Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541
นักลงทุน มูดี้ส์ และต้มยำกุ้ง             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ฟาร์อีสเทิร์นอิโคโนมิครีวิวฉบับกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาขึ้นปกหน้าอย่างหวือหวาว่า "ฉีกหน้ากากมูดี้ส์" พร้อมกับพาดข่าวรองลงมาว่า ทำไมบริษัทจัดอันดับที่น่าเกรงขามนี้จึงผิดพลาด (ในกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย)

สำหรับบ้านเราเองคงจะรู้จักฤทธิ์เดช และอิทธิพลของมูดี้ส์เป็นอย่างดี การลดเครดิตที่มูดี้ส์ให้กับเศรษฐกิจไทย และบรรดาสถาบันการเงินบ้านเราแต่ละครั้งเป็นข่าวออกวิทยุประเทศไทย และทำให้นักข่าวมีเรื่องถามนายกฯ และ ถามรัฐมนตรีคลังได้เรื่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะไทยเราเท่านั้นที่โดนลดอันดับ แต่ประเทศอื่นๆ ในแถบเอเซีย ทั้งญี่ปุ่น มาเลเซีย ต่างโดนกันทั่วหน้า ยิ่งในภาวะที่ทั้งไทยและมาเลเซียต่างพยายามจะดึงเงินจากนักลงทุนต่างชาติเพื่อเสริมสภาพคล่อง การโดนลดอันดับยิ่งทำให้การแก้ปัญหาด้วยการออกพันธบัตรยากยิ่งขึ้น บ้านเราเองตอบสนองต่อการจัดอันดับดังกล่าว เพียงแค่คำพูดของรัฐมนตรีคลังว่าเขาไม่เข้าใจปัญหาของบ้านเรา หรือจะพยายามชี้แจงให้มูดี้ส์เข้าใจ แต่สำหรับมาเลเซียแล้วนายอันวาร์ อิบราฮิม รองนายกฯ และรัฐมนตรีคลังกล่าวสวนกลับไปว่า "แล้วใครเป็นคนจัดอันดับ (ความน่าเชื่อถือ) ให้กับบริษัท (จัดอันดับเหล่านี้)"

นี่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ว่ามีผลอย่างไรต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแถบเอเชีย เฮนรี่ เซ็นเดอร์ ผู้เขียนบทรายงานนี้ย้ำถึงบทบาทของมูดี้ส์ว่า ในช่วงแรกของวิกฤตนักลงทุนต่างพากันโจมตีว่า มูดี้ส์ไม่ยอมเตือนให้ทราบล่วงหน้าถึงวิกฤตที่กำลังรออยู่ ในขณะที่ ณ เวลานี้บริษัทต่างๆ และประเทศในแถบเอเชียต่างพากันโทษว่ามูดี้ส์ซ้ำเติมวิกฤตให้หนักขึ้นด้วยการจัด (ลด) อันดับความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของประเทศและบริษัท "ถี่และรุนแรง" เกินไป

พูดง่ายๆ ก็คือในสายตาของรัฐบาล มูดี้ส์ขยันทำงานมากเกินไปในภาวะนี้ ผมเองไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่จะอธิบายปัญหา แต่เป็นที่เข้าใจได้ในทางจิตวิทยา ว่าทำไมมูดี้ส์จึงจัดอันดับถี่มาก และค่อนข้างจะออกมาในแง่ลบ เนื่องจากมูดี้ส์ถูกตำหนิจากนักลงทุนว่าตัวเองไม่ทำหน้าที่เตือน สิ่งที่มูดี้ส์พยายามทำในขณะนี้ก็คือการเรียกความน่าเชื่อถือของตัวเองกลับคืนมา โดยการเตือนให้นักลงทุนระวังที่จะกลับเข้ามาลงทุน

เมื่อมูดี้ส์ลดอันดับทำให้นักลงทุนไม่กลับเข้ามา หรือรีรอที่จะกลับมาผลที่ตามมาคือ ไม่มีเงินกลับเข้ามาในระบบเหมือนอย่างที่รัฐบาลหลายประเทศรวมทั้งไทยคาดหวังไว้ (โดยเฉพาะการกลับเข้ามาของเงินจากภายนอก เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยเชื่อมั่นว่าจะเป็นทางออกของปัญหา) เมื่อสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น ปัญหาเลวลง ผลลัพธ์คือมูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ปัญหาก็คงจะวนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมูดี้ส์เห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดอันดับต่ำไปกว่านี้แล้ว หรือไม่รัฐบาลประเทศเหล่านี้สามารถแสวงหาทางออกอื่น นอกเหนือจากการคาดหวังที่ผูกติดอยู่กับการจัดอันดับของมูดี้ส์

ทำไมทุกคน หรืออย่างน้อยนักลงทุนต่างชาติต่างให้ความเชื่อถือกับอันดับที่มูดี้ส์จัด

ในทางจิตวิทยาสังคม ความน่าเชื่อถือของผู้ให้ข้อมูลขึ้นกับสถานะและวิธีการให้ข้อมูล ยิ่งผู้ให้ข้อมูลมีสถานะที่สูงหรือดีเพียงใด ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งสูงขึ้น ส่วนการให้ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นวิชาการ หรือมี "ศัพท์แสง" มากๆก็สามารถทำให้ผู้รับเชื่อได้ มูดี้ส์ดูจะมีพร้อมทั้งสองประการ ความเก่าแก่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่ง (มูดี้ส์ก่อตั้งขึ้นมาเกือบร้อยปี) แต่ยังมีเหตุผลอย่างอื่นๆ อีก มูดี้ส์หรือบริษัทจัดอันดับอื่นๆ จะมี "นักวิเคราะห์" มีการใช้ตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์ หรือ "เครื่องมืออื่นๆ ในการวิเคราะห์"

ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ในยุคที่บริษัท หรือนักลงทุนมีเงินเหลือมากพอ และมีการเปิดเสรีของตลาดบริวรรตเงินตรา นักลงทุนอยากปล่อยกู้ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ข้อมูลหรือความน่าเชื่อถือของลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยง บริษัทแบบมูดี้ส์จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ความที่ผู้กู้อยากกู้เงิน ทำให้ทุกคนยอมรับสมมุติฐานว่าบริษัทจัดอันดับน่าจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด หรือน่าเชื่อถือที่สุด เพราะผู้กู้พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วตัวเลขทั้งหลายที่บริษัทยอมเปิดเผย ก็มักจะเป็นตัวเลขที่ "ดูดี" หรือ "ดูไม่น่าเกลียด" ตัวอย่างในบ้านเราก็คงจะเห็นได้ชัดกับ บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีทั้งหลาย ที่ถูกพักใบอนุญาตเพราะรับรองตัวเลขงบการเงินที่ถูก "ตกแต่งแล้ว" ของบริษัทเน่าๆ ในตลาดหลักทรัพย์

นอกจากนี้พฤติกรรมของนักลงทุนเองก็มีส่วนสำคัญ ในหลายครั้งนักลงทุนเองอาจจะไม่มั่นใจ หรือสงสัยกับการจัดอันดับ แต่พฤติกรรมประเภท "ตัวเลมมิ่งส์" ที่บัปเฟตต์วิจารณ์นักลงทุนประเภทไม่ยอมแตกแถวเพราะกลัวจะไม่เหมือนชาวบ้าน (ผู้สนใจอาจหาอ่านได้ในหนังสือ "แกะรอยเซียนหุ้น") ทำให้นักลงทุนยอมที่จะเชื่อตามข้อมูลของบริษัทจัดอันดับเพราะ "คนอื่นๆ เขาเชื่อ" สิ่งที่นักลงทุนกังวลคือ คนอื่นจะตอบสนองอย่างไรกับข่าวดังกล่าว มากกว่าข้อเท็จจริงของข่าวนั้น และตลาดก็จะเป็นไปตามความรู้สึกว่าคนอื่นน่าจะทำแบบนี้

เซ็นเตอร์กล่าวถึงปัจจัยที่เชื่อว่าทำให้มูดี้ส์วิเคราะห์ผิด คือ วิธีการวิเคราะห์ที่ไม่เหมาะสมกับความซับซ้อนของสถานการณ์ปัจจุบัน ปริมาณนักวิเคราะห์ที่น้อยเกินไป และอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน การขาดการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่ได้รับ

สำหรับผมแล้ว ที่จริงปัจจัยที่ทำให้มูดี้ส์วิเคราะห์หรือจัดอันดับผิดพลาดก็คือ คน (ซึ่งไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วน) และคนอีกนั่นแหละที่ทำให้มูดี้ส์วิเคราะห์ถูก (ด้วยพฤติกรรมแบบพากันไป)

ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามที่ว่า เราควรให้ความเชื่อถือกับบริษัทจัดอันดับมากน้อยเพียงใดผมเองคิดว่า เราปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทแบบมูดี้ส์มีผลต่อความคิดและการตัดสินใจของนักลงทุน ดังนั้นแทนที่จะไปนั่งกังวลว่ามูดี้ส์จะตัดสินเราอย่างไร สิ่งที่น่าคิดมากกว่าก็คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเราแบบใดที่จะไม่ขึ้นต่ออิทธิพลโดยตรงของมูดี้ส์ เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

ผมคิดว่าการแก้ปัญหาที่ทำอยูในขณะนี้ ร่วมกับวิธีการที่บรรดานักคิดในสังคมไทยหลายท่านที่เสนอแนวทางเศรษฐกิจชุมชน การพึ่งพาตนเอง ควบคู่กันไปโดยไม่หวังเพียงการไหลเข้าของดอลลาร์จากนักลงทุนต่างชาติ น่าจะเป็นทางออกที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us