หนังสือพิมพ์ เป็นภาพสะท้อนของสังคมเป็นความจริงไม่น้อยทีเดียว
หนังสือพิมพ์วันนี้เปลี่ยน แปลงแนวความคิดไปมาก แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญบางประการ
ซึ่งผมคิดว่าเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของสังคมไทย
"พัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย เป็นภาพสะท้อนพัฒนาการสังคมอย่างแจ่มชัดที่สุด
หน้าที่ของหนังสือพิมพ์นั้น อธิบายสั้นที่สุดก็คือ อรรถาธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ไทยกำลังเผชิญปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ในยุคข้อต่อประวัติศาสตร์นี้ขณะที่สังคมไทยต้องการข้อมูลข่าวสาร ที่มีคุณภาพมากขึ้นในอัตราเร่ง ที่สูง
แต่เงื่อนไขอันเอื้อต่อธุรกิจ หนังสือพิมพ์ไปในทิศทางนั้น กลับไม่ปฏิภาคตาม
โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ซึ่งมุ่งอรรถาธิบายปรากฏการณ์ทางธุรกิจ
อันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจไทยพัฒนาองค์กรไปอย่างรวดเร็ว มีลักษณะสากลมากขึ้น
ในกลุ่มธุรกิจเป็นแกนของสังคมธุรกิจไทย ข้อเรียกร้องของกลุ่มธุรกิจ เป็นแกนของสังคมธุรกิจไทย
ข้อเรียกร้องของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ต่อข้อมูลข่าวสารจึงสูง และพยายามไต่บันไดในระดับสากลเช่นเดียวกัน
ส่วนหนังสือพิมพ์ธุรกิจไทยนั้น มีประวัติศาสตร์อันสั้น ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นผู้ประกอบการ
(Entrepreneur) คนเดียวพยายามสร้างธุรกิจขึ้นจากระบบบริหารง่ายๆ ไม่แตกต่างจากธุรกิจระบบครอบครัวเท่าใดนัก
จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย ที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ธุรกิจ
จะสะสมทุนอย่างตรงไปตรงมาอย่างรวดเร็ว และพัฒนาธุรกิจก้าวทันการพัฒนาสังคมธุรกิจ"
(วิรัตน์ แสงทองคำ ผู้จัดการรายสัปดาห์ ตุลาคม 2532)
นี่คือ แนวคิดของผม ที่อรรถาธิบายภาระหน้าที่ และพัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไว้เมื่อกว่า
10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ยังคงดูเหมือนจะยังไม่ก้าวหน้าไปเท่าใดนัก
ใน 10 ปีมานี้ กระแสความคิด 2 กระแส ปะทะกันรุนแรงที่สุด
กระแสหนึ่ง เป็นมรดกในช่วง 4 ทศวรรษ ที่ผ่านมา ที่เป็นยุคก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทย
ในสังคม ที่การเมืองครอบงำด้วยเผด็จการ หรือขัดจังหวะด้วยเผด็จการเป็นช่วงๆ
เช่น ภูเขาไฟ ที่ระเบิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยไม่คาดหมาย ทำให้ผู้คนถูกครอบงำด้วยความหวาดกลัว
ความคิดใหม่ไม่ใคร่จะเกิดขึ้น
เหตุการณ์ทางสังคมดำเนินไปอย่างง่ายๆ ใจกลางอยู่ ที่อำนาจรัฐ การรายงานข่าว
ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น จะสามารถรายงานอย่างตรงไปตรงมาได้หรือไม่
เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด
คำว่า "เสรีภาพของหนังสือพิมพ์" ได้ก่อเป็นผลึกอุดมคติของวิชาชีพ ที่ชัดเจน
การต่อสู้ เพื่อเสรีภาพ การเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้น ตามเจต จำนงของนักข่าวเป็นมรดก ที่ตกทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้
อุดมคติของหนังสือพิมพ์ คือ การรายงาน ข่าวจากมุมมองของตนเอง จากเจตนารมณ์ของตนเอง
จากความคิดแข็งตัว ว่าด้วยเสรีภาพ ความเอนเอียงของเสรีภาพ ก็คือ ความสัมพันธ์ ที่แยกไม่ออกระหว่างหนังสือพิมพ์กับรัฐ และการเมือง
ขณะท่องคาถาเสรีภาพ ก็ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของกลุ่มการเมือง หรือยืนอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ในสถานการณ์หนึ่งๆ เพื่อความ อยู่รอดของหนังสือพิมพ์ไปด้วย
อีกกระแสหนึ่ง ในช่วง 10 ปีมานี้ สังคมเปลี่ยนแปลงไปมากจากสังคมใจกลาง ที่รัฐ
เหตุการณ์ดำเนินไปง่ายๆ กลับซับซ้อนมากขึ้น การเจริญเติบโตของภาคธุรกิจ ที่มีกลไกเฉพาะ
ต้องการความรู้เฉพาะทางมากขึ้น ความเกี่ยวพันอย่างซับซ้อนของสังคม ไม่ว่า
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ดำเนินไปอย่างแยกจากกันไม่ออก ภายใต้สังคมเคลื่อนตัวเข้าอยู่ในเวทีสังคมโลกอย่างแนบแน่น
ในขณะเดียวกันเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ก็มีปัญหาน้อยมาก
สังคม ต้องการหนังสือพิมพ์ ที่รายงานการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นสาระมากขึ้น
ข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้คนต้องการ เป็นข้อมูลในการดำเนินชีวิต การทำงาน การประกอบอาชีพ
การดำเนินธุรกิจ ไปสู่เป้าหมายของแต่ละคน เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมั่นคง
ผู้คนในเวลานี้ ไม่ใช้หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งอ้างอิงของอุดมคติทาง การเมือง
เช่นแต่ก่อน
ความสับสน ความขัดแย้งของแนวคิด สองกระแสปกคลุมสังคมไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งผมถือเป็นช่วงต่อ ที่สำคัญของการสถาปนาขึ้นเป็นสถาบันวิชาชีพ ที่มีลักษณะของตนเองในสังคมในเวลาต่อไป
ปรากฏการณ์ของความสับสนนั้น ก่อให้เกิดความขัดแย้งหลายประการ
ข่าวการเมืองกับข่าวเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์ไทย แยกข่าวสารของ 2 ประเภท
ออกจากกันอย่างเด่นชัด ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ที่ผ่านมา มาระยะหลังพยายามผสมผสานกัน
แต่ไม่กลม กลืน อิทธิพลแนวคิดทางการเมือง ซึ่งถือเป็นโครงสร้างความคิดไม่ซับซ้อน
เข้ามาอรรถาธิบาย เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ข่าวเศรษฐกิจถูกแทรกด้วยข้อสรุปง่ายๆ
และตายตัวเสมอ
ขณะเดียวกัน ก็เกิดข่าวธุรกิจด้านเดียว บรรดานักข่าวธุรกิจ ก็ใช้ความคิดจากโครงสร้างง่ายๆ
มองสังคมธุรกิจอย่างง่ายๆ จากมุมมองด้าน ธุรกิจพื้นๆ พยายามหาข้อสรุปความสำเร็จ
ความ ล้มเหลว ผลประโยชน์ จนทำให้ข่าวธุรกิจไม่สามารถอรรถาธิบายภาพรวม หรือแนวโน้มได้
มิติของสังคมธุรกิจ อันมาจากแนวคิดการจัดการ การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
การพัฒนาเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตลอดจนชีวิต และความสัมพันธ์ทางสังคม
วัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ไม่อาจอรรถาธิบาย อย่างผสมผสานในข่าวเศรษฐกิจ
โครงสร้างความคิดทำนองนี้ ดูเหมือนจะเป็นเกราะ ที่แข็งแรงมากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วง
5-6 ปีมานี้ ธุรกิจหนังสือพิมพ์แสวงหารายได้อย่างมากมาย โดยการนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งถือเป็นโอกาสใหม่ของธุรกิจนี้ ผู้คนพยายามมองว่าเป็นอุตสาหกรรมแต่จนแล้วจนรอด
กลายเป็นก้อนเงิน ที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ในทางอื่น ขณะที่นักข่าวมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม มิได้ก่อประโยชน์ หรือพัฒนาโครง สร้างความคิดของหนังสือพิมพ์
ให้สอดคล้อง กับสังคมมากขึ้นเท่า ที่ควร" (วิรัตน์ แสงทองคำ ผู้จัดการรายสัปดาห์
มีนาคม 2540)
ความสับสน ที่ว่านี้เป็นภาพสะท้อนในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู อย่างไรก็ตาม เมื่อเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
"ความสับสน" นี้ก็ยังอยู่
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษ หรือความจริงไม่อาจปฏิเสธได้อย่างหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทย
ก็คือ ทั้งผู้ประกอบการ (เจ้าของ) และนักข่าวจำนวนไม่น้อย มีความสัมพันธ์โดยตรง และโดยอ้อมกับอำนาจเสมอมา
นับเป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจากยุคการต่อสู้กับเผด็จการได้อย่างกลมกลืน หนังสือพิมพ์ยุคใหม่จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ และสังคมเสมอมา
ไม่ว่าสังคมจะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม
ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ก็จะไม่วิจารณ์ ซึ่งกัน และกัน ที่เขาเรียกกันว่า
"แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน" กลายเป็นวัตรปฏิบัติสืบทอดกันมา ภายใต้ความเชื่อ ที่ว่า
หนังสือพิมพ์เป็น "ภาพสะท้อนของสังคม" เป็นตัวแทน "ความบริสุทธิ์" ที่จะชี้ความถูก
ผิด ดี งามของสังคม อะไรเทือกนั้น แม้แต่จำเป็นจะกล่าวถึงหนังสือพิมพ์กันเอง
ยังใช้คำว่า "หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง"
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ได้ทำลายความเชื่อเหล่านั้น ไปมากทีเดียว ซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดีมาก
หนังสือพิมพ์วันนี้ "แตะต้อง" กันมากขึ้น
ปรากฏการณ์หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆรายงาน ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์
อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังๆ มานี้ และดูจะเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากทีเดียว
ในเชิงพัฒนาการสังคมไทย
การรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ ตลอดแนวทางการทำงานเชิงธุรกิจของหนังสือพิมพ์
เป็นการรายงานข่าวเข้าสู่"สาระ" ของหนังสือพิมพ์อย่างแท้จริง เพราะผู้ประกอบการ
(เจ้าของ) ก็คือ ผู้นำอย่างเต็มรูปของวงการหนังสือพิมพ์ ซึ่งถือว่าการบริหารโดยผู้นำอย่างเข้มแข็ง
และเบ็ดเสร็จยังมีอยู่มากกว่าธุรกิจสมัยใหม่อื่นๆ
ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นภาพสะท้อนในเชิงพัฒนาสังคมโดยรวม อย่างน้อย 2 ประการ
หนึ่ง - ยอมรับความจริงของหนังสือพิมพ์เสียทีว่า หนังสือพิมพ์ ที่ว่าเป็น
"ภาพสะท้อนของสังคม" นั้น แท้จริงก็คือ ส่วนหนึ่งของสังคม ที่สำคัญอยู่ในอำนาจของสังคมด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ "ภาพสะท้อนของสังคม" ย่อมสะท้อนมาจากมุมมองของส่วนหนึ่งของอำนาจสังคม
ซึ่งมีหลากหลายมาก
สอง - "ภาพสะท้อนของสังคม" หรือ "สิ่งบริสุทธิ์ของสังคม" ที่เป็นอุดมคติมายาวนานต่อเนื่องมาจากยุคเผด็จการ
ความสำคัญ และภารกิจ ที่ยิ่งใหญ่ของหนังสือพิมพ์ก็คือ "ความกล้าหาญ" การเสนอข้อมูลข่าวสารในยุคที่ผ่านมา
หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม เพียงเพราะบริหาร
"ความกล้า" อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่าการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ
เมื่อหนังสือพิมพ์ "แตะต้อง" หนังสือพิมพ์ ในฐานะ ที่มีอุดมคติเดียวกัน จะต้องมุ่งไป ที่การแสวงหาเหตุผลที่ดีมาให้กับสาธารณชน
ผมเชื่อว่า นี่คือ แรงกดดันอย่างสำคัญ ที่ทำให้หนังสือพิมพ์ไทย พัฒนาการแสวงหาเหตุผลที่ดี
ซึ่งหมายถึงพัฒนาความสามารถเชิงวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญมากในยุคนี้
พร้อมๆ กับผู้อ่านก็เรียนรู้ได้มากขึ้นว่า "ภาพสะท้อนของสังคม" กลายเป็นภาพ ที่ไม่ตรงกันนั้น
ผู้อ่านสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และสร้างภาพ ของตนเองจากบางส่วนของ "ภาพสะท้อนของสังคม"
หลายภาพจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
นี่คือ พัฒนาการทางความคิดของสังคมไทย ที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง
แนวโน้มนี้ถือว่าเป็นแนวโน้ม ที่น่ายินดี อันจะนำไปเชื่อมโยงกับยุคอินเทอร์เน็ต ที่ผู้คนในสังคม ที่ปฏิกิริยาโดยตรงต่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น
มีข้อมูลมากมาย และสามารถแสวงหาข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้น
พัฒนาการมันเกิดขึ้นจากการต่อสู้ และแรงกดดันของธุรกิจ การเมือง และสังคมโดยรวม
ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างสังคมไทย ที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นด้วย