเดอร์ กล่าวเสริมว่า การส่งออกบริการด้านสุขภาพ รพ.บำรุงราษฎร์มีแนวความคิดและดำเนินการมานานแล้ว ซึ่งผู้มาใช้บริการมีทั้ง ลาว พม่า เวียดนาม เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน โดยปีที่ผ่านมาผู้ป่วยจากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการใน รพ.บำรุงราษฎร์ ประมาณ 120,000 คน

ถ้าเทียบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพแล้วปรากฏว่า ในไทยเสียค่าใช้จ่าย 1,750-4,750 บาท , ญี่ปุ่น 3,500-9,500 บาท, สิงคโปร์ 5,250-14,250 บาท, ประเทศในยุโรป 8,750-23,750 บาท และอเมริกา 14,000-38,000 บาท

นี่คือตัวอย่างบางตอนสำหรับทางออกของธุรกิจ รพ.เอกชน ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง เพราะถ้าจะรอให้ลูกค้าเข้ามารักษาแล้วยังต้องออกไปหาลูกเข้ามาอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us