Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541
ทีเอถอยดีกว่า             
 

   
related stories

ยูบีซีถึงเวลาฟันกำไรแต่อาจแพ้ภัยตัวเอง




การรวมกิจการระหว่างไอบีซี และยูทีวี สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มซีพีที่มีต่อธุรกิจเคเบิลทีวี ซึ่งตรงกันข้ามกับชินวัตรที่ลดบทบาทในธุรกิจนี้ลงไปอย่างชัดเจน

เพราะจากการรวมกิจการในครั้งนั้น ส่งผลให้ทีเอช บริษัทในเครือบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ทีเอ)ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทอินเตอร์เนชั่น แนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ไอบีซี) ซึ่งเป็นบริษัท หลักในการดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี ในขณะที่ชินวัตรกลาย เป็นผู้ถือหุ้นอันดับรองลงมา อำนาจการบริหารก็ตกอยู่กับผู้บริหารเดิมของฝั่งยูทีวี และ MIH

การรวมกิจการในครั้งนั้นจึงเท่ากับว่า ซีพีตบเกียร์ เดินหน้าอย่างเต็มตัวกับธุรกิจเคเบิลทีวี

แต่ถัดมาเพียงไม่กี่เดือน เกียร์ที่เคยเดินหน้าก็เริ่ม ลดลงมาและยังต้องลดมาเป็นเกียร์ถอยหลัง เพื่อมาตั้งหลักใหม่ เมื่อต้องมาเจอศึกหนักกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และค่าเงินบาทลอยตัว ทำให้หนี้เงินกู้ต่างประเทศที่มีอยู่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ซึ่งเวลานี้ทีเอมีหนี้เงินกู้ต่างประเทศอยู่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหนี้ระยะสั้น 50% ที่เหลือเป็นหนี้ระยะยาว

ขณะที่รายได้จากโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมายก็ยังทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เลขหมายที่มีอยู่ก็ยังขายไม่หมด หนำซ้ำบริการเสริมพีซีที ที่ทีเอหมายมั่นปั้นมือว่าจะมาช่วยฉุดยอดขายโทรศัพท์พื้นฐาน และรายได้จากโทรศัพท์ก็เกิดมีปัญหาทางเทคนิค และปัญหาในเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าอุปกรณ์ให้กับซัปพลายเออร์ จนต้องเลื่อนการให้บริการ และการเก็บเงินจากลูกค้าที่ใช้ไปแล้ว ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริการกลุ่ม เจริญโภคภัณฑ์ จึงต้องหันมาหาทางออกยึดนโยบายเฉือนอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ด้วยการขายกิจการอื่นๆ ออกไป ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ส่วนหนึ่งเพื่อนำเงินมาชำระหนี้เงินกู้ และมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อประคับประคองธุรกิจด้านการเกษตรและโทรศัพท์พื้นฐาน อันเป็นสองธุรกิจหลักที่ธนินท์ประกาศแล้วว่าจะยังคงมุ่งมั่นต่อไป

ไม้เว้นแม้แต่ธุรกิจเคเบิลทีวี ที่แม้ว่าจนถึงวันนี้ซีพีจะยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากธุรกิจนี้ หลังจากลงทุนไปมากมายแล้วก็ตาม และหลังรวมกิจการจะทำให้สถานการณ์ธุรกิจเคเบิลทีวีดีขึ้น แต่ในภาวะเช่นนี้ซีพีก็มีทางเลือกไม่มากนัก

หลังจากเพิ่มทุนจดทะเบียนของไอบีซี 150 ล้านหุ้นเพื่อนำเงินมาใช้ดำเนินธุรกิจ ปรากฏว่าทีเอชไม่เพิ่มทุนตาม ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของทีเอชในไอบีซีลดลงจาก 49.46% เหลืออยู่ 35.96%

"เราต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลงมา เพราะต้อง การนำเงินส่วนที่จะใช้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนี้ไปช่วยเหลือบริษัทแม่ (ทีเอ) ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นความสำคัญของธุรกิจนี้" สุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอบีซีเคเบิล ทีวี กล่าว

แต่จริงๆ แล้ว ทีเอชไม่เพียงไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนเท่านั้นแต่ยังต้องการขายหุ้นจากที่ถืออยู่ 35.96% ให้เหลือไว้เพียงแค่ 15% เท่านั้น

ในช่วงที่ไอบีซี ขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับสถาบันลงทุนต่างประเทศ จำนวน 90 ล้านหุ้น โดยมีบริษัท PARI-BAS เป็นผู้จัดจำหน่ายให้นั้น ในช่วงนั้นเองทีเอชก็ได้ยื่นเสนอขายหุ้นของตัวเองจำนวน 160 ล้านหุ้น จากที่มีอยู่ประมาณ 260 ล้านหุ้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศพร้อมกันด้วย แต่ปรากฏว่า หุ้นในส่วนของทีเอชยังไม่มีนักลงทุนต่างประเทศสนใจซื้อ เพราะต้องการซื้อหุ้นเพิ่มทุนมากกว่าที่จะซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิม เพราะหากซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิมก็เท่ากับว่าเงินไม่ได้เข้าบริษัท แต่จะเข้ากระเป๋าของผู้ถือหุ้นแทน

"สาเหตุที่ทีเอชอยากขายหุ้นในไอบีซีออกไป เพราะต้องการเงินสดมาใช้จ่ายเพื่อลดภาระของทีเอที่มีหนี้อีกมาก หากได้ราคาที่เหมาะสมเราก็จะขายออกไป และเหลือไว้แค่ 15% เท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่ต้องเอามาแสดงผลทางบัญชีของไอบีซีไปรวมกับทีเอด้วย" แหล่งข่าวกล่าว

สุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร ไอบีซี เคเบิลทีวี ก็มีแนวคิดที่อยากให้นักลงทุนต่างชาติมาถือหุ้นในไอบีซีเพิ่มขึ้น โดยได้เข้าไปเจรจากับกระทรวง พาณิชย์เพื่อเพิ่มเพดานการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น

"เมืองไทยในวันนี้เราต้องเปิดมากขึ้น ต้องใจกว้าง เพราะเราเองก็ไม่มีทางเลือก ไม่อย่างนั้นเงินตราต่างประเทศจะไม่ไหลเข้ามา เราต้องทำเพื่อความอยู่รอด เพราะอย่างอเมริกาก็ไม่สนใจว่าใครจะมาซื้อตึก เพียงแต่ให้มีเงินมาลงทุน" สุภกิตสะท้อนแนวคิด

เพราะทางเลือกของทีเอชก็มีไม่มากนัก การขายหุ้นให้กับนักลงทุนชาวไทยนั้นเป็นสิ่งที่ทีเอชไม่สามารถหวังได้เลย มีเพียงนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้น ที่ยังพอมีหนทางอยู่ริบหรี่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับราคาหุ้น

จะเห็นได้ว่า นอกเหนือจากไอบีซี จะมีบริษัทมัลติช้อยส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด (MIH) เป็นบริษัทจากต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 26.11% แล้วนั้น ในการขายหุ้นเพิ่มทุนล่าสุดก็เป็นการขายหุ้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศ 23% ทำให้เพดานของผู้ถือหุ้นต่างประเทศของไอบีซีเต็มพิกัดแล้ว

แต่นั่นก็อาจไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง เพราะบริษัทต่างชาติสามารถใช้วิธีตั้งบริษัทกองทุนขึ้นในไทยเพื่อซื้อหุ้นของทีเอชได้

แต่เป็นเพราะราคาหุ้นของไอบีซีในตลาดหลักทรัพย์ เหลืออยู่เพียงแค่สิบกว่าบาทเท่านั้น

แม้ว่าทุกวันนี้ธนินท์จะยังคงเชื่อมั่นกับธุรกิจมัลติมีเดีย ที่มีบรอดคาสติ้งเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้สายไฟเบอร์ออพติกที่ทีเอลงทุนไปอย่างมากมายแล้วสามารถเข้าถึงลูกค้าระดับ MASS และเป็นจุดก่อกำเนิดบริการอื่นๆ ในโลกอนาคต ที่เป็นโลกของ ดิจิตอลก็ตาม

แต่ธนินท์ก็จำเป็นต้องเลือกที่จะเดินตามฝันหรือเพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอด!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us