Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ทิศทางตลาดเครื่องยนต์อากาศยาน ย่านเอเชียแปซิฟิก ในมุมมองของโรลส์รอยซ์             
 


   
search resources

โรลส์รอยซ์ พีแอลซี
Aviation




หากเครื่องบินแต่ละเครื่องจำเป็น ต้องมีเครื่องยนต์เป็นพลังในการขับเคลื่อน ความเป็นไปของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์แต่ละราย ก็คงต้องขึ้นอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจ ที่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นกำลังซื้อขนาดมหึมา

เซอร์ ราล์ฟ โรบินส์ ประธานกรรมการ โรลส์รอยซ์ พีแอลซี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานรายใหญ่อันดับสองของโลก ได้เน้นย้ำให้เห็นข้อเท็จจริงของข้อความดังกล่าว เมื่อเขากล่าวในโอกาส ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย และตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ว่าสายการบินในเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่มากที่สุด และจะเป็นกลุ่ม ที่รับมอบ เครื่องบินขนาดลำตัวกว้างในอัตราสูงถึง 41% ของการส่งมอบทั้งหมด

โรลส์รอยซ์ คาดการณ์ว่าในช่วง 20 ปีนับจากนี้ ความต้องการในเครื่องบิน ขนาดต่างๆ ของตลาดการขนส่งทางอากาศทั่วโลกจะมีมากถึง 18,740 ลำ ส่งผลให้ความต้องการในเครื่องยนต์ รวมถึงอะไหล่ จะมีมากขึ้นถึง 48,100 เครื่อง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 337 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในส่วนนี้ เอเชียแปซิฟิก จะเป็นภูมิภาค ที่มีการขยายตัวมากที่สุดภูมิภาคหนึ่ง

"ตลาดการบินในเอเชียแปซิฟิกจะต้องการเครื่องบินใหม่ในขนาดตั้งแต่ 100 ที่นั่งถึง 400 ที่นั่งรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5,000 ลำ โดยที่การเติบโตเฉลี่ยของการ ขนส่งทางอากาศจะอยู่ในระดับ 7.7% ต่อปี ขณะที่การเติบโตทั่วโลกจะอยู่ในระดับ 5% เท่านั้น "

ทั้งนี้ในช่วงปลายของปี 2540 ต่อเนื่องสู่ต้นปี 2541 ธุรกิจการขนส่งทางอากาศในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับอัตราการเติบโต ที่ลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง ก่อน ที่จะกระเตื้องขึ้นในช่วงปี 2542

การเติบโตของการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจของโรลส์รอยซ์ โดยปัจจุบัน เครื่องยนต์แบบ Trent 800 ของ โรลส์รอยซ์ ซึ่งใช้ในเครื่องบิน Boeing 777 มีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคนี้มากถึง 52% ขณะที่เครื่องยนต์ แบบ Trent 700 สำหรับ Airbus A330 ก็ครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากถึง 43%

ปัจจุบัน โรลส์รอยซ์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเครื่องยนต์อากาศยาน ทั่วโลกประมาณ 30% โดยในช่วงปี 2542 ที่ผ่านมาโรลส์รอยซ์มีรายได้จากธุรกิจอากาศยานรวม 3,774 ล้านปอนด์ โดยในส่วนนี้เป็นรายได้จากคำสั่งซื้อของสายการบินในเอเชียแปซิฟิกประมาณ 1 ใน 3

สำหรับก้าว ที่ท้าทายต่อไปของโรลส์รอยซ์ อยู่ ที่การครองส่วนแบ่งเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินซูเปอร์จัมโบ้ Airbus A3XX ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสาร ขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยมีการสร้างมา และคาดว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงปลายของปีนี้

"เราหวังมากว่าจะได้เป็นผู้ครองส่วนแบ่งข้างมากใน Airbus A3XX ซึ่งเรามีความพร้อมอยู่แล้วจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent ที่ครองส่วนแบ่งเครื่อง ยนต์สำหรับอากาศยานขนาดใหญ่ในปัจจุบัน" เซอร์ ราล์ฟ โรบินส์ ย้ำความมั่นใจในศักยภาพของโรลส์รอยซ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us