Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541
สตาร์บล็อค จะรั้งเอาไว้หรือปล่อยให้ตายดีกว่า?             
 

   
related stories

สตาร์บล็อค เหตุเดิมๆ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

   
search resources

สตาร์บล็อค กรุ๊ป, บมจ.




การร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทสตาร์บล็อค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นวิธีการสุดท้ายที่สุเทพ บูลกุล ได้แสดงถึงความรับผิดชอบในการบริหารกิจการที่ผิดพลาด ถึงเขาจะต้องเหนื่อยยากไปอีกตลอดชีวิตก็ตาม ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง และกำลังรอศาลอุทธรณ์ตัดสิน คราวนี้เขาจะรั้งสตาร์บล็อคไว้ได้ หรือจำต้องปล่อยให้มันตายไปเลย อีกไม่นานคงรู้กัน! งานนี้บรรดาเจ้าหนี้และนักลงทุนที่อยู่ในภาวะเดียวกันกำลังเฝ้ามองตาแทบไม่กะพริบ!!

วันที่ 3 กันยายน 2541 สุเทพ บูลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท สตาร์บล็อค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ต้องถอนหายใจอย่างหนักหน่วงอีกครั้ง เมื่อรู้ข่าวว่าศาลแพ่งกรุงเทพฯ ใต้ได้ตัดสินยกคำร้องในคดีสตาร์บล็อค ซึ่งยื่นขอทำแผนฟื้นฟูตามกฎหมายล้มละลายใหม่

ในฐานะผู้บริหารเขาจะทำอย่างไร กับหนี้สินจำนวนมากกว่า 3,000 ล้านบาทนั้น ในขณะที่ทรัพย์สินรวมของบริษัทที่เคยพุ่งสูงประมาณ 4,000 ล้านบาทเมื่อปี 2538 ลดเหลือเพียง 1,488 ล้านบาทเมื่อปลายปี 2540 และกลางปี 2541 ทรัพย์สินทั้งหมดถูกประเมินค่าใหม่ บีบเค้นแล้วเหลือเพียง 500 ล้านบาทเท่านั้น !!

นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาคดีต่างๆ ของบริษัทซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีเช็คอีกนับร้อยคดี และเป็นคดีเช็คที่มีลายเซ็นของสุเทพกำกับแทบทั้งสิ้น !!

เงิน 3 พันล้านบาทนั้นเป็นหนี้ของสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่างๆ รวมกัน 61 ราย ประมาณ 2,250 ล้าน บาท ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินที่ถูกปิด และอยู่ในความ ดูแลของปรส.ประมาณ 1,300 ล้านบาท เป็นหนี้ร้านค้าเกี่ยวกับวัสดุและอุปกรณ์ ในการก่อสร้าง และหนี้ค่าจ้างแรงงานรวมตลอดทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ 463 รายเป็นเงินประมาณ 314 ล้านบาท

ลูกหนี้สถาบันการเงินรายใหญ่เช่นธนชาติ 321 ล้าน ธนาคารกสิกรไทย 161 ล้าน บริษัทเงินทุนยูเนี่ยน จำกัด 166 ล้าน บาทบริษัทสยามเจเนอรัล แฟคตอริ่ง จำกัด 99 ล้าน (รายละเอียดในตาราง) ลูกหนี้รายใหญ่เหล่านี้ยินยอมไม่คัดค้านในเรื่องการทำแผนฟื้นฟู มีแต่ลูกหนี้รายย่อยประมาณ 16 รายรวมมูลหนี้ประมาณ 200 กว่าล้านเท่านั้นที่คัดค้าน

งานนี้สุเทพจึงตั้งความหวังไว้อย่างมาก

สาระสำคัญในการทำแผนฟื้นฟู ของสตาร์บล็อคก็คือการนำเอาขุมทรัพย์ สุดขอบฟ้าซึ่งเป็นที่ดิน จำนวน 2,000 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มาพัฒนาเป็นสวนเกษตร ปลูกส้มและ ส้มโอ และแบ่งแปลงขาย ที่ดินแปลง นี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทต้นปิงวาเลย์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยบริษัทหนึ่งของสตาร์บล็อค แต่ติดจำนองไว้กับบริษัท เงินทุนธนชาติ และบริษัทเงินทุนยูเนี่ยน ไฟแนนซ์ จำกัด เพื่อนำเงินออกมาใช้หมุนเวียนในบริษัทสตาร์บล็อค

สุเทพ ร่วมกับเพื่อนๆ ที่เป็น หมอกลุ่มหนึ่งซื้อที่ดินแปลงนี้ไว้ตั้งแต่สมัยที่ดินบูม ในตอนนั้นตั้งใจกันไว้ว่าจะพัฒนาเป็นสวนสุขภาพ และแบ่งแปลงย่อยขาย แต่ยังไม่ได้เริ่มก็เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเสียก่อน ราคา ที่ซื้อไว้ในช่วงนั้นราวๆ 400 ล้านบาท ในขณะที่ราคาซึ่งบริษัท ยูเค แวลูเอชั่น แอนด์ เอเยนซี่ จำกัดประเมินใหม่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2541 เหลือเพียง 175 ล้านบาทเท่านั้น

ธนชาติซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในการรับจำนองที่ดินได้ยินยอมให้บริษัท นำเอาที่ดินไปทำประโยชน์ เพราะคงคิดแล้วว่าถ้าหากนำออกมาขายก็คงขาย ได้ยาก หรือได้ราคาที่เล็กน้อยมากเมื่อ เทียบกับมูลหนี้ทั้งหมด แต่ธนชาติขอสงวนสิทธิ์ในการขอรับชำระหนี้ ในส่วนที่เป็นราคาที่ดินประมาณ 175 ล้าน บาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่น

วิธีการในการปั้นดินให้เป็นเงินในครั้งนี้สตาร์บล็อค ได้ร่วมกับสำนักกฎหมายฟาร์อีสท์ ประเทศไทยจำกัด อาจารย์ธีระพันธ์ ธรรมเศวต ผู้เชี่ยว ชาญด้านพืชสวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และรองศาสตราจารย์วิจิตร วังใน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวางแผนไว้คร่าวๆ คือในที่ดินทั้งหมดประมาณ 2 พันไร่นั้น จะปลูกส้มโอประมาณ 500 ไร่ ปลูกส้มเขียวหวาน 1,000 ไร่ และ ขายเป็นที่ดินแปลงเปล่าอีก 500 ไร่ โดยแบ่งเป็นแปลงย่อยแปลงละ 2 ไร่ราคาไร่ละ 500,000 บาท

รายได้จากการขายส้ม และส้มโอ จะเข้ามาในปีที่ 4 ประมาณ 60 ล้านบาท ปีที่ 5 ประมาณ 132 ล้านบาท ปีที่ 6 จำนวน 142 ล้านบาท ปีที่ 7 จำนวน 170 ล้านบาท และปีที่ 10 ราย ได้ประมาณการจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท

ในขณะที่รายได้จากการขายที่ดิน จะเริ่มเข้ามาในปีที่ 5 ประมาณ 40 ล้าน บาท หลังจากนั้นก็จะเข้ามาประมาณปีละ 100 ล้านบาท ปีที่ 10 บริษัทจะมีรายได้ตรงนี้ 500 ล้านบาท รวมทั้ง หมดบริษัทจะมีรายได้ในระยะเวลา 10 ปีประมาณ 1,500 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการพัฒนาที่ดิน ในช่วงระยะเวลา10 ปีนี้ประมาณ 600 ล้านบาท เหลือเงินในปีที่ 10 ประมาณ 900 กว่าล้านบาท แน่นอน นี่ยังไม่รวมค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ

หลายคนอาจจะมองว่าความคิดของแผนนี้เป็นความคิดที่พิลึกพิลั่น ในวงการพัฒนาที่ดินได้มีการคาดการณ์ กันว่าถ้าแผนฟื้นฟูของสตาร์บล็อคผ่าน อีกหลายบริษัทที่ตกอยู่ในภาวะเดียวกันต้องขอทำแผนฟื้นฟูเลียนแบบตามเป็นแน่ อย่างน้อยเป็นการประวิงเวลาถูกยึดทรัพย์ไว้ก่อน

แต่ทางสตาร์บล็อคกลับมั่นใจว่าแผนฟื้นฟูของตนมีความ เป็นได้มาก ในขณะเดียวกันทางบริษัทก็จะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ปรับโครงสร้างหนี้ เช่นขยายเวลาชำระหนี้ ขอลดอัตราดอกเบี้ย และขอลดหนี้บางส่วน รวมทั้งปรับโครงสร้างทรัพย์สินและหาผู้ร่วมทุนใหม่ไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ยังยืนยันว่า ในระยะ แรกจะมีพันธมิตรคนหนึ่งคือ ดะโต๊ะ เอส.จี หว่อง จะอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อเดิน เครื่องสวนเกษตรในช่วงเริ่มต้นงานปรับพื้นที่ดินก่อนประมาณ 50 ล้านบาท

ดะโต๊ะ เอส.จีหว่อง เป็นนักลงทุนชาวสิงคโปร์ ที่มีผลงานทางด้านพัฒนาที่ดินมาหลายโครงการ และเคย มาทำธุรกิจร่วมกับ ดร.โกศล เพชรสุวรรณ ประธานบริษัทสตาร์บล็อคคนปัจจุบัน

ความมั่นใจอีกอย่างของสตาร์บล็อคก็คือ ถึงแม้เป็นบริษัทรับก่อสร้างบ้าน แต่ก็ได้เข้าร่วมทุนในธุรกิจทางด้านพัฒนาที่ดินต่างๆ มานาน เช่น บริษัทอีสเทอร์นสตาร์ทำโครงการ พัฒนาที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก บริษัทขอนแก่นแลนด์ดีเวลลอป เม้นท์ พัฒนาที่ดินในย่านจังหวัดอีสาน ถึงแม้บริษัทพวกนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ ก็เป็นเหตุผลเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีทีมงานที่มีประสบการณ์อยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนธุรกิจสวนเกษตร แม้จะเป็นของใหม่ เมื่อได้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสวนเกษตรมาร่วมงานตั้งแต่ต้น งานนี้ไม่น่าพลาด

"หากบริษัทมีเม็ดเงินเข้ามาบ้างในปีที่ 4 ตามแผนฟื้นฟู แล้วค่อยทยอยจ่ายกันไป เจ้าหนี้ก็น่าจะพอใจ ดีกว่ารอบริษัทล้มละลายแล้วยึดทรัพย์ ซึ่งไม่แน่ว่าจะได้อะไรไปบ้างแค่ไหน" นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารสตาร์บล็อคใช้ต่อรองกับเจ้าหนี้ แม้เจ้าหนี้บางส่วนยอมความเพราะเหนื่อยที่จะวิ่งขึ้นโรงขึ้นศาลกันแล้ว แต่บางส่วนก็ไม่ได้คิดเช่นนั้น

เหตุผลสำคัญของลูกหนี้ที่ขอคัดค้านก็คือ ไม่เชื่อว่าบริษัทสตาร์บล็อคจะทำได้ ในเมื่อเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน และไม่มีประสบการณ์ในเรื่องการทำสวนเกษตร ธุรกิจพัฒนาที่ดินต่างๆ ที่ไปร่วมทุนก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ แถมยังมีภาระขาดทุนหนักหน่วงทั้งนั้น ประกอบกับภาวะของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จะทำได้อย่างไร

เมื่อหันมามองถึงธุรกิจหลักดั้งเดิมคือรับสร้างบ้านนั้น จากสถานการณ์ต่างๆ ของบริษัททำให้มีงานก่อสร้างน้อยลงอย่างน่าใจหาย เมื่อปี 2537 นั้นสตาร์บล็อคเคยรับงานถึงประมาณ 500 หลัง แหล่งข่าวจากบริษัทสตาร์ บล็อคยืนยันกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ปัจจุบันมีงานบ้านที่กำลังก่อสร้างอยู่ประมาณ 4-5 หลังเท่านั้น ส่วนสาขาที่เคยมีทั้งหมดทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเกือบ 20 สาขานั้นทุกวันนี้ทยอยปิดไปหมดแล้วเหลือเพียง 2 สาขา หลักดั้งเดิมที่เริ่มก่อตั้งคือ ที่ถนนพระราม 4 และในซอยกล้วยน้ำไท

ในที่สุดศาลก็ได้วินิจฉัยไม่รับคำร้องของ บริษัทสตาร์บล็อค ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่มีประสบการณ์ทางด้านการเกษตรมาก่อน การพัฒนาที่ดินตามแผนฟื้นฟูนั้นเป็นเพียงการหาช่องทางของรายได้ใหม่ และรายได้ที่เกิดขึ้นก็เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า อาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ ที่สำคัญระยะเวลาล่วงเลยไปถึง 10 ปี รายได้ที่เกิดขึ้นนั้นกลับไม่ถึงครึ่งของมูลค่าหนี้ทั้งหมดด้วยซ้ำ โอกาสใช้หนี้ 3 พันล้านบาทนั้น ตามระยะเวลาที่กฎหมายให้เวลาในการบริหารแผน 5 ปีต่อได้อีก 2 ปีนั้น เป็นไปได้ยากมาก

ดะโต๊ะ เอส. จีหว่อง เองที่สตาร์บล็อคบอกว่าจะเข้ามาร่วมทุนในระยะแรกด้วยเงิน 50 ล้านบาทนั้น ก็มีปัญหาด้วย เพราะศาลให้เหตุผลว่าในเมื่อขณะนี้อยู่ในกรุงเทพฯ ทำไมไม่สามารถมาให้ปากคำยืนยันในศาลได้

ดังนั้นแผนฟื้นฟูที่เสนอมานั้นเป็นการประวิงเวลามากกว่า เพราะขณะนี้สตาร์บล็อคมีคดีต่างๆ ที่ค้างคาอยู่ที่ศาลกว่า 100 คดี

"กฎหมายให้เวลาในการบริหาร แผน 5 ปี ต่อได้ 2 ปี และถ้าหากภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นบริษัทสตาร์ บล็อคมีความสามารถในการทยอยชำระหนี้ได้บางส่วน ก็น่าจะถือได้ว่าแผนฟื้นฟูนั้นประสบความสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องชำระหนี้คืนได้หมดภายใน 5 ปีหรือ 7 ปี" ธีระพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ กรรมการบริหาร บริษัท ฟาร์อีสท์ ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายเดือน" และยืนยันว่า จะยื่นขออุทธรณ์ต่อไป ซึ่งคาดว่าคงใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน

คราวนี้สตาร์บล็อค จะอยู่หรือไป และผลของมันจะย้อนกลับมาเป็นบูมเมอแรงสู่สุเทพ บูลกุล อย่างหนักหนาแค่ไหนอีกไม่นานคงรู้กัน!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us