Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
"โชควัฒนา"; กับตำนานของกลุ่มสหพัฒน์             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
บุญเกียรติ โชควัฒนา




ตระกูลของเราทำการค้ามา 3 เจเนอเรชั่นแล้ว คนต่อไปก็เห็นการค้าการขายมาตลอด ก็สนุกกันอยู่ ฉะนั้น คงไม่ต้องถ่ายทอดพิเศษ เพราะทุกอย่างอยู่ในสายเลือดแล้ว ตอนนี้ยังไม่มีการวางตัวให้ใครดูอะไรเป็น เฉพาะเจาะจง เพียงแต่ใครถนัดอะไรก็ไปทำของเขา เราไม่มีการกำหนดบังคับว่า คนนี้ต้องมาดูตรงนั้น ตรงนี้ เพราะตั้งแต่สมัยคุณพ่อก็ไม่ได้วางอะไร ขึ้นอยู่กับความถนัด และความชอบของแต่ละคน" เป็นคำกล่าวของ "เสี่ย" บุญสิทธิ์ โชควัฒนา แม่ทัพใหญ่ของเครือสหพัฒน์ ที่ต้องการบอกว่า เขาไม่ได้มี การถ่ายทอดวิทยายุทธ์การบริหารงานให้แก่ลูกหลานในรุ่นต่อไปเป็นพิเศษ เนื่องจากเขาคิดว่าสิ่งเหล่านี้ซึมซับอยู่ในสายเลือดของสมาชิกในตระกูลอยู่แล้ว และใครถนัดอะไรก็ให้ไปทำตามความถนัดตามความชอบของแต่ละคน จะไม่มีการบังคับว่า คนนั้น ต้องมาดูตรงนั้น ตรงนี้ ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ สมัยนายห้างเทียมแล้ว

แต่กระนั้น " อากู๋" บุญเกียรติ โชควัฒนา น้องชายของเขาได้รับหน้าที่ เป็นสะพานเชื่อมประสบการณ์ของโชควัฒนาในรุ่นพ่อ ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ด้วยตัวเอง เนื่องจากเขาคิดว่า ลูกหลานแต่ละคนมาจากพื้นฐานของครอบครัว ที่แตกต่างกันไป ถึงแม้จะใช้นามสกุลโชควัฒนาเช่นเดียวกันก็ตาม ทำให้ อาจจะมีทัศนคติ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงรับหน้าที่เป็นผู้สร้างทัศนคติทางบวกในการทำธุรกิจให้หลานๆ ทุกคนอย่างทัดเทียมกัน ซึ่งเขายอมรับว่า เรื่องนี้ต้องอาศัยเวลา และความสม่ำเสมอ

"ในอดีตต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างสอน จนกระทั่งคุณพ่อเสีย เราจึงมี คอนเซ็ปต์ใหม่ว่า ต้องพยายามพบปะกับหลานๆ ในรุ่นที่ 3 อย่างสม่ำเสมอ เคยพบครบทุกคนได้อยู่ 1 ครั้ง ต่อมาก็เหลือผมพบอยู่คนเดียว ผมเลยตั้งตัวเป็นเจ้าสำนักเอง" บุญเกียรติกล่าวอย่างอารมณ์ดี ซึ่งเขาเองเข้าใจดีถึงความรู้สึกแรก ที่เริ่มต้นชีวิตการทำงาน และเขาพยายามนึกถึง ประสบการณ์ และปรัชญาคำสอน ที่เขาได้รับม‚จากพ่อ และพี่ชายมาบอกเล่าสู่ลูก หลานต่อไป

"ต่อไปลูกหลานทุกคนในตระกูลต้องแข่งขันกันในเรื่องของ "ความสามารถ" ถ้าพิสูจน์ฝีมือไม่ได้ก็ไม่ควรอยู่ในธุรกิจ ไม่มีคนใดได้เข้ามาทำงานโดย ไม่มีความสามารถ" นี่คือ สิ่งสำคัญ ที่ลูกหลานโชควัฒนาทุกคนต้องท่องจำไว้ ให้ขึ้นใจ และสิ่งที่เขาพยายามปลูกฝังในความคิดของลูก และหลานทุกคน คือ "การทำงานไม่ใช่ต้องเก่งอย่างเดียว แต่ต้องมีหลักจิตวิทยา และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดีประกอบกันด้วย ถึงจะเกิดเป็นนักธุรกิจที่ดีได้"

สำหรับลูกหลานของโชควัฒนารุ่นที่ 3 ที่เริ่มเข้ามาจับงานในเครือ สหพัฒน์ โดยเฉพาะ ที่ ICC บ้างแล้วก็ได้แก่ ธรรมรัตน์ลูกชายคนโตของเสี่ย ที่ เข้ามาเป็นกรรมการของICC, ธีรดา ลูกสาวคนโตของเสี่ย ที่เริ่มเข้ามารับผิด ชอบงานสินค้าใหม่แบรนด์ BSC, กิตยาภรณ์ ลูกสาวคนเดียวของบุญเกียรติ เข้ามาช่วยงาน ที่ ICC และธีรนาถ ลูกชายของบุญเอก ก็เข้ามาดูแลเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ ICC ด้วย ถึงเวลาปรับโครงสร้างใหม่

"ถ้าจะเอาทุกอย่างในอดีตมาเป็นบรรทัดฐาน ผมว่าใช้ไม่ได้แล้ว เพราะวันนี้ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ยุคข้างหน้าจะต้องเป็นยุคที่มั่นคง ไม่ใช่การก้าวกระโดด ต้องค่อยๆ ทำจนกว่าเหตุการณ์ทุกอย่างจะเรียบร้อยเข้า ที่เข้าทาง แล้วค่อยมาคิดกันอีกที ช่วงนี้ทำอย่างไรก็ได้ให้กิจการมั่นคงไว้ก่อน" เป็นคำกล่าวของเสี่ยต่อการดำเนินธุรกิจในยุคที่ประเทศ ไทยประสบปัญหาวิกฤติ เศรษฐกิจเป็นเวลา 2 ปีเต็ม และตอนนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว ทั้งนี้ ยุทธวิธี ที่เสี่ยนำมาใช้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ธุรกิจในเครือสหพัฒน์ก็คือ

1. การลดเงินกู้ทั้งใน และต่างประเทศของบริษัทในเครือให้เร็วที่สุด

2. พยายามสร้างความสามารถในการผลิตให้ได้ผลสูงสุด โดยไม่มีการรับคนงานเพิ่ม

3. จัดการกับสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งหากทำได้ครบทั้ง 3 อย่างนี้ถึงจะเรียกได้ว่า "มั่นคง" อย่างแน่นอน

"นับตั้งแต่ฟองสบู่แตก เราไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่มขึ้นเลย หยุดไปเลย ตอนนี้คือ ช่วงเวลาของการจ่ายคืนหนี้ทั้งใน และต่างประเทศให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่าย และลดสินค้าคงเหลือ" เป็นคำยืนยันของบุญสิทธิ์

"เสี่ย" เล่าว่า เขาได้เตรียมตัวเตรียมใจอยู่แล้วว่า ไม่วันใดวันหนึ่งจะต้อง เกิดเหตุการณ์แบบนี้แน่นอน เพราะเขาเริ่มมองเห็นสัญญาณมาตั้งแต่ต้นปี 97 แล้ว และมีคำสั่งให้เครือสหพัฒน์หยุดการลงทุนทุกอย่างตั้งแต่ตอนนั้น หันหน้ามาตั้งเป้าหมายใหม่เป็น "ซีโร่มาร์เก็ตติ้ง" นี่คือ สิ่งที่เขาทำ ณ วันนั้น หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ และยังคงถามอยู่เสมอว่า "ปีนี้ตั้งเป้าโตเท่าไร" ซึ่ง ในปีแรกของการเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเขาไม่ได้ตั้งเป้าการเติบโตของกลุ่มเลย หากหันมามุ่งเน้นในการควบคุมค่าใช้จ่าย เพิ่มความสามารถในการผลิต และมีการทำกลยุทธ์ทางการตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป และวันนี้ เขาสามารถตั้งรับ และควบคุมสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ อย่างเรียบร้อยแล้ว

บุญสิทธิ์เคยให้ปัญญาวาทะไว้ข้อหนึ่งว่า "ในเวลา ที่เศรษฐกิจดีก็มีคนล้มละลาย ในเวลา ที่เศรษฐกิจไม่ดีก็มีคนสำเร็จ หมายความว่าในขณะที่ เศรษฐกิจดีก็ต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจจะพลาดได้ เศรษฐกิจดีเปรียบเหมือนลมดี ว่าวก็ขึ้นง่าย ก็ต้องระวังอย่าให้ป่านขาด ในขณะที่เศรษฐกิจไม่ดี คนที่สนใจหรือขยันหมั่นเพียร คอยหาจังหวะก็อาจจะสำเร็จได้ เศรษฐกิจไม่ดีก็เหมือนไม่มีลม คนที่ขยันก็เหมือนคนที่วิ่งดึงว่าว ว่าวก็ขึ้นได้เหมือนกัน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us